What is Historical Materialism?

นี่เป็นงานเขียนของอลัน วู้ดส์ ที่เพียบพร้อมไปด้วยคำอธิบายถึงมวรรควิธีในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์เอาไว้อย่างครอบคลุม ซึ่งในส่วนแรกนั้นจะเป็นการอธิบายถึงหลักการพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ว่าด้วยวัตถุนิยมประวัติศาสตร์นั่นคือ สาเหตุอันทำให้สรรพสิ่งทุกๆสรรพสิ่งเปลี่ยนไปนั้นไม่ได้อยู่ภายในสมองของมนุษย์ หากแต่เป็นเพราะความเปลี่ยนแปลงของวิถีการผลิต

มาร์กซิสต์นั้นไม่ได้มองว่าประวัติศาสตร์นั้นเป็นเพียงอนุกรมของความเป็นจริงที่แยกขาดจากกัน หากแต่มาร์กซิสต์นั้นพยายามมองหากฎและกระบวนการโดยทั่วไปที่ควบคุมความเป็นไปในธรรมชาติและสังคม

ประวัติศาสตร์คืออะไร? (What is history?)

เหตุใดเราจึงยอมรับว่าจักรวาลทั้งหมดนี้ ตั้งแต่ระดับอนุภาคขนาดเล็กไปจนกระทั่งดวงดาวที่ไกลโพ้นในจักรวาลอันกว้างใหญ่นั้นล้วนแล้วแต่ถูกกำหนดเอาไว้ และกระบวนการที่กำหนดวิวัฒนาการของทุกสปีชีส์นั้นถูกควบคุมเอาไว้ด้วยกฎ และด้วยเหตุผลประหลาดบางประการทำให้เราเชื่อว่าประวัติศาสตร์ของเราต่างออกไป มรรควิธีของมาร์กซิสต์นั้นพยายามจะวิเคราะห์เพื่อค้นหาแรงพลังดันลับที่หมุนฟันเฟืองแห่งการพัฒนาให้กับสังคมมนุษย์ตั้งแต่ยุคสังคมยุคก่อนชนเผ่าให้พัฒนามาสู่สังคมสมัยใหม่ในปัจจุบัน และวิธีการหรือเส้นทางที่มาร์กซิสต์ใช้ในการตามรอยบนถนนอันคดเคี้ยวของประวัติศาสตร์นี้มีชื่อเรียกว่ามุมมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม

ใครก็ตามที่ปฏิเสธว่าสังคมมนุษย์นั้นไม่ได้ถูกควบคุมการพัฒนาด้วยกฎบางระการมีแนวโน้มที่พวกเขาเหล่านั้นจะมองประวัติศาสตร์ผ่านจุดยืนแบบศีลธรรมและอัตวิสัย แต่เหนือขึ้นไปจากการความจริงที่ถูกแบ่งแยกเหล่านี้ เราจำเป็นจะต้องค้นหาความเป็นจริงที่กว้างกว่านั้น กระบวนการเปลี่ยนผ่านทางสังคมจากระบบสังคมหนึ่งไปสู่อีกระบบหนึ่ง ประเด็นสำคัญคือเราจะต้องค้นหาเพื่อให้รู้เท่าทันกำลังขับดันขึ้นพื้นฐานที่ควบคุมและกำหนดการเปลี่ยนผ่านนี้

ในยุคก่อนมาร์กซ์และเฮเกล ประวัติศาสตร์ถูกมองว่าเป็นเหตุการณ์โดดๆที่ผ่านมาโดยไม่มีความสืบเนื่องหรือความต่อเนื่องกัน หรือหากจะอธิบายในปรัชญาพวกเขามองว่าประวัติศาสตร์คือ “อุบัติเหตุ” มันไม่มีคำอธิบายโดยทั่วไปสำหรับเรื่องนี้ อย่างไรก็ตามเมื่อมีการตั้งทฤษฎีและคำอธิบายที่ว่า จากพื้นฐานที่สุดแล้วพัฒนาการของมนุษย์นั้นขึ้นอยู่กับพัฒนาการของกำลังการผลิต ซึ่งมาร์กซ์และเองเกลส์ได้วางการศึกษาประวัติศาสตร์ผ่านมุมมองแบบวิทยาศาสตร์เป็นครั้งแรก

ด้วยกระบวนการอันเป็นวิทยาศาสตร์เปิดให้เราทำความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ ไม่ใช่ในฐานะเหตุการณ์อันกระจัดกระจายไม่เชื่อมต่อกันหรืออุบัติเหตุที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน แต่จะทำให้เราเข้าใจประวัติศาสตร์ในฐานะที่มันเป็นกระบวนการที่สัมพันธ์ต่อกัน มันคืออนุกรมของการกระทำและปฏิกิริยาตอบสนองซึ่งครอบคลุมเหนือการเมือง เศรษฐกิจ และทุกลำดับขั้นของพัฒนาการทางสังคม และการปลดเปลื้องความซับซ้อนของความสัมพันธ์แบบวิภาษวิธีระหว่างปรากฎการณ์ต่างๆนี้คือหน้าที่ของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์ มนุษยชาตินั้นได้เปลี่ยนแปลงและเอาชนะธรรมชาติผ่านแรงงานและในการกระทำดังกล่าวนั้นคือการเปลี่ยนแปลงตัวมนุษยชาติเอง.

การบิดเบือนความคิดแบบมาร์กซิสต์ (A caricature of Marxism)

วิทยาศาสตร์ภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นมีแนวโน้มที่จะมีความเป็นวิทยาศาสตร์น้อยลงเรื่อยๆ โดยเฉพาะหลักวิทยาศาสตร์สังคมที่รู้จักกันในชื่อ สังคมศาสตร์ (สังคมวิทยา, เศรษฐกิจ, การเมือง) และรวมถึงปรัชญาแบบกระฎุมพี ซึ่งไม่ได้รับเอาวิธีแบบวิทยาศาสตร์ไปใช้อย่างจริงจังซึ่งในที่สุดนั้นทำให้มันจบลงด้วยการพยายามอธิบายสังคมทุนนิยมอย่างบิดเบี้ยวจากความเป็นจริง หรือในอีกทางหนึ่งคือหันมาทำลายและบิดเบือนแนวคิดมาร์กซิสต์ (ซึ่ท้ายที่สุดจะตอบสนองเป้าหมายเดียวกันคือการรักษาระบบทุนนิยมเอาไว้)

แม้ว่านักประวัติศาสตร์กระฎุมพีจะกล่าวอ้างว่างานเขียนของพวกเขานั้น “เป็นวิทยาศาสตร์” หากแต่เมื่อเราพิจารณางานเขียนของพวกเขาแล้วก็จะเห็นว่ามันเป็นงานเขียนที่สะท้อนถึงมุมมองจากจุดยืนทางชนชั้นของผู้เขียน และนั่นคือความจริงที่เราจะเห็นจากการบันทึกประวัติศาสตร์สงคราม – สงครามทางชนชั้น – นั้นมักจะถูกเขียนขึ้นโดยผู้ชนะ หรือกล่าวในอีกแบบหนึ่งได้ว่า การตีความและการเลือกเอาเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์มาเขียนนั้นถูกกำหนดขึ้นมาโดยผลลัพธ์ของความขัดแย้งในเหตุการณ์นั้นๆที่ส่งผลต่อนักประวัติศาสตร์ และในทางกลับกันคือความคิดของนักประวัติศาสตร์ที่กำหนดว่าผู้อ่านประวัติศาสตร์อยากจะได้อ่านอะไรบ้าง ยิ่งไปกว่านั้นในการวินิจฉัยขั้นสุดท้าย ความคิดเหล่านี้ที่กำหนดการเลือกเล่าประวัติศาสตร์มักจะถูกกำหนดและได้รับอิทธิพลจากผลประโยชน์ทางชนชั้นหรือกลุ่มช่วงชั้นทางสังคม

เมื่อนักมาร์กซิสต์มองและวิเคราะห์ประวัติศาสตร์พวกเขาไม่ได้พยายามจะทำตัวเองให้เป็นกลาง แต่พวกเขาพยายามเปิดเผยถึงหลักการหลักคิดของทั้งชนชั้นผู้กดขี่และชนชั้นที่ถูกกดขี่ อย่างไรก็ตามนั่นไม่ได้ทำให้หมดข้อสงสัยในเรื่องความถูกต้องทางวิทยาศาสตร์ไปเสียทีเดียว หมอศัลยกรรมที่ได้เข้าร่วมการผ่าตัดใหญ่ย่อมพยายามที่จะรักษาชีวิตคนไข้ของเขา ในแง่นี้หมอย่อมอยู่ไกลจากความเป็นกลางเกี่ยวกับผลลัพธ์ และด้วยเหตุนี้เองหมอคนนี้ย่อมจะมองเห็นความแตกต่างของเนื้อเยื่อของอวัยวะต่างๆได้อย่างชัดเจน ในทางเดียวกันนี้เองนักมาร์กซิสต์ก็มุ่งมั่นที่จะได้รับการวิเคราะห์กระบวนการทางสังคมอย่างเป็นวิทยาศาสตร์โดยแม้จริง เพื่อที่จะประสบผลสำเร็จได้ในท้ายที่สุด

มีความพยายามอย่างมากในการจะบ่อนทำลายแนวคิดมาร์กซิสต์ด้วยการหันไปบิดเบือนมรรควิธีในการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ของมาร์กซิสต์ และมันไม่มีอะไรจะง่ายไปกว่าการสร้างหุ่นฟางขึ้นมาและทำลายมันลง ด้วยวิธีการนี้พวกเขาบิดเบือนว่ามาร์กซ์และเองเกลส์นั้น “ลดทอนทุกสิ่งให้เหลือแค่เรื่องเศรษฐกิจ” และการบิดเบือนนี้ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับหลักคิดมาร์กซิสต์เลยแม้แต่น้อย เพราะหากว่าคำบิดเบือนนี้เป็นจริงเราคงจะวางมือจากการต่อสู้อันยากลำบากเพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมไปนานแล้ว เพราะถ้าหากเศรษฐกิจมันกำหนดทุกอย่างจริงยังไงเสียทุนนิยมก็คงจะล่มสลายลงโดยตัวมันเองแล้วระบบใหม่ก็คงลงจะหล่นจากฟ้ามาแทนที่ให้เอง เสมือนกับผลแอปเปิ้ลสุกงอมที่ร่วงจากต้นลงสู่พื้นเอง หากแต่วัตถุนิยมประวัติศาสตร์นั้นไม่ใช่ความคิดแบบพวกเชื่อในเรื่องโชคลาง

การใส่ร้ายอันไร้สาระนี่ได้ถูกเขียนตอบเอาไว้โดยเองเกลส์แล้ว ในจดหมายที่เขาเขียนถึงโบลช

“ว่ากันตามแนวคิดแบบวัตถุนิยมประวัติศาสตร์แล้ว องค์ประกอบสำคัญที่สุดที่กำหนดความเป็นไปในประวัติศาสตร์คือการผลิตและการผลิตซ้ำชีวิต สิ่งที่นอกเหนือไปจากหลักสำคัญนี้คือคำบิดเบือนที่ผมและมาร์กซ์ถูกกล่าวหา ดังนั้นหากใครสักคนบิดเบือนคำกล่าวนี้แล้วบอกว่าเศรษฐกิจคือองค์ประกอบเดียวที่กำหนดทุกสิ่งทุกอย่าง เขาก็ได้เปลี่ยนแปลงประเด็นให้กลายเป็นเรื่องไร้สาระที่ไม่มีความหมายเสียเองแล้ว” (จดหมายจากเองเกลส์ถึงโบลช 21 กันยายน 1890)

ในงานเรื่อง ‘ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์’ ซึ่งถูกเขียนขึ้นก่อน ‘แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์’ มาร์กซ์และเองเกลส์ได้โจมตีความคิดที่ว่า “ประวัติศาสตร์” นั้นแยกขาดจากมนุษย์ที่เป็นปัจเจกทั้งชายและหญิง และกล่าวว่าการอธิบายเช่นนี้เป็นเพียงเรื่องนามธรรมอันกลวงเปล่า

“ประวัติศาสตร์ไม่ได้กระทำสิ่งใดเลย มัน ‘ไม่ได้ก่อให้ครอบครองความมั่งคั่งอันยิ่งใหญ่’ มัน ‘ไม่ได้ดำเนินกรให้เกิดสงคราม’ หากแต่เป็นมนุษย์ มนุษย์ตัวเป็นๆที่มีชีวิตอยู่ต่างหากที่เป็นผู้กระทำให้เกิดสิ่งดังกล่าวขึ้น พวกเขาคือผู้ครอบครองและต่อสู้ ไม่ใช่ ‘ประวัติศาสตร์’ เป็นผู้คนต่างหากที่หยิบใช้มนุษย์ด้วยกันในฐานะเครื่องมือเพื่อไปสู่ความสำเร็จตามเป้าหมายของตัวเอง ประวัติศาสตร์จึงไม่ใช่สิ่งใดเลยนอกเหนือจากกิจกรรมและการกระทำของมนุษย์ที่พยายามเติมเต็มเป้าหมายของตนเอง” (มาร์กซ์และเองเกลส์, ครอบครัวอันศักดิ์สิทธิ์ – บทที่ 4)

สิ่งที่มาร์กซิสต์ทำนั้นคือการอธิบายบทบาทของปัจเจกในฐานะที่พวกเขาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมที่เป็นอยู่ และในฐานะของตัวแทนของกลุ่มผลประโยชน์ของชนชั้นหนึ่งๆ ความคิดนั้นไม่ได้ดำรงอยู่เองอย่างเป็นอิสระเช่นเดียวกับพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ ดังเช่นที่มาร์กซ์ได้เขียนเอาไว้ในงานเรื่อง ‘อุดมการณ์เยอรมัน’ ว่า “ชีวิตไม่ได้ถูกกำหนดจากจิตสำนึก หากแต่จิตสำนึกนั้นถูกกำหนดจากชีวิต”

 

เจตจำนงเสรี? (Free will?)

ความคิดและการกระทำต่างๆของมนุษย์นั้นถูกกำหนดหรือถูกวางเงื่อนไขจากความสัมพันธ์ทางสังคม พัฒนาการต่างๆที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เป็นไปหรือขึ้นอยู่กับเจตจำนงโดยส่วนตัวของมนุษย์ หากแต่มาจากการกฎที่ชัดเจนและแน่นอน ความสัมพันธ์ทางสังคมนี้ในการวิเคราะห์ครั้งสุดท้ายแล้วจะเห็นว่ามันสะท้อนถึงความต้องการในการพัฒนากำลังการผลิต ซึ่งความสัมพันธ์ภายในระหว่างปัจจัยต่างๆนี้ได้ก่อให้เกิดเครือข่ายอันซับซ้อนโยงใยที่ยากจะมองเห็นได้ การศึกษาความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้จึงถือเป็นพื้นฐานสำคัญของทฤษฎีประวัติศาสตร์แบบมาร์กซิสต์

แม้ว่ามนุษย์นั้นจะไม่ใช่เพียงหุ่นเชิดของ “พลังทางประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจจะมองเห็น” แล้ว นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าพวกเขาทั้งหมดจะกลายเป็นตัวกระทำอิสระอย่างแท้จริง ที่จะสามารถกระทำการใดๆก็ได้โดยไม่คำนึงถึงเงื่อนไขในการดำรงอยู่ของตัวเองซึ่งถูกกำหนดมาจากระดับพัฒนาการของเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วมนุษย์ย่อมถูกกำหนดจากเศรษฐกิจ-สังคมอยู่ดี มาร์กซ์ได้อธิบายเรื่องนี้เอาไว้ในงานเรื่อง ‘Eighteenth Brumaire of Louis Bonaparte’ ดังนี้

“มนุษย์นั้นได้สร้างประวัติศาสตร์ของตนเองขึ้นมา แต่พวกเขาไม่ได้สร้างมันขึ้นมาตามอย่างที่พวกเขาต้องการ มนุษย์ไม่ได้สร้างประวัติศาสตร์ขึ้นมาภายใต้สภาพการณ์ของการเลือกจะสร้างโดยตัวมนุษย์เอง แต่พวกเขาสร้างประวัติศาสตร์ภายใต้สภาพการณ์ของสิ่งที่ดำรงอยู่จริง ซึ่งเป็นผลมาจากอดีต ธรรมเนียมปฏิบัติต่างๆของมนุษย์ยุคก่อนหน้านั้นเป็นเสมือนยอดหรือเพดานความคิดสูงสุดในสมองของมนุษย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ […]”

หลังจากนั้นเองเกลส์ก็ได้อธิบายถึงเรื่องนี้อีกครั้งในอีกรูปแบบหนึ่ง

“มนุษย์นั้นได้สร้างประวัติศาสตร์ของตนเองขึ้นมา ไม่ว่าผลลัพธ์ที่ออกมาจะเป็นอย่างไร มนุษย์แต่ละคนนั้นได้กระทำตามจิตสำนึกที่ต้องการเติมเต็มของความต้องการ และแน่นอนว่าผลลัพธ์ของเจตจำนงอันหลากหลายนี้ย่อมจะก่อให้เกิดการปฏิบัติการในทิศทางที่หลากหลายอันก่อให้เกิดผลลัพธ์เชิงประจักษ์ต่อโลกที่ทำให้เกิดประวัติศาสตร์” (Ludwig Feuerbach)

สิ่งที่นักมาร์กซิสต์ยืนยันและแน่นอนว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่มีใครจะปฏิเสธได้นั่นก็คือในสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจ-สังคมหนึ่งที่ทำงานอยู่นั้นย่อมจะถูกกำหนดมาจากความสามารถในการพัฒนาวิถีการผลิต ซึ่งสามารถกล่าวอีกอย่างได้ว่ามันคือรากฐานทางวัตถุที่ทำให้สังคม วัฒนธรรม และอารยธรรมสามารถถูกสร้างขึ้นได้

ความคิดที่ว่าพัฒนาการทางสังคมทั้งหมดนั้นล้วนแล้วแต่ถูกกำหนดโดยการพัฒนากำลังการผลิตนี้เป็นเรื่องพื้นฐานและเป็นความจริงที่สามารถตระหนักได้ด้วยตัวเอง กระนั้นก็ยังน่าแปลกที่ยังคงมีคนที่ตั้งคำถามต่อมันอยู่ ทั้งที่มันไม่จำเป็นต้องอาศัยความสามารถทางสติปัญญาอะไรมากมายในการจะทำความเข้าใจต่อเรื่องนี้ว่า ก่อนที่มนุษย์จะสามารถพัฒนางานศิลปะ วิทยาศาสตร์ ศาสนา หรือปรัชญาได้นั้น พวกเขาจำเป็นจะต้องมีอาหารสำหรับประทังชีพ มีเสื้อผ้าสำหรับสวมใส่และมีที่อยู่อาศัยเสียก่อน ซึ่งปัจจัยทั้งสามประการหลังนี้จำเป็นจะต้องมีใครสักคนผลิตขึ้นมา ดังนั้นเราก็สามารถจะกล่าวในอีกรูปแบบหนึ่งได้เช่นกันว่าระบบเศรษฐกิจ-สังคมที่ทำงานอยู่ได้นั้นคือระบบที่ถูกกำหนดจากความสามารถที่จะผลิตปัจจัยดังกล่าวได้

ในงานเรื่อง ‘The Critique of Political Economy’ มาร์กซ์ได้อธิบายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกำลังการผลิตและ “โครงสร้างส่วนบน” เอาไว้ว่า

“ในการผลิตทางสังคมซึ่งมนุษย์นั้นจะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่องในการเดินหน้าเข้าสู่ความสัมพันธ์ที่พวกเขาไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้และเป็นความสัมพันธ์ที่อยู่นอกเหนือเจตจำนงของพวกเขานั่นคือความสัมพันธ์ทางการผลิต ซึ่งความสัมพันธ์ทางการผลิตดังกล่าวนี้จะสอดคล้องกันกับระดับของพัฒนาการของกำลังทางวัตถุในการผลิตของมนุษย์... วิถีการผลิตในชีวิตที่เป็นจริงนั้นคือตัวกำหนดลักษณะโดยทั่วไปของสังคม การเมือง และความเชื่อด้านจิตวิญญาณของชีวิต การดำรงอยู่ขอมนุษย์นั้นไม่ได้ถูกกำหนดจากจิตสำนึก หากแต่ในทางกลับกันสังคมที่ดำรงอยู่ต่างหากที่กำหนดจิตสำนึก”

ดังเช่นที่มาร์กซ์และเองเกลส์ได้ทุ่มเทความอุตสาหะในการจะชี้ให้เห็นประเด็น ผู้ที่มีส่วนร่วมทางประวัติศาสตร์ (หรือก็คือมนุษย์ทุกคนนั่นเอง-ผู้แปล) ไม่สามารถจะตระหนักรู้ว่าพวกเขากระทำการต่างๆลงไปเนื่องจากแรงจูงใจใดได้ตลอดเวลา ดังนั้นพวกเขาจึงมักจะมองหาการให้เหตุผลแบบอื่นเข้ามาแทนที่ หากแต่แรงจูงใจที่เรากล่าวถึงนี้ก็ยังคงดำรงอยู่และมีพื้นฐานบนโลกแห่งความเป็นจริง

จากเนื้อหาทั้งหมดนี้มันจะช่วยทำให้เรามองเห็นว่าประวัติศาสตร์นั้นมีทิศทางที่เคลื่อนผ่านไปทางไหน-และมัน-ถูกก่อรูปร่างขึ้นจากการต่อสู้อย่างต่อเนื่องของชนชั้นต่างๆในสังคมเพื่อจะกำหนดรูปร่างของสังคมตามผลประโยชน์ของแต่ละชนชั้นนั้นๆ ดังเช่นประโยคแรกที่เขียนเอาไว้ในแถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์ซึ่งคอยย้ำเตือนเราว่า “ประวัติศาสตร์ในอดีตที่ผ่านมาจนกระทั่งถึงสังคมปัจจุบันนี้คือประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ทางชนชั้น” หลักคิดวัตถุนิยมประวัติศาสตร์นั้นอธิบายว่าแรงผลักดันสำคัญของพัฒนาการทางสังคมนั้นคือการต่อสู้ทางชนชั้น

มาร์กซ์และดาร์วิน (Marx and Darwin)

สปีชีส์ของมนุษย์เรานั้นคือผลผลิตจากกระบวนการวิวัฒนาการอันยาวนาน แน่นอนว่าวิวัฒนาการนั้นไม่ใช่กระบวนการของการออกแบบสรรสร้างสิ่งต่างๆโดยสิ่งเหนือธรรมชาติ และนี่ไม่ใช่การพูดเพื่อจะนำไปสู่การยอมรับความคิดเรื่องการดลบันดาลจากฟากฟ้า หากแต่นี่เป็นการแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่ากฎของวิวัฒนาการโดยธรรมชาติในธรรมชาตินั้นในความเป็นจริงแล้วคือกฎที่ควบคุมการพัฒนาการและวิวัฒนาการจากสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวไปสู่สิ่งมีชีวิตที่มีความซับซ้อนมากขึ้น

สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวในยุคแรกนั้นได้แบกรับเอาองค์ประกอบที่จะเตรียมพร้อมสำหรับการพัฒนาต่อไปในอนาคตเอาไว้ภายในตัวมันเอง และเราสามารถจะอธิบายถึงการกำเนิดและพัฒนาการของอวัยวะอย่างดวงตา สมอง แขน ขาได้โดยไม่จำเป็นต้องอาศัยไอเดียเรื่องการดลบันดาลของพระเจ้า ในสภาวะที่แน่นอนนั้นบรรพบุรุษของมนุษย์มีการพัฒนาสมองและระบบประสาทส่วนกลาง  และในท้ายที่สุดในยุคของมนุษย์โฮโม เซเปียนส์ เราก็ได้มาถึงยุคที่บรรพบุรุษของมนุษย์มีความตระหนักรู้หรือมีจิตสำนึกขึ้น มนุษย์ได้ขยับไปสู่การมีจิตสำนึกด้วยตัวมันเอง

ชาร์ล ดาร์วิน ได้อธิบายไว้ว่าสปีชีส์นั้นไม่ใช่สิ่งที่ไม่อาจจะเปลี่ยนรูปร่างได้ สผีชีสิต์คือสิ่งที่มีทั้งอดีต ปัจจุบัน และอนาคต มันสามารถเปลี่ยนแปลงและวิวัฒนาการได้ ในทางเดียวกันนี้มาร์กซ์และเองเกลส์ก็ได้อธิบายเอาไว้ว่าระบบสังคมหนึ่งๆนั้นไม่ใช่สิ่งที่ตายตัวและไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การวิวัฒนาการนั้นได้แสดงให้เห็นว่าในแต่ละยุคนั้นมีสิ่งมีชีวิตรูปแบบต่างๆก้าวขึ้นมาครองอำนาจนำบนพื้นโลกอย่างยาวนานได้อย่างไร และหลังจากนั้นมันก็สูญพันธุ์ไปเมื่อเงื่อนไขทางวัตถุที่กำหนดการดำรงอยู่ของพวกมันมีการเปลี่ยนแปลง สิ่งมีชีวิตที่เคยปกครองพื้นโลกในยุคก่อนก็อาจจะถูกแทนที่ด้วยสิ่งมีชีวิตที่ดูอ่อนแอกว่าหรือกระทั่งดูเหมือนสิ่งมีชีวิตที่ไม่สามารถจะเอาชีวิตรอดด้วยตัวเองได้เช่นกัน

ในปัจจุบันนี้ความคิดเรื่อง “วิวัฒนาการ” นั้นได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางหรืออย่างน้อยที่สุดก็ได้รับการยอมรับในหมู่ผู้ได้รับการศึกษา ความคิดของดาร์วินนี้ในยุคของเขานับว่าเป็นความคิดแบบปฏิวัติที่ได้รับการยอมรับอย่างกว้างขวางในฐานะความจริงที่แน่ชัด (ตัตวศาสตร์) อย่างไรก็ตามการวิวัฒนาการนั้นถูกเข้าใจกันในฐานะกระบวนการที่กินเวลายาวนาน ดำเนินการไปอย่างคงที่และเชื่องช้า โดยปราศจากการหยุดชะงักหรือการเปลี่ยนแปลงกะทันหันอย่างรุนแรง ซึ่งความคิดแบบนี้นั้นถูกยกเอามาใช้บ่อยครั้งในการทางการเมืองเพื่อสร้างความชอบธรรมให้กับการปฏิรูป น่าเสียดายที่ข้ออ้างนี้วางพื้นฐานอยู่บนความเข้าใจผิดและความคลาดเคลื่อนจากทฤษฎีวิวัฒนาการอย่างมาก

และนี่นับเป็นเรื่องที่ชวนประหลาดใจอย่างมากเพราะแม้กระทั่งตัวชาร์ล ดาร์วินเองก็ไม่ได้เข้าใจในเรื่องนี้เช่นกัน เรื่องนี้เกิดขึ้นในช่วงทศวรรษที่ 1970 นี้เองเมื่อโจเซฟ เจ. โกลด์ ได้ค้นพบองค์ความรู้ใหม่ด้านสัตว์และพืชดึกดำบรรพ์นั่นคือทฤษฎีการหยุดชะงักทางดุลยภาพ ที่แสดงให้เห็นว่ากระบวนการวิวัฒนาการนั้นไม่ใช่กระบวนการที่เป็นเส้นตรงแบบคงที่เพียงอย่างเดียว เขาค้นพบว่ามันมีช่วงเวลาอันยาวนานมากที่ไม่สามารถจะตรวจพบการวิวัฒนาการได้ นั่นคือสิ่งมีชีวิตในห้วงเวลานั้นไม่ได้มีการวิวัฒนาการใดๆขนาดใหญ่ที่พอจะสังเกตได้แต่ในเวลาต่อมาเส้นทางของการวิวัฒนาการนี้ก็แตกหักออกด้วยการระเบิด นั่นคือการปฏิวัติทางชีววิทยาอย่างแท้จริงอันเกิดจากการสูญพันธ์ของสิ่งมีชีวิตรูปแบบหนึ่งและการเติบโตขึ้นมาของสิ่งมีชีวิตรูปแบบอื่นๆ

เราสามารถจะมองเห็นรูปแบบความเคลื่อนไหวที่คล้ายกันนี้ได้จากการเกิดและการล่มสลายของระบบเศรษฐกิจ-สังคมรูปแบบต่างๆ การเปรียบเทียบระหว่างสังคมและธรรมชาตินี้แน่นอนว่าเป็นเพียงการเทียบเคียงแบบคร่าวๆเท่านั้น แต่กระนั้นแม้ว่าจะเป็นเพียงการเทียบเคียงแบบผิวเผินทางประวัติศาสตร์ก็สามารถทำให้มองเห็นว่าการตีความและอธิบายเรื่องการพัฒนาที่คงที่สม่ำเสมอตลอดเวลานั้นไม่มีมูลความจริง แน่นอนว่าสังคมเช่นเดียวกับธรรมชาตินั้นได้เคยเผชิญกับช่วงเวลาอันยาวนานของการพัฒนาที่คงที่และการเปลี่ยนแปลงที่เชื่องช้า และแน่นอนว่าท้ายที่สุดแล้วมันย่อมนำไปสู่การแตกหักของความต่อเนื่องดังกล่าวและเกิดการระเบิดออกของการพัฒนา-สงครามและการปฏิวัติ ที่ทำให้กระบวนการเปลี่ยนแปลงนั้นเร่งความเร็วขึ้นอย่างมหาศาล อันที่จริงปรากฏการณ์นี้ต่างหากที่เป็นแรงขับดันหลักของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ และสาเหตุต้นตอของการปฏิวัตินั้นก็คือการที่ระบบเศรษฐกิจ-สังคมหนึ่งๆนั้นได้เดินมาถึงขีดจำกัดของตัวมันเองและไม่สามารถจะพัฒนากำลังการผลิตต่อไปได้อีก

หากมองประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเราจะเห็นว่ามีบทเรียนอันเด่นชัดมากกว่าหนึ่งครั้งในประวัติศาสตร์ที่รัฐที่มีกำลังอำนาจล้นเหลือและยิ่งใหญ่นั้นล่มสลายลงภายในเวลาอันสั้น และยังแสดงให้เห็นถึงมุมมองทางการเมือง ศาสนา และปรัชญาที่เคยสนับสนุนระบอบเก่านั้นเปลี่ยนแปลงตัวเองไปสู่การยอมรับมุมมองของกำลังปฏิวัติใหม่ที่จะเข้ามาแทนที่ระบอบเก่า ความจริงที่ว่าความคิดแบบมาร์กซิสต์นั้นเป็นเพียงเสียงส่วนน้อยของสังคมไม่ใช่เรื่องอันมีสาระสำคัญที่เราจะต้องไปใส่ใจ ความคิดอันยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ทั้งหลายนั้นเมื่อครั้งที่เริ่มต้นก็ล้วนแล้วแต่ถูกตราหน้าว่าเป็นความคิดที่ผิดเป็นสิ่งนอกรีตก่อนที่จะได้รับการยอมรับกว้างขวาง ความคิดมาร์กซิสต์เองในปัจจุบันนี้ก็ไม่ต่างกับศาสนาคริสต์เมื่อครั้งเริ่มต้นเมื่อ 2,000 กว่าปีก่อน

“การปรับตัวตามวิวัฒนาการ” นั้นเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมทาสสามารถเข้ามาแทนที่สังคมชนเผ่าป่าเถื่อนได้ และสังคมศักดินาก็เข้ามาแทนที่สังคมทาสในภายหลัง และหลังจากนั้นด้วยปัจจัยหลากหลายประการก็ทำให้ระบบทุนนิยมเข้ามาแทนที่ระบบศักดินา และกลายมาเป็นระบบเศรษฐกิจ-สังคมที่ครอบงำเรามาจนถึงปัจจุบันพร้อมกับเค้าลางแห่งการผุพังของตัวมันเอง ระบบทุนนิยมนั้นได้แสดงให้เห็นว่าทุกๆปรากฏการณ์และทุกสิ่งที่เรามีส่วนเกี่ยวพันอยู่ภายใต้ระบบเศรษฐกิจ-สังคมแบบทุนนิยมนั้นได้เดินทางมาถึงสถานีปลายทางแห่งการล่มสลายของตัวมันเองแล้ว และในหลายกรณีนี้นั้นมันมีลักษณะคล้ายการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันที่เอ็ดเวิร์ด กิบบอน ได้เขียนอธิบายไว้ในงานเขียนของเขา ในห้วงเวลาที่ทุกสิ่งอย่างกำลังชัดเจนขึ้นเบื้องหน้าเรานี้บ่งบอกว่าระบบทุนนิยมกำลังมุ่งหน้าไปสู่การล่มสลาย.

สังคมนิยม, ยูโทเปียและความเป็นวิทยาศาสตร์ (Socialism, utopian and scientific)

เมื่อเรานำหลักวัตถุนิยมวิภาษวิธีมาประยุต์ใช้ในการมองประวัติศาสตร์ เราก็จะเห็นได้อย่างชัดเจนในทันทีว่าสังคมมนุษย์นั้นมีกฎของตัวมันเองและด้วยเหตุนั้นเราจึงสามารถจะทำความเข้าใจมันได้ในฐานะของกระบวนการกระบวนการหนึ่ง การเกิดขึ้นและล่มสลายของระบบเศรษฐกิจ-สังคมรูปแบบต่างๆนั้นสามารถนำมาอธิบายอย่างเป็นวิทยาศาสต์ได้ผ่านมุมมองเรื่องความสามารถและความไม่สามารถพัฒนาวิถีของการผลิตของแต่ละระบบเพื่อจะขยับขอบฟ้าขอวัฒนธรรมมนุษย์และยกรพดับความสามารถในการจะครองอำนาจนำเหนือธรรมชาติของมนุษย์

แต่ว่ากฎที่ควบคุมการเปลี่ยนแปลงทางประวัติศาสตร์ที่ว่านั้นคืออะไรกัน? มันเป็นเสมือนการวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิตที่มีกฎโดยธรรมชาติซึ่งสามารถอธิบายได้ และถูกอธิบายไปแล้ว ชาร์ล ดาร์วินเป็นคนแรกที่อธิบายถึงกฎนี้ในการศึกษาอันก้าวหน้าเกี่ยวกับพันธุ์ศาสตร์ ในทางเดียวกันสังคมมนุษย์เองก็มีกฎโดยธรรมชาติของมันซึ่งถูกนำมาอธิบายเอาไว้โดยมาร์กซ์และเองเกลส์ ซึ่งมาร์กซ์ได้เขียนเอาไว้ในงานเรื่อง ‘อุดมการณ์เยอรมัน’ งานชิ้นก่อน ‘แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์’ ว่า

“หลักฐานอ้างอิงสำคัญของประวัติศาสตร์มนุษย์ทั้งมวลนั้นแน่นอนว่าเป็นการปรากฎขึ้นและดำรงอยู่ของสิ่งมีชีวิตที่เป็นมนุษย์อย่างปัจเจก ดังนั้นข้อเท็จจริงแรกที่เกิดขึ้นก็คือลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของมนุษย์และความสัมพันธ์ของมนุษย์ที่มีต่อธรรมชาติที่เหลือ (...) มนุษย์นั้นสามารถแยกตัวเองออกจากสิ่งมีชีวิตอื่นๆได้ด้วยจิตสำนึก ศาสนา หรือเหตุผลใดๆก็ตามที่คุณพอใจจะยกมา หากแต่มนุษย์นั้นแยกตัวเองออกจากสัตว์อื่นๆได้ในทันทีที่พวกเขาเริ่มทำการผลิตปัจจัยหรือเงื่อนไขสำหรับการดำรงชีวิตขึ้นได้ด้วยตัวเอง มันคือก้าวสำคัญที่ถูกกำหนดมาด้วยโครงสร้างทางกายภาพของมนุษย์ และด้วยการผลิตปัจจัยสำหรับการดำรงชีวิตนี้มนุษย์ได้เริ่มต้นชีวิตเชิงวัตถุของตนอย่างแท้จริงขึ้นมาในทางอ้อม”

ในงานเรื่อง ‘สังคมนิยม, ยูโทเปียและความเป็นวิทยาศาสตร์’ เองเกลส์ได้เขียนบรรยายให้เรามองเห็นถึงรายละเอียดของความคิดดังกล่าวที่ละเอียดยิ่งขึ้น และนี่คือตัวอย่างข้อความที่แหลมคมและกระชับที่เองเกลส์ใช้ในการอธิบายถึงเรื่องหลักเกณฑ์พื้นฐานของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์

“มุมมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยมนั้นเริ่มต้นจากโจทย์เรื่องการผลิตเครื่องมือเพื่อสนับสนุนชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ และเพื่อการผลิต การแลกเปลี่ยนสิ่งที่เกิดจากการผลิต นั้นคือพื้นฐานของโครงสร้างทางสังคมทุกรูปแบบ ซึ่งในทุกๆสังคมที่ปรากฏขึ้นมาในประวัติศาสตร์นั้นจะมีลักษณะของการกระจายความมั่งคั่งที่ทำให้เกิดการแบ่งชนชั้นหรือการวางระเบียบต่างๆในสังคม ซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้จะถูกกำหนดมาจากโจทย์ที่ว่าสังคมนั้นๆทำการผลิตอะไร? ผลิตอย่างไร? และมีการแลกเปลี่ยนผลผลิตอย่างไร? และจากมุมมองแบบดังกล่าวนี้ก็จะทำให้เราสามารถมองเห็นว่าการเปลี่ยนแปลงทางสังคมจนกระทั่งการปฏิวัติทางการเมืองทั้งหมดนั้นไม่ได้เกิดขึ้นภายในมันสมองของมนุษย์ แต่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตและวิถีการแลกเปลี่ยน”

เช่นเดียวกับการคัดค้านไอเดียแบบสังคมนิยมยูโทเปียของโรเบิร์ต โอเวน, เซนท์-ไซมอน, และฟอรีเย เพราะความคิดแบบมาร์กซิสต์นั้นวางรากฐานอยู่บนมุมมองของสังคมนิยมที่เป็นวิทยาศาสตร์ มาร์กซิสต์นั้นอธิบายว่ากุญจาสำคัญของการพัฒนาสังคมทุกๆสังคมนั้นคือการพัฒนากำลังการผลิต ซึ่งก็คือ กำลังแรงงาน, อุตสาหกรรม, เกษตรกรรม, เทคโนโลยีและวิทยาศาสตร์ ระบบทางสังคมรูปแบบต่างๆ – สังคมทาส, ศักดินา, และทุนนิยม – ล้วนแล้วแต่ปรากฎขึ้นเพื่อนำพาสังคมมนุษย์ให้ก้าวหน้าผ่านการพัฒนากำลังการผลิตภายในสังคม

คำกล่าวยืนยันระดับพื้นฐานของวัตถุนิยมประวัติศาสตร์นั้นคือการยืนยันว่าสาเหตุสำคัญของพัฒนาการของมนุษยชาตินั้นคือการพัฒนากำลังการผลิต ข้อสรุปนี้เป็นสิ่งสำคัญมากเพราะมันจะช่วยให้เราเข้าถึงการมองประวัติศาสตร์ผ่านมุมมองที่เป็นวิทยาศาสตร์ได้ นักมาร์กซิสต์ยืนยันว่าพัฒนาการของสังคมมนุษย์ตลอดช่วงเวลานับล้านปีนั้นได้แสดงให้เห็นถึงความก้าวหน้า ในแง่ที่ว่ามันได้พัฒนากำลังของมนุษยชาติให้เพิ่มขึ้นและมีอำนาจเหนือธรรมชาติและสร้างปัจจัยเงื่อนไขทางวัตถุเพื่อจะทำให้มนุษย์นั้นสามารถไปถึงเสรีภาพที่แท้จริงได้ อย่างไรก็ตามกระบวนการดังกล่าวนี้ไม่เคยเดินทางไปแบบที่เป็นเส้นตรงราบเรียบ ประวัติศาสตร์นั้นคือเส้นกราฟการพัฒนาจากน้อยไปมากและรวมถึงการพัฒนาจากมากกลับไปน้อยด้วย

มีหลายคนปฏิเสธมุมมองประวัติศาสตร์แบบวัตถุนิยม และลดทอนให้ปัจจัยผลักดันเหตุการณืในประวัติศาสตร์นั้นคงเหลือเพียงบทบาทของปัจเจกบุคคลในประวัติศาสตร์ – วีรบุรุษ (หรือวีรสตรี) หรือกล่าวในอีกทางหนึ่งก็คือมันทำให้เราเหลือเพียงมุมมองประวัติศาสตร์แบบจิตนิยมและอัตนิยม และนี่คือจุดยืนของนักสังคมนิยมยูโทเปีย ผู้ที่ไม่อาจจะเข้าใจกฎขั้นพื้นฐานของพัฒนาการทางสังคมได้แม้ว่าพวกเขาจะมีข้อมูลมากมายพร้อมความคิดเชิงวิพากษ์ที่แหลมคม สำหรับพวกเขาแล้วสังคมนิยมนั้นเป็นเพียง “ไอเดียที่ดี” เป็นอะไรบางอย่างที่มนุษย์ควรจะคิดได้ตั้งแต่เมื่อหนึ่งพันปีก่อนแล้วหรือคิดได้ในเช้าของวันถัดมาหลังตื่นนอน แต่ถ้าหากว่ามันเป็นเช่นนั้นจริงหากว่าความคิดสังคมนิยมได้เกิดขึ้นจริงตั้งแต่เมื่อหนึ่งพันปีที่แล้วมนุษยชาติคงจะต้องเผชิญหน้ากับปัญหาอันใหญ่หลวงแน่!

มันเป็นไปไม่ได้ที่เราจะทำความเข้าใจต่อประวัติศาสตร์ผ่านการตีความแบบอัตนิยมผ่านการแบ่งแยกประวัติศาสตร์ด้วยการมองมันแบบพระเอก-ตัวร้าย หรือเราจะขอยกตัวอย่างดังนี้ ในช่วงแรกของศาสนาคริสต์ ศาสนิกชนผู้เชื่อและริคอยการวันสิ้นโลกและการกลับมาของพระเยซูคริสต์ในทุกห้วงลมหายใจนั้นไม่เชื่อในมุมมองเรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ในชุมชนของพวกเขานั้นมีลักษณะเชิงปฏิบัติที่เป็นคอมมิวนิสต์ (แม้ว่าปฏิบัติการในชุมชนนี้จะเป็นลักษณะแบบยูโทเปียคอมมิวนิสต์ ที่วางรากฐานอยู่บนเรื่องการบริโภค ไม่ใช่การผลิต) แต่การทดลองใช้ระบบคอมมิวนิสต์ในยุคแรกนี้ ไม่ได้นำไปสู่อะไร เพราะกำลังการผลิตในยุคนั้นยังไม่เพียงพอจะนำไปสู่การสร้างสังคมคอมมิวนิสต์ที่แท้จริง

ในห้วงเวลาของการปฏิวัติอังกฤษ โอลิเวอร์ ครอมเวลล์ นั้นเชื่ออย่างสุดจิตสุดใจว่าเขากำลังต่อสู้เพื่อสิทธิของปัจเจกบุคคลทุกคนเสมือนการสวดอ้อนวอนต่อพระเจ้าตามความเชื่อในจิตสำนึกของเขา หากแต่การสาวเท้าไปข้างหน้าของประวัติศาสตร์นั้นก็ได้พิสูจน์ว่าการกบฏของครอมเวลล์ นั้นคือสถานการณ์ชี้ขาดในการขยับขึ้นสู่อำนาจของชนชั้นกระฎุมพีที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ อันเป็นผลมาจากการพัฒนากำลังการผลิตในศตวรรษที่ 17 ของอังกฤษ

บรรดาผู้นำของการปฏิวัติอันยิ่งใหญ่ในฝรั่งเศสระหว่างปี 1789-1793 ที่ต่อสู้ภายใต้การชูธงเรื่อง “เสรีภาพ, เสมอภาค, และภราดรภาพ” พวกเขาเชื่อว่าตัวเองกำลังต่อสู้เพื่อให้มาซึ่วระบอบการปกครองที่วางรากฐานอยู่บนหลักการกฎหมายนิรันดรว่าด้วยเหตุผลและความยุติธรรม อย่างไรกามหากมองข้ามความมุ่งมั่นและความคิดเหล่านี้ไปเราจะเห็นว่าระหว่างการปฏิวัตินั้นกลุ่มฌากอแบง (Jacobins) ได้พยายามปูทางเพื่อสถาปนาระบอบการปกครองของชนชั้นกระฎุมพี และเป็นอีกครั้งหนึ่งที่ต้องกล่าวว่าจากจุดยืนแบบวิทยาศาสตร์แล้ว ในระดับขั้นของการพัฒนาทางสังคมมันย่อมไม่อยากจะหนีไปจากผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นนี้ได้.

ลำดับขั้นของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ (Stages of historical development)

ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมนุษย์ชาตินั้นกำเนิดขึ้นจากความพยายามในการต่อสู้เพื่อจะยกระดับและแยกตัวเองขึ้นจากบรรดาสิ่งมีชีวิตอื่นๆของมนุษย์ การต่อสู้ดังกล่าวนี้ได้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อ 7 ล้านปีก่อนเมื่อบรรพบุรุษที่ห่างไกลของมนุษย์นั้นเริ่มต้นที่จะยืนสองขาและเปลี่ยนขาหน้าให้กลายเป็นมือที่สามารถใช้ทำการผลิตได้ และนับแต่นั้นเป็นต้นมาความสำเร็จของพัฒนาการทางสังคมทั้งหลายนั้นล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นบนพื้นฐานของการเปลี่ยนแปลงพัฒนาการของกำลังการผลิตของแรงงาน – หรือกล่าวอีกอย่างก็คือการพัฒนากำลังอำนาจในการเอาชนะธรรมชาติของมนุษย์

สังคมมนุษย์นั้นได้เดินทางผ่านลำดับขั้นต่างๆทางประวัติศาสตร์มาอย่างชัดเจน และในทุกๆสังคมนั้นก็ล้วนแล้วแต่วางรากฐานอยู่บนวิถีการผลิตที่แน่นอนซึ่งแสดงออกผ่านระบบของความสัมพันธ์ทางชนชั้นที่ชัดเจน นอกจากนี้มันยังแสดงออกให้เห็นอย่างชัดเจนผ่านมุมมองทางสังคม, จิตวิทยา, ศีลธรรม, กฎหมาย และศาสนา

ความสัมพันธ์ระหว่างรากฐานทางเศรษฐกิจของสังคมกับโครงสร้างส่วนบน (อุดมการณ์, ศีลธรรม, กฎหมาย, ศิลปะ, ศาสนา, ปรัชญา ฯลฯ) นั้นไม่ได้มีความสัมพันธ์กันเป็นเส้นตรงราบเรียบง่ายดายหากแต่มีความสัมพันธ์ที่ซับซ้อนสูงหรือแม้กระทั่งมีความสัมพันธ์ที่มีลักษณะขัดแย้งกันเอง เส้นใยที่มองไม่เห็นที่เชื่อมโยงกำลังการผลิตเข้ากับความสัมพันธ์ทางชนชั้นนี้ได้สะท้อนออกมาให้เราเห็นผ่านธรรมเนียมหรือการปฏิบัติอันสับสนและบิดเบี้ยวในความคิดของมนุษย์ และความคิดที่มีที่มาตั้งแต่ยุคอดีตบุพกาลนั้นอยู่ภายใต้อิทธิพลด้านจิตใจแบบรวมหมู่เป็นระยะเวลายาวนาน และยังคงดำรงอยู่ต่อมาหลังจากรากฐานที่แท้จริงที่พวกเขาพยายามบิดพริ้วนั้นได้จางหายไป ศาสนานั้นเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนมันคือเรื่องของความสัมพันธ์เชิงวิภาษวิธี ซึ่งมาร์กซ์ได้เขียนอธิบายเอาไว้อย่างชัดเจนดังนี้

“ในประเด็นเรื่องปริมณฑลของอุดมการณ์ซึ่งทะยานสูงขึ้นไปในอากาศ, ศาสนา, ปรัชญา,ฯลฯ นั้นล้วนแล้วแต่มีต้นตอหรือสืบเชื้อสายมาจากยุคก่อนประวัติศาสตร์ซึ่งถูกค้นพบการดำรงอยู่และจับต้องได้ในยุคประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นสิ่งที่เรามองว่าไร้สาระในปัจจุบัน บรรดาความคิดที่ผิดพลาดเกี่ยวกับธรรมชาติของมนุษย์, ของความเป็นมนุษย์, จิตวิญญาณ, พลังเหนือธรรมชาติ, ฯลฯ เหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นเพียงองค์ประกอบของรากฐานทางเศรษฐกิจเชิงลบเท่านั้น หากแต่ความด้อยพัฒนาด้านเศรษฐกิจของยุคก่อนประวัติศาสตร์นั้นถูกส่งเสริม ถูกกำหนด และกระทั่งมีสาเหตุของความด้อยพัฒนามาจากความเข้าใจที่ผิดพลาดต่อธรรมชาติ และถึงแม้ว่าความจำเป็นทางเศรษฐกิจนั้นจะเป็นพลังหลักในการขับเคลื่อนความก้าวหน้าในองค์ความรู้ทางธรรมชาติซึ่งจะพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ มันจึงเป็นเรื่องที่ดูจะอวดรู้เกินไปที่จะพยายามทดลองหรือค้นหาสาเหตุทางเศรษฐกิจของเหตุการณ์ทั้งหมดในยุคบุพกาลอันไร้เหตุผลนี้”

“ประวัติศาสตร์ของวิทยาศาสตร์นั้นคือพัฒนาการของความพยายามที่จะค่อยๆลบเลือนความไร้เหตุผลดังกล่าวนี้หรือทำให้มันมีความไร้เหตุผลน้อยลงให้มากที่สุด บรรดาผู้คนที่ยอมรับกับเรื่องเหล่านี้ทำให้พะวกเขาได้เข้าไปอยู่ในปริมณฑลของการแบ่งงานกันทำและประจักษ์แก่ตนเองว่าพวกเขากำลังทำงานอยู่ในพื้นที่อันเป็นอิสระ และตราบเท่าที่พวกเขาได้ก่อร่างกลุ่มอิสระหรือพื้นที่อิสระเหล่านี้ขึ้นภายในสังคมของการแบ่งงานกันทำ ตราบเท่าที่พวกเขายังคงทำการผลิต รวมถึงความผิดพลาดของพวกเขานั้นได้ส่งผลในทางกลับกันเป็นสิ่งที่มีอิทธิพลเหนือพัฒนาการทางสังคมทั้งหมด แม้กระทั่งพัฒนาการทางเศรษฐกิจ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดแล้วพวกเขายังคงอยู่ภายใต้การควบคุมและอิทธิพลของพัฒนาการทางเศรษฐกิจ” (Marx and Engel, Selected Correspondence, pp. 482-3)

และมาร์กซ์ได้เขียนอธิบายเอาไว้อีกดังนี้

“แต่ปรัชญาในทุกยุคทุกสมัย นับตั้งแต่มันมีปริมณฑลที่ชัดเจนในระบบแบ่งงานกันทำนั้นมีหลักหรือองค์ประกอบที่ชัดเจนในทางปัญญาซึ่งเป็นสิ่งที่ถูกส่งต่อมาจากยุคก่อนๆหน้า นั่นทำให้แม้แต่ประเทศที่ด้อยพัฒนาการทางเศรษฐกิจก็สามารถที่จะกลายเป็นประเทศที่ก้าวหนาทางปรัชญาได้” (Marx and Engel, Selected Correspondence, pp. 482-3)

อุดมการณ์, ธรรมเนียมประเพณี, ศีลธรรม, ศาสนา, ฯลฯ ล้วนแล้วแต่มีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการก่อรูปความคิดความเชื่อของมนุษย์ ทฤษฎีมาร์กซิสต์นั้นไม่ได้ปฏิเสธความจริงที่ชัดเจนนี้ ซึ่งตรงกันข้ามกับสิ่งที่นักจิตนิยมเชื่อกัน จิตสำนึกโดยทั่วไปของมนุษย์นั้นมักจะมีลักษณะอนุรักษ์นิยมอย่างมาก ผู้คนจำนวนมากนั้นไม่ชื่นชอบการเปลี่ยนแปลงโดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลัน หรือการเปลี่ยนแปลงที่รุนแรง พวกเขามักจะยึดเกาะอยู่กับสิ่งที่พวกเขาเชื่อถือและคุ้นเคยนั่นคือ สถาบันการเมืองที่เขารู้จัก, ศาสนา, ศีลธรรม, ผู้นำและพรรคการเมืองในอดีต ความเคยชิน สิ่งซ้ำเดิม ประเพณีธรรมเนียมเดิมๆเหล่านี้เป็นเสมือนตุ้มถ่วงความเจริญที่ทับอยู่บนไหล่ของมนุษยชาติ และด้วยเหตุผลเหล่านี้ทำให้จิตสำนึกนั้นมีความล่าช้ากว่าปรากฎการณ์

อย่างไรก็ตามเมื่อเข้าถึงสถานการณ์หรือช่วงเวลาหนึ่งนั้นมันจะเกิดปรากฎการณ์ขนาดใหญ่ที่ทำให้มนุษย์ตั้งคำถามต่อความเชื่อและสมมุติฐานเดิมของพวกเขา พวกเขาจะก้าวออกจากความเชื่อเดิม, จากความเฉื่อยชาไม่ยินดียินร้าย และจะมุ่งหน้าไปสู่ความเป็นจริงที่เกิดขึ้น ในห้วงเวลาดังกล่าวนี้จิตสำนึกนั้นจะสามารเปลี่ยนแปลงไปได้อย่างรวดเร็ว และนี่คือสิ่งที่เรียกว่าการเป็นปฏิวัติ และเส้นของพัฒนาการของสังคมมนุษย์ที่เคยเป็นเส้นตรงราบเรียบอย่างคงที่เชื่องช้านั้นก็จะถูกขัดจังหวะและเร่งจังหวะด้วยการปฏิวัติอันเป็นกลไกและแรงผลักดันสำคัญในความก้าวหน้าของมนุษยชาติ.

สังคมมนุษย์ยุคแรก (Early human society)

หากว่าเราย้อนมองกระบวนการทางประวัติศาสตร์ทั้งหมดที่ผ่านมาทั้งในประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์และประวัติศาสตร์ยุคก่อนสังคมมนุษย์สิ่งหนึ่งที่จะปรากฏอยู่ต่อหน้าเรานั้นก็คือกระบวนการวิวัฒนาการอย่างเชื่องช้าของเผ่าพันธุ์หรือสปีชีส์ของเรา วิวัฒนาการอย่างค่อยเป็นของไปของมนุษย์หรือสิ่งมีชีวิตที่เป็นบรรพบุรุษของมนุษย์นั้นแยกห่างจากเงื่อนไขการดำรงอยู่แบบสัตว์และขยับเข้าใกล้การเป็นมนุษย์ตั้งแต่เมื่อหลายล้านปีก่อน และการก้าวกระโดดทางวิวัฒนาการอันเป็นการชี้ขาดนั้นคือการแบ่งแยกมนุษย์หรือบรรพบุรุษของมนุษย์ออกมาจากพวกมนุษย์ลิงซีเมียน (Simian)

กระบวนการของการวิวัฒนานั้นคือสิ่งที่เข้าได้ยาก – หรือกล่าวคือมันเป็นกระบวนการที่ไม่ได้มีเป้าหมายหรือเป้าประสงค์ที่เฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ อย่างไรก็ตามวิวัฒนาการของบรรพบุรุษมนุษย์เรานั้น มีวิวัฒนาการเริ่มต้นตั้งแต่การเปลี่ยนมายืนสองขา และจากนั้นคือการใช้มือและแขนของพวกเขาในการสร้างเครื่องมือและในท้ายที่สุดคือการผลิตเครื่องมือ และเสาะหาช่องทางในธรรมชาติรอบข้างเพื่อผลักดันให้พวกเขาก้าวไปข้างหน้า

เมื่อสิบล้านปีก่อนวานรหรือมนุษย์วานรนั้นได้กลายมาเป็นเผ่าพันธุ์หรือสปีชีส์ที่ปกครองโลกทั้งใบเอาไว้ พวกเขาดำรงชีวิตอยู่ในหลากหลายรูปแบบและสถานที่ เช่นบนต้นไม้ บนพื้นดิน หรือกระทั่งผสมผสานกันระหว่างบนพื้นดินและต้นไม้ ด้วยปัจจัยด้านสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงไปสู่สภาพอากาศแบบเขตร้อนนั้นได้กลายมาเป็นเงื่อนไขที่ช่วยให้พวกเขาสามารถแพร่ขยายจำนวนออกไปได้อย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตามในช่วงเวลาประมาณ 7-8 ล้านปีก่อนสภาพอากาศก็ได้เปลี่ยนแปลงไปและทำให้วานรสายพันธุ์นี้จำนวนมากล้มตายลงอย่างไม่ทราบสาเหตุที่แน่ชัด

การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับบรรพบุรุษของมนุษย์นั้นได้ถูกครอบงำเอาไว้ด้วยอคติของมุมมองแบบจิตนิยมมาเป็นเวลายาวนานเพื่อจะยืนยันความคิดที่ว่า นับตั้งแต่การค้นพบความแตกต่างระหว่างมนุษย์และมนุษย์วานรนั้นคือส่วนที่เรียกว่าสมอง พวกเขาก็เชื่อว่าบรรพบุรุษของมนุษย์นั้นจะต้องเป็นมนุษย์วานรที่กำเนิดมาพร้อมสมองขนาดใหญ่ ทฤษฎี “สมองขนาดใหญ่” นี้กลายเป็นทฤษฎีที่ครอบงำความคิดด้านมานุษยวิทยายุคแล้วเอาไว้อย่างมาก พวกเขาใช้เวลาหลายทศวรรษไปกับความพยายาม – ที่ไร้ผลสำเร็จ – ในการค้นหา “ส่วนเชื่อมโยงที่หายไป” ซึ่งพวกเขาเชื่อว่าเป็นกระดูก ฟอสซิลของสิ่งมีชีวิตที่มีสมองขนาดใหญ่

ซึ่งความมั่นอกมั่นใจนี้ก็ได้ทวีสูงขึ้นเมื่อวงการวิทยาศาสตร์ประกาศถึงการค้นพบเศษฟอสซิลที่เป็นกระดูกและขากรรไกรที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็น “ส่วนเชื่อมโยงที่หายไป” ที่ถูกเรียกว่า Piltdown Man เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม ปี ค.ศ. 1912 ซึ่งมีการยกย่องว่านี่ถือเป็นการค้นพบครั้งสำคัญที่สุดของยุค อย่างไรก็ตามในปี 1953 นั้นทีมนักวิทยาศาสตร์สัญชาติอังกฤษก็ได้ค้นพบและเปิดเผยความจริงว่าชิ้นส่วนของ Piltdown Man นั้นเป็นเพียงเรื่องหลอกลวง พวกเขาค้นพบว่าเศษกระดูกที่นำมาอ้างนั้นมีอายุเพียง 500 ปี ส่วนกระดูกขากรรไกรนั้นก็เป็นเพียงกระดูกของลิงอุรังอุตังไม่ใช่กระดูกของมนุษย์วานรที่ควรจะมีอายุกว่าหลายล้านปี

คำถามคือทำไมนักวิทยาศาสตร์ในแวดวงวิทยาศาสตร์ยุคนั้นถึงสามารถถูกหลอกได้อย่างง่ายดายเช่นนี้? นั่นก็เพราะพวกเขากำลังนำเสนอความคิดที่ควบมาด้วยความเชื่อว่าพวกเขาจำเป็นจะต้องค้นหาสิ่งของบางอย่างให้เจอนั่นคือกระดูกฟอสซิลของบรรพบุรุษของมนุษย์ที่มีสมองขนาดใหญ่ ในฐานะที่มันเป็นสิ่งของอันสำคัญสำหรับความจริง ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่ทำให้มนุษย์พัฒนาตนเองขึ้นมาได้นั้นไม่ใช่การกำเนิดมาพร้อมสมองขนาดใหญ่หากแต่เป็นการวิวัฒนาการมายืนหลังตรง (การยืนสองขา) ที่ทำให้บรรพบุรุษของมนุษย์สามารถใช้มือและแขนสำหรับการใช้แรงงานต่างหาก

คำอธิบายเหล่านี้นั้นได้ถูกเขียนเอาไว้แล้วในงานชิ้นสำคัญของเองเกลส์เรื่อง ‘human origins, Labour in the Transition of Ape to Man’ ผู้เชี่ยวชาญวิชาว่าด้วยสัตว์และพืชดึกดำบรรพ์ผู้โด่งดังชาวอเมริกาชื่อ Stephen Jay Gould ได้เขียนเสนอว่ามันเป็นเรื่องน่าเศร้าที่นักวิทยาศาสตร์ไม่ได้ให้ความสนใจต่อสิ่งที่เองเกลส์เขียนนำเสนอ จนทำให้แวดวงวิทยาศาสตร์นั้นต้องตกอยู่ใต้ความผิดพลาดทางทฤษฎีมาเป็นร้อยปี การค้นพบป้าลูซี่ (Lucy) หรือซากกระดูกที่กลายเป็นหินของสิ่งมีชีวิตเพศหญิงสปีชีส์ใหม่ที่เรียกว่า Australopithecus Afarensis นั้นแสดงให้เห็นว่าสิ่งที่เองเกลส์เสนอเป็นสิ่งที่ถูกต้องว่าโครงสร้างทางร่างกายโดยรวมของบรรพบุรุษของมนุษย์นั้นแทบจะไม่แตกต่างไปจากมนุษย์ในปัจจุบัน (เช่น กระดูกเชิงกราน, กระดูกขา ฯลฯ) ซึ่งยืนยันทฤษฎีเรื่องการยืนสองขา แต่บรรพบุรุษของมนุษย์นั้นไม่ได้มีขนาดสมองที่ใหญ่ไปกว่าลิงชิมแพนซีเลย

เหล่าบรรพบุรุษที่ห่างไกลของมนุษย์เรานั้นมีขนาดร่างกายที่เล็กและยังเคลื่อนไหวได้เชื่องช้าเมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดอื่นๆ พวกเขาไม่ได้มีกรงเล็บหรือฟันที่แหลมคมและมีพลังมากมายนัก ยิ่งไปกว่านั้นบรรดาทารกของพวกเขาก็สามารถกำเนิดเพียงปีละครั้งและเมื่อกำเนิดมาแล้วก็ยังไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้อีกด้วย ทารกโลมานั้นสามารถว่ายน้ำได้ตั้งแต่เกิด ทารกของวัวและม้านั้นสามารถจะเดินได้ในห้วงเวลาเพียงไม่กี่ชั่วโมงหลังการคลอด ส่วนลูกสิงโตก็สามารถจะวิ่งได้ในห้วงเวลาเพียง 20 วันหลังกำเนิด

ในขณะที่ทารกมนุษย์นั้นต้องใช้เวลาอย่างน้อยหนึ่งเดือนหลังกำเนิดเพียงเพื่อจะนั่งได้ด้วยตัวเอง ทักษะอื่นๆที่ซับซ้อนขึ้นอย่างเช่นการวิ่งและการกระโดดนั้นจำเป็นต้องใช้เวลาเป็นปีในการพัฒนา และในฐานะของเผ่าพันธุ์หนึ่งแล้วต้องถือว่าเผ่าพันธุ์มนุษย์ของเรานั้นมีความเสียเปรียบหรือข้อด้อยเชิงกายภาพและพัฒนาการอย่างมากเมื่อเปรียบเทียบกับสิ่งมีชีวิตสายพันธุ์อื่นๆที่เป็นคู่แข่งขันกันในธรรมชาติโดยเฉพาะในพื้นที่อย่างทุ่งหญ้าสะวันนาของแอฟริกาใต้ ดังนั้นองค์ประกอบสำคัญที่ชี้ขาดวิวัฒนาการและความอยู่รอดของมนุษย์นั้นก็คือการใช้แรงงานมือ ซึ่งพ่วงมาด้วยการร่วมมือทางสังคมและภาษา การสร้างอุปกรณ์หรือเครื่องมือจากหินนั้นทำให้บรรพบุรุษยุคแรกของมนุษย์มีความก้าวหน้าทางวิวัฒนาการอย่างมาก และนับเป็นการกระตุ้นให้เกิดพัฒนาการทางด้านสมองอีกด้วย

ในห้วงเวลาของยุคสมัยแรกซึ่งมาร์กซ์และเองเกลส์เรียกมันว่ายุคสมัยของอนารยธรรม ซึ่งถูกประกอบสร้างขึ้นด้วยการขาดพัฒนาการด้านวิถีการผลิตอย่างถึงที่สุด เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ทำจากหิน และวิถีการดำรงชีวิตแบบการล่าสัตว์ - เก็บเกี่ยวผลไม้ ซึ่งในระหว่างนี้นั้นเส้นทางของพัฒนาการยังคงคงที่จนเกือบจะเป็นเส้นตรงเป็นระยะเวลายาวนาน วิถีการผลิตแบบการล่าสัตว์ – เก็บเกี่ยวผลไม้นั้นได้แสดงให้เห็นถึงปัจจัยทั่วไปสำหรับการดำรงอยู่ของมนุษยชาติ ซึ่งในห้วงเวลาหลังจากนั้นจนกระทั่งในห้วงเวลาอันใกล้นี้เองที่สถานการณ์ของโลกได้เปลี่ยนและทำให้เราหลงลืมวิถีชีวิตแบบนี้ไปเป็นเวลานาน

มีตัวอย่างมากมายเช่นการเชื่อว่ามนุษย์นั้นมีลักษณะเห็นแก่ตัวโดยธรรมชาติ เพราะหากมันเป็นเช่นนี้จริงเผ่าพันธุ์มนุษย์ของเรานั้นคงจะต้องสูญพันธุ์ไปตั้งแต่เมื่อสองล้านปีก่อนแล้ว สิ่งที่ทำให้เผ่าพันธุ์มนุษย์สามารถอยู่รอดมาได้ในช่วงเวลานั้นคือความร่วมมือกันและรวมตัวกันเป็นกลุ่มเพื่อเผชิญหน้าต่ออุปสรรคและความทุกข์ยาก พวกเขาช่วยกันดูแลปกป้องเด็กๆแรกเกิดรวมถึงแม่ผู้ให้กำเนิดและให้ความเคารพต่อผู้สูงอายุในชุมชนที่เป็นคนส่งต่อองค์ความรู้ร่วมหรือความเชื่อร่วมของชุมชนหรือกลุ่ม เหล่าบรรพบุรุษของมนุษย์เรานั้นไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่ากรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ดังเช่นที่ Anthony Burnett ได้ชี้ประเด็นให้เห็นไว้ดังนี้

“เราจะเห็นความแตกต่างระหว่างเผ่าพันธุ์มนุษย์กับสัตว์เผ่าพันธุ์อื่นๆได้อย่างชัดเจนเมื่อเรานำทั้งสองกลุ่มนี้มาเปรียบเทียบกันผ่านพฤติกรรมในการรักษาอาณาเขตของสัตว์กับการถือครองทรัพย์สินของผู้คน อาณาเขตของสัตว์นั้นจะถูกกำหนดด้วยสัญลักษณ์บางอย่างที่เป็นทางการซึ่งจะเป็นที่รับรู้กันทั้งสายพันธุ์สัตว์นั้นๆ ซึ่งสัตว์ที่อยู่ในวัยผู้ใหญ่หรือสัตว์ทั้งกลุ่มของแต่ละเผ่าพันธุ์ก็ล้วนแต่ถือครองเขตแดน แต่สังคมมนุษย์นั้นไม่ได้มีลักษณะที่เท่าเทียมกันแบบดังกล่าว แม้กระทั่งภายในชุมชนเดี่ยวหนึ่งชุมชนนั้นพื้นที่หรืออาณาเขตขนาดใหญ่มักจะถูกถือครองเอาไว้เดียวบุคคลเพียงคนเดียว ขณะที่คนอื่นๆในสังคมจะไม่ได้ถือครองอะไรเลย กระทั่งในปัจจุบันก็ยังมีสภาพที่คล้ายกันและนี่คือลักษณะของกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล แต่ในบางประเทศนั้นการถือครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลการเปลี่ยนเรื่องที่ถูกจำกัดเอาไว้ ในบางชนเผ่าหรือกลุ่มชนหรือแม้กระทั่งในชนกลุ่มน้อยพวกเขามีลักษณะการถือครองทรัพย์สินร่วม นั่นทำให้มนุษย์นั้นปราศจาก “สัญชาติญาณเรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล” แต่หันไปมี “สัญชาติญาณในการปล้นชิง” แน่นอนว่ามันเป็นเรื่องง่ายที่เราจะเลี้ยงดูเด็กๆให้เติบโตมาเป็นคนที่เปี่ยมไปด้วยความโลภ และรูปแบบของความโลภนี้ก็ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ถูกต้องตามครรลองคลองธรรมของสังคม ซึ่งแพร่ขยายออกไปอย่างกว้างขวางจากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง และจากยุคสมัยทางประวัติศาสตร์หนึ่งไปสู่อีกยุคสมัยหนึ่ง” (Anthony Burnett, The Human Species, p. 142.)

บางทีเราอาจจะต้องกล่าวว่ามันเป็นเรื่องโชคร้ายสำหรับคำว่า “อนารยธรรม” นั้นเนื่องจากมันถูกตีความให้มีความหมายไปในแง่ลบ โดยเฉพาะในศตวรรษที่ 17 เมื่อ Thomas Hobbes นักปรัชญาชาวอังกฤษผู้โด่งดังได้อธิบายถึงชีวิตความเป็นอยู่ในยุคสมัยแรกของบรรพาบุรุษของมนุษย์ว่า “มันเป็นยุคสมัยที่เต็มไปด้วยความอันตรายและหวาดกลัวจากความตายที่น่าสยดสยอง ชีวิตความเป็นอยู่ของมนุษย์ในยุคนั้นก็เต็มไปด้วยความโดดเดี่ยว ความยากจน สกปรก ป่าเถื่อน และมีอายุสั้น” ไม่ต้องสงสัยเลยว่าวิถีชีวิตของบรรพบุรุษมนุษย์นั้นย่อมจะยากลำบากอย่างแน่นอน หากแต่คำกล่าวนี้ก็มีลักษณะที่เกินจริงและมีลักษณะที่ตัดสินมากเกินไป Richard Leakey นักโบราณคดีและนักมานุษยวิทยาชาวเคนยาได้ให้ความเห็นที่น่าสนใจเอาไว้อีกแบบหนึ่งว่า

“มุมมองของ Hobbes ที่มองว่าสังคมก่อนสังคมเกษตรกรรมนั้นเป็นสังคมที่ ‘ไม่มีสังคม’ และ ‘โดดเดี่ยว’ นั้นเป็นมุมมองที่ผิดพลาดอย่างมาก การจะกลายเป็นสังคมแบบการล่าสัตว์ – เก็บเกี่ยวผลไม้นั้นจำเป็นจะต้องมีการส่งต่อประสบการณ์ที่จะต้องอาศัยกระบวนการทางสังคมอย่างเข้มข้น ส่วนเรื่องที่สังคมแบบดังกล่าวนั้นไม่มี “งานศิลปะ” หรือ “ตัวอักษร” นั่นก็เป็นความจริงที่ว่าสังคมที่ต้องออกหาอาการนั้นทำให้พวกเขาไม่สามารถก่อสร้างวัตถุทางวัฒนธรรมได้ ซึ่งนี่เป็นผลพวงมาจากระบบสังคมแบบการล่าสัตว์ – เก็บเกี่ยวผลไม้ที่ทำให้ชุมชนต้องมีการเคลื่อนย้ายที่อยู่อาศัยอยู่เสมอ ตัวอย่างเช่นชนเผ่า !Kung เมื่อพวกเขาย้ายที่อยู่จากแห่งหนึ่งไปสู่ที่ใหม่ พวกเขาจำเป็นจะต้องแบกขนสิ่งของที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีพในที่ใหม่ไปด้วยซึ่งมันมีน้ำหนักเฉลี่ยราวๆ 12 กิโลกรัม (26 ปอนด์) ที่พวกเขาจะต้องแบกมันไปด้วยกำลังของพวกเขา และนี่ถือเป็นความขัดแย้งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้ระหว่างลักษณะการย้ายถิ่นฐานกับการสร้างวัฒนธรรมทางวัตถุ และด้วยเหตุนี้ชนเผ่า !Kung จึงเลือกที่จะแบกเอาวัฒนธรรมของเขาเอาไว้ในหัว ไม่ใช่บนหลังของพวกเขา นั่นคือพวกเขาบรรจุวัฒนธรรมของตัวเองเอาไว้ในบทเพลงของพวกเขา ในท่าทางการเต้นรำอันเป็นเอกลักษณ์ และในเรื่องเล่าขานเกี่ยวกับวัฒนธรรมของพวกเขา”  (Richard Leakey, The Making of Mankind, pp. 101-3)

นอกจากนี้เขายังได้เสนอต่ออีกว่า

“Richard Lee [นักมานุษยวิทยาและผู้เขียนหนังสือเรื่อง ‘The !Kung San: Men, Women, and Work in a Foraging Society’] นั้นได้วิเคราะห์ว่าผู้หญิงในสังคมแบบดังกล่าวจะไม่มีความรู้สึกว่าพวกเธอกำลังถูกกดขี่หรือเอารัดเอาเปรียบ ‘พวกเธอจะได้รับเกียรติและศักดิ์ศรีรวมถึงอำนาจทางการเมือง อันเป็นสถานะที่ผู้หญิงในสังคมสมัยใหม่ถูกปฏิเสธหรือไม่ได้รับอนุญาตให้มี’“ (Richard Leakey, The Making of Mankind, pp. 103)

ในสังคมรูปแบบดังกล่าวนี้ระบบชนชั้นยังไม่เป็นที่รู้จัก เพราะในสังคมแบบดังกล่าวนี้มันไม่มีทั้งรัฐและองค์กรทางศาสนา อีกทั้งมันยังเต็มไปด้วยสามัญสำนึกเรื่องการรับผิดชอบต่อชุมชนและการแบ่งปันในชุมขนที่หยั่งรากลึกอยู่อีกด้วย ความเห็นแก่ตัวแอละการถือทิฐินั้นถือเป็นพฤติกรรมการต่อต้านสังคมและเป็นความผิดด้านศีลธรรมอย่างร้ายแรง การตอกย้ำถึงเรื่องความเท่าเทียมในสังคมนี้สามารถสังเกตเห็นได้จากพฤติกรรมเล็กๆในสังคมเมื่อผู้ที่ออกไปหาอาหารกลับมาพร้อมกับความสำเร็จในการล่าสัตว์ เป้าหมายของพฤติกรรมหรือพิธีกรรมนี้เป็นไปเพื่อจะลดทอนและทำลายความหยิ่งยโสและความทระนงตนของผู้ล่า Richard Lee อธิบายว่า “พฤติกรรมของผู้ประสบความสำเร็จที่ถูกต้องนั้นต้องไม่ใช่ความหยิ่งยโสหรือทระนงตนหากแต่จะต้องเป็นความอ่อนน้อมและรู้จักพอประมาณ”

“ชนเผ่า !Kung นั้นไม่มีผู้นำหรือหัวหน้าเผ่า ปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคมของพวกเขานั้นส่วนใหญ่แล้วจะถูกแก้ไขหรือจัดการลงก่อนที่มันจะสะสมจนกลายเป็นปัญหาใหญ่ที่คุกคามต่อการดำรงอยู่ของชุมชนหรือชนเผ่าของพวกเขา (...) การสนทนาพูดกันของผู้คนในชุมชนนั้นคือเป็นคุณลักษณะร่วมกัน และปัญหาหรือข้อพิพาทต่างๆก็จะถูกคลี่คลายลงอย่างง่ายดายผ่านกระบวนการพูดคุยกันทางสังคมโดยไม่ต้องมีใครสักคนเข้ามาออกคำสั่งให้ทำเช่นนั้น Richard Lee นั้นได้สอบถามกับชาวเผ่าชื่อ /Twi!gum ว่าชนเผ่า !Kung นั้นมีผู้นำหรือไม่ คำตอบของเขานั้นทำให้ Richard Lee ต้องรู้สึกแปลกใจอย่างมาก /Twi!gum ตอบว่า  ‘แน่นอนว่าพวกเรามีผู้นำ อันที่จริงแล้วพวกเราทุกคนในเผ่าคือผู้นำ สมาชิกทุกคนในเผ่าของเราเป็นผู้นำของตัวเขาเอง’“(Richard Leakey, The Making of Mankind, pp. 107)

กฎเกณฑ์ขั้นพื้นฐานที่ช่วยชี้นำทุกๆมุมมองของชีวิตนั้นคือการแบ่งปัน ท่ามกลางชนเผ่า !Kung นั้นเมื่อมีการฆ่าสัตว์ลงหนึ่งตัว มันจะเกิดกระบวนการของการแบ่งปันเนื้อสัตว์นี้อย่างละเอียดและรอบคอบตามสัดส่วนให้แก่เครือญาติ, พันธมิตรเพื่อนฝูง และผู้มีบุญคุณ ซึ่ง Richard Lee ได้เน้นย้ำให้เห็นถึงประเด็นสำคัญตรงนี้

“การแบ่งปันนั้นเป็นพฤติกรรมและระบบคุณค่าที่แพร่หลายและหยั่งรากลึกในหมู่นายพรานในสังคมของชนเผ่า !Kung พวกเขาจะแบ่งปันสิ่งที่หามาได้ภายในครอบครัว และระหว่างครอบครัวและขยายออกไปจนสุดขอบของสังคมทั้งหมด เช่นเดียวกับที่เรื่องผลกำไรและความเป็นเหตุเป็นผลนั้นคือหัวใจสำคัญของศีลธรรมแบบระบบทุนนิยม ความคิดเรื่องการแบ่งปันก็เป็นหัวใจสำคัญของชีวิตทางสังคมในสังคมล่าสัตว์เช่นกัน” (Richard Leakey, The Making of Mankind, pp. 107)

ความเห็นแก่ตัวและความหยิ่งยโสจะไม่ได้รับการยอมรับในสังคม ขณะที่ความพอประมาณและความอ่อนน้อมจะได้รับการสนับสนุน ดังเช่นที่ข้อความต่อไปนี้ได้อธิบายถึง

“สมาชิกของชนเผ่า !Kung คนหนึ่งในอธิบายว่า ‘เมื่อพวกเขาออกไปล่าสัตว์ได้ พวกเขาจะไม่กลับมาที่เผ่าแล้วประกาศโอ้อวดว่า ‘ฉันล่าสัตว์ตัวใหญ่ได้จากป่า!’ แต่เขาจะเริ่มต้นด้วยการนั่งลงรอบกองไฟอย่างสงบนิ่งจนกระทั่งคนอื่นๆมาถึงและถามต่อเขาว่า ‘วันนี้คุณล่าอะไรมาได้บ้าง?’ และเขาจะตอบอย่างสงบนิ่งว่า ‘ฉันทำการล่าได้ไม่ดีเท่าไหร่ วันนี้ฉันแทบจะล่าอะไรไม่ได้เลย ... มีแค่สัตว์ตัวเล็กๆที่ฉันพอจะล่ามาได้’ และเมื่อไหร่ก็ตามที่ได้ยินแบบนี้เราก็จะฉีกยิ้มกันเพราะเรารู้ดีว่านั่นหมายถึงว่าคนพูดล่าสัตว์ตัวใหญ่กลับมาได้ ‘ยิ่งคุณล่าสัตว์ตัวใหญ่เท่าไหร่ คุณก็จะยิ่งอ่อนน้อมถ่อมตนลง (...) การพูดเล่นและการอ่อนน้อมถ่อมตนนี้ถูกปฏิบัติตามกันอย่างเคร่งครัดไม่เฉพาะแต่ชนเผ่า !Kung เท่านั้นแต่ถูกนำไปปฏิบัติด้วยคนที่ทำหน้าที่ล่าหรือหาอาหาร และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือต่อให้ใครสักคนนั้นเป็นนักล่าที่มีความเชี่ยวชาญมากกว่าคนอื่นๆ ก็จะไม่มีใครไปยกย่องเขาหรือเคารพบูชาเขามากกว่าคนอื่นๆเพียงเพราะเขามีทักษะด้านนี้ดีกว่าคนอื่น’” (Leakey, pp. 106-7.)

ระบบคุณค่าทางศีลธรรมแบบดังกล่าวนั้นไม่ได้ถูกผูกขาดไว้กับชนเผ่า !Kung เพียงเผ่าเดียวหากแต่มันเป็นลักษณะที่มีร่วมกันของสังคมที่อาศัยการล่าสัตว์ – เก็บเกี่ยวอาหาร พฤติกรรมทางสังคมต่างๆที่เกิดขึ้นนี้ไม่ว่าอย่างไรก็ตามแล้วมันไม่ใช่สิ่งที่เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ เช่นเดียวกับพฤติกรรมส่วนใหญ่ของมนุษย์ มันจำเป็นจะต้องถูกปลูกฝังขึ้นมาตั้งแต่ช่วงวัยเด็ก ทารกมนุษย์ทุกคนนั้นถือกำเนิดขึ้นมาพร้อมกับความสามารถที่จะกลายมาเป็นผู้รักการแบ่งปันหรือกลายไปเป็นคนเห็นแก่ตัวก็ได้ Richard Lee กล่าวว่า “การเลี้ยงดูและการพัฒนานั้นย่อมจะเป็นไปโดยคำนึงถึงคุณค่าสูงสุดของสังคมนั้นๆ” ในแง่นี้แล้วนั่นแปลว่าคุณค่าทางคุณธรรมของสังคมยุคบุพกาลนี้มีความสูงส่งกว่าคุณค่าในระบบทุนนิยมที่สอนให้ผู้คนกลายเป็นคนละโมบ เห็นแก่ตัวและต่อต้านสังคมอยู่มากทีเดียว

แน่นอนว่าเราไม่อาจจะกล่าวอ้างได้อย่างชัดเจนว่าสิ่งที่เรากล่าวมานี้คือภาพแทนหรือภาพลักษณ์ที่แท้จริงของชีวิตในสังคมยุคแรกของมนุษย์ หากทว่าเงื่อนไขและปัจจัยที่คล้ายคลึงกันนั้นก็ย่อมจะก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่คล้ายคลึงกัน และแนวโน้มในแบบเดียวกันนี้ก็สามารถที่จะค้นพบได้ในหลายวัฒนธรรมที่แตกต่างกันแต่มีพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่อยู่ในระดับเดียวกันนี้ ดังเช่นที่ Richard Lee ได้กล่าวเอาไว้ดังนี้

“เราไม่ควรจะจินตนาการว่าสิ่งที่เรากล่าวมานี้เป็นวิถีชีวิตที่ถูกต้องและเป็นจริงของวิถีชีวิตทางสังคมของบรรพบุรุษของมนุษย์ แต่ผมเชื่อว่าสิ่งที่เราเห็นจากชุมชนของชนเผ่า !Kung และจากรูปแบบทางพฤติกรรมของสังคมล่าสัตว์ในที่อื่นๆนั้นเป็นลักษณะสำคัญของพัฒนาการในสังคมของบรรพบุรุษมนุษย์ยุคแรก และเป็นลักษณะของสังคมมนุษย์ซึ่งอาศัยอยู่เมื่อสองถึงสามล้านปีก่อน – ก่อนที่พวกเขาจะวิวัฒนาการและพัฒนามาถึงยุคของเราในปัจจุบัน – พวกเขาย่อมจะใช้และขยายระบบเศรษฐกิจที่วางรากฐานอยู่บนเรื่องการแบ่งปันกันนี้ และพัฒนาการของระบบสังคมแบบล่าสัตว์ – รวบรวมอาหารนี้เป็นระบบที่มีพลังอันเข้มแข็งที่ทำให้พวกเรากลายมาเป็นมนุษย์แบบในปัจจุบันนี้” (Quoted in Leakey,  pp. 108-9.)

และเมื่อเปรียบเทียบคุณค่าของสังคมยุคโบราณนี้กับสังคมของเราในปัจจุบันจะพบว่าเราไม่ได้พัฒนาไปสู่สิ่งที่ดีกว่าเดิมสักเท่าไหร่เลย ตัวอย่างเช่นหากเราเปรียบเทียบระบบครอบครัวในปัจจุบันซึ่งมีการบันทึกสถิติของการเกิดปัญหาความรุนแรงภายในครอบครัวซึ่งกระทำต่อผู้หญิงและเด็ก ปัญหาเด็กกำพร้า และปัญหาการขายตัว เทียบกับระบบสังคมยุคเก่าที่มีการเลี้ยงดูเด็กๆร่วมกันโดยสังคมซึ่งดีกว่า หรือก็คือยุคก่อนการกำเนิดขึ้นของระบบการจัดการทางสังคมที่แปลประหลาดซึ่งมนุษย์เรียกมันว่าความศิวิไลซ์

“’พวกคนขาว’ ชาวอินเดียนแดงกล่าวต่อมิชชันนารี ‘พวกคุณนั้นมอบความรักให้แต่กับลูกๆของตัวเอง แต่พวกเรามอบความรักให้กับเด็กๆทุกคนในเผ่า เด็กๆทุกคนนั้นถือว่าเป็นลูกหลานของทุกคนในเผ่าที่พวกเราจะช่วยกันเลี้ยงดูพวกเขา พวกเขาทุกคนล้วนแล้วแต่เป็นเลือดเนื้อเชื้อไขของพวกเรา พวกเราเป็นทั้งพ่อและแม่ให้แก่เด็กๆ พวกคนขาวนั้นโหดร้ายและป่าเถื่อน พวกเขาไม่ได้มอบความรักให้แก่ลูกของตัวเอง บางครั้งถึงกับทอดทิ้งให้ลูกต้องกำพร้า และเมื่อเด็กๆกลายเป็นกำพร้าผู้คนในสังคมก็ไม่ได้ให้ความสนใจหรือความช่วยเหลือใดๆ พวกคนขาวทิ้งเด็กกำพร้าเอาไว้เบื้องหลัง เราไม่เคยรู้จักอะไรที่ป่าเถื่อนและโหดร้ายแบบนี้มาก่อนเลย’” (M. F. Ashley Montagu, ed., Marriage: Past and Present: A Debate Between Robert Briffault and Bronislaw Malinowski, Boston: Porter Sargent Publisher, 1956, p. 48.)

อย่างไรก็ตามเราไม่ควรจะมีมโนทัศน์หรือมุมมองแบบจิตนิยมต่ออดีตที่ผ่านมา วิถีชีวิตในยุคแรกของบรรพบุรุษเรานั้นยังคงเป็นชีวิตที่เต็มไปด้วยการดิ้นรนเอาตัวรอดอย่างยากลำบาก การต่อสู้กับธรรมชาติเพื่อเอาชีวิตรอด การจะเกิดความก้าวหน้าด้านการพัฒนานั้นก็เป็นไปอย่างยากลำบากและเชื่องช้า มนุษย์ยุคแรกนั้นเริ่มต้นการสร้างอุปกรณ์หรือเครื่องไม้เครื่องมือจากหินเมื่อ 2.6 ล้านปีก่อน อุปกรณ์จากหินที่เก่าที่สุดที่ถูกค้นพบซึ่งมีชื่อว่า Oldowan นั้นยังคงถูกใช้งานต่อมาอีกนับล้านปีจนกระทั่งเมื่อช่วงเวลาประมาณ 1.76 ล้านปีก่อน เมื่อมนุษย์เริ่มต้นที่จะผลิตอุปกรณ์หินที่มีคุณภาพมากขึ้นด้วยการทำให้มันมีความบางและคมมากขึ้น จนกลายเป็นอุปกรณ์รูปแบบใหม่ที่เรียกว่า ขวานมือ ขึ้นมา และอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพในการตัดหรือฟันนี้เองที่ช่วยทำให้เกิดวัฒนธรรมแบบ Acheuleanขึ้นซึ่งอุปกรณ์พื้นฐานเหล่านี้ที่ประกอบได้ด้วยรูปแบบต่างๆของอุปกรณ์ซึ่งสร้างขึ้นมาจากหิน ยังคงถูกผลิตและนำมาใช้กันอย่างแพร่หลายต่อมาอีกเป็นห้วงเวลายาวนาน – ก่อนที่มันจะถูกเลิกใช้ในช่วงเวลาประมาณ 400,000 – 250,000 ปีที่ผ่านมานี้

การปฏิวัติยุคนีโอลิธิค (The Neolithic Revolution)

ประวัติศาสตร์ทั้งหมดของมนุษยชาตินั้นเป็นประวัติศาสตร์ที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ของมนุษยชาติเพื่อจะขยับและยกระดับเผ่าพันธุ์ของตนให้อยู่เหนือจากระดับของสัตว์เดรัจฉาน การต่อสู้อันยาวนานนี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่เมื่อ 7 ล้านปีก่อน เมื่อบรรพบุรุษอันห่างไกลของเรานั้นได้วิวัฒนาการตัวเองขึ้นมายืนสองขาและทำให้พวกเขามีมืออันเป็นอิสระสำหรับการใช้กำลังแรงงาน การผลิตอันเกิดจากเครื่องมือขุดและขวานที่ทำมาจากหินนั้นเป็นการเริ่มต้นกระบวนการที่ทำให้มนุษย์ได้กลายเป็นมนุษย์ผ่านการใช้แรงงาน และนับตั้งแต่นั้นความสำเร็จในการพัฒนาสังคมก็ได้ถือกำเนิดขึ้นบนรากฐานของการเปลี่ยนแปลงในการพัฒนากำลังการผลิตของแรงงาน – หรือกล่าวก็คือการพัฒนาอำนาจของเราเหนือธรรมชาติ

ซึ่งในประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ของมนุษยชาติแล้วกระบวนการเหล่านี้ดำเนินไปอย่างเชื่องช้าอย่างมาก ดังเช่นที่ The Economist ได้ตั้งข้อสังเกตไว้ถึงห้วงเวลาอันธการก่อนสหัสวรรษใหม่ ดังนี้

“สำหรับประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเกือบทั้งหมดของมนุษยชาตินั้น ความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจเป็นสิ่งที่เติบโตอย่างเชื่องช้าจนอาจจะมองไม่เห็นพัฒนาการของมันเลยในช่วงชีวิตของมนุษย์คนหนึ่ง เป็นเวลานับร้อยๆปีที่อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจนั้นอยู่ในระดับต่ำกว่าทศนิยม หรือเป็นศูนย์ และเมื่อเกิดการเติบโตทางเศรษฐกิจขึ้นมันก็จะดำเนินไปอย่างเชื่องช้าจนแทบจะมองไม่เห็นเลยในช่วงชีวิตของคน – และแม้กระทั่งการหวนกลับไปดูประวัติที่ผ่านมาก็จะเห็นได้ว่ามันไม่ได้มีการพัฒนายกระดับคุณภาพชีวิตขึ้นมา (ซึ่งเป็นความหมายของการเติบโตในปัจจุบัน) มันปรากฏแต่เพียงการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากร ความก้าวหน้านั้นลดลงอย่างต่อเนื่องมีแต่เพียงพวกชนชั้นนำจำนวนน้อยที่ได้ประโยชน์ซึ่งอาจจะสรุปได้ว่า ความเชื่องช้านี้กลายเป็นความเป็นไปได้ในการดำรงชีพของคนจำนวนมาก คือดำรงชีพอยู่อย่างต่ำต้อยและไร้ศักดิ์ศรี” ( The Economist, December 31, 1999)

ความก้าวหน้าของมนุษย์ชาติซึ่งเริ่มจะพัฒนาอย่างรวดเร็วขึ้นนั้นเป็นผลมาจากการปฏิวัติอันสำคัญยิ่งในครั้งแรกนี้ซึ่งได้ทำให้เกิดกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากสังคมบุพกาลที่ใช้วิถีการผลิตแบบล่าสัตว์มาเป็นสังคมกสิกรรม อันถือเป็นการปลดปล่อยปัจจัยพื้นฐานสำหรับการลงหลักปักฐานอย่างมั่นคงและทำให้เกิดชุมชนที่เป็นเมืองเล็กๆขึ้นเป็นครั้งแรก นี่คือห้วงเวลาที่นักมาร์กซิสต์เรียกันว่ายุคอนารยธรรม (barbarism) นั้นคือห้วงเวลาระหว่างสังคมคอมมิวนิสต์บุพกาลกับสังคมชนชั้นสังคมแรก อันเป็นห้วงเวลาที่ระบบชนชั้นเริ่มก่อตัวขึ้นพร้อมๆกับสิ่งที่เรียกว่ารัฐ

ห้วงเวลาอันยาวนานของสังคมคอมมิวนิสต์บุพกาลนั้นมนุษยชาติกำลังอยู่ในช่วงแรกของการพัฒนา ที่ระบบชนชั้น, กรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล, และรัฐ ยังไม่ได้ถือกำเนิดขึ้น หากแต่มันก็ได้มอบหนทางที่นำไปสู่สังคมชนชั้นเมื่อมนุษย์สามารถสร้างผลผลิตส่วนเกินที่มากกว่าความจำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตในแต่ละวันขึ้นมาได้ ในจุดนี้เองการแบ่งแยกทางสังคมที่นำไปสู่สังคมชนชั้นนั้นก็กลายเป็นเรื่องของความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ สังคมอนารยธรรมนั้นกำเนิดขึ้นมาจากการพังทลายของระบบคอมมูนโบราณ ณ จุดนี้เองที่สังคมได้แบ่งแยกกันด้วยความสัมพันธ์ทางทรัพย์สินเป็นครั้งแรก และระบบรัฐและระบบชนชั้นนั้นก็อยู่กระบวนการของการก่อรูปร่างขึ้น แม้ว่ากระบวนการดังกล่าวนี้จะปรากฏออกมาอย่างค่อยเป็นค่อยไป หากแต่มันใช้เวลาจากการเปลี่ยนจากการก่อรูปจนกระทั่งไปสู่การลงหลักปักฐานเป็นสังคมชนชั้นที่มั่นคงได้โดยเริ่มต้นเมื่อประมาณ 10,000 – 12,000 ปีที่ผ่านมานี้เอง

ในประวัติศาสตร์ระดับกว้างแล้ว การปรากฏขึ้นมาของระบบสังคมชนชั้นนั้นคือปรากฏการณ์ปฏิวัติ อันทำให้เกิดสิทธิพิเศษแก่กลุ่มชนหนึ่งขึ้นมานั่นคือ – ชนชั้นปกครอง – ที่ทำให้พวกเขาเป็นอิสระจากการใช้แรงงานทำการผลิตในทางตรง และทำให้พวกเขามีเวลาสำหรับการพัฒนางานศิลปะ, วิทยาศาสตร์, และวัฒนธรรม ทำให้สังคมชนชั้นแม้ว่ามันจะเต็มไปด้วยการขูดรีดเอารัดเอาเปรียบอย่างร้ายกาจและเต็มไปด้วยความไม่เท่าเทียม หากแต่มันก็เป็นเส้นทางที่มนุษยชาติจำเป็นจะต้องข้ามผ่านหากว่ามันจำเป็นสำหรับการสร้างปัจจัยทางวัตถุเบื้องต้นสำหรับสังคมที่ปราศจากชนชั้นในอนาคต

เมืองขนาดเล็กและนครต่างๆ (ตัวอย่างเช่นนคร Jericho ที่กำเนิดขึ้นเมื่อราวๆ 7,000 ปีก่อนคริสตกาล) นั้นได้ก่อให้เกิดผลลัพธ์เช่น การเขียน, อุตสาหกรรม และสิ่งต่างๆที่กลายมาเป็นรากฐานของสิ่งที่เราเรียกว่าอารยธรรม ห้วงเวลาในยุคอนารยธรรมนี้ได้แสดงให้เห็นถึงชิ้นส่วนขนาดใหญ่ทางประวัติศาสตร์ซึ่งได้แบ่งแยกย่อยออกเป็นหลายส่วนในยุคสมัยที่ต่างกัน ซึ่งถูกกำหนดลักษณะขึ้นโดยกระบวนการเปลี่ยนผ่านจากวิถีการผลิตในสังคมล่าสัตว์ ไปสู่สังคมกสิกรรมและสังคมชนบท นั่นคือการเปลี่ยนแปลงจากยุคหินพาลีโอลิธิคอันโหดร้ายผ่านยุคอนารยชนนีโอลิธิคไปสู่สังคมอนารยชนในระดับที่สูงขึ้นในยุคสำริด ซึ่งถือเป็นบันไดขั้นแรกของอารยธรรมมนุษย์

จุดเปลี่ยนสำคัญที่เป็นจุดชี้ขาดนี้ ที่ Gordon Childe เรียกว่า การปฏิวัติยุคนีโอลิธิค ได้แสดงให้เห็นการก้าวกระโดดครั้งสำคัญในการพัฒนาความสามารถในการทำการผลิตของมนุษย์และทำให้เกิดการพัฒนาวัฒนธรรมมนุษย์ในที่สุด นี่คือสิ่งที่ Childe กล่าวว่า “พวกเรานั้นติดหนี้บุญคุณต่อสังคมอนารยธรรมอย่างมาก การเพาะปลูกพืชทุกชนิดที่เรากระทำอยู่ในปัจจุบันนี้ถูกค้นพบขึ้นโดยมนุษย์ผู้ไม่ได้มีชื่อจดจำในสังคมอนารยธรรม” (G. Childe, What Happened in History, p. 64)

การเพาปลูกนั้นเริ่มต้นขึ้นในตะวันออกกลางเมื่อช่วงเวลาประมาณ 10,000 ปีก่อน อันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการปฏิวัติในสังคมและวัฒนธรรมมนุษย์ เงื่อนไขใหม่ในการผลิตนี้ทำให้มนุษย์มีเวลามากขึ้น – เป็นเวลาว่างสำหรับพัฒนาการคิดวิเคราะห์ที่ซับซ้อนขึ้น ซึ่งแสดงออกมาให้เห็นในงานศิลปะซึ่งใช้รูปแบบทางเรขาคณิต – อันเป็นงานศิลปะที่เป็นตัวอย่างแรกในประวัติศาสตร์ เงื่อนไขใหม่นี้ได้สร้างทัศนะใหม่ที่มีต่อชีวิต ความสัมพันธ์ทางสังคม และความสัมพันธ์ที่ผูกมัดมนุษย์เข้ากับโลกธรรมชาติและจักรวาล ความเข้าใจต่อธรรมชาตินั้นกลายเป็นสิ่งจำเป็นจากความต้องการของการเพาะปลูก และก้าวหน้าอย่างเชื่องช้าไปสู่ระดับที่มนุษย์เรียนรู้ที่จะลดทอนและควบคุมพลังของธรรมชาติที่เป็นปฏิปักษ์ลงในทางปฏิบัติ – ผ่านการระดมกำลังแรงงานร่วมกัน

การปฏิวัติวัฒนธรรมและศาสนานั้นได้สะท้อนถึงการปฏิวัติสังคมครั้งยิ่งใหญ่ – เป็นการปฏิวัติครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติมาจนถึงปัจจุบัน – ที่นำไปสู่การล่มสลายของระบบคอมมูนบุพกาลและสถาปนาวิถีการผลิตที่วางอยู่บนเรื่องกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และวิถีการผลิตนั้นก็คือวิถีชีวิตโดยตัวมันเอง

ในสังคมกสิกรรมนั้นการนำเครื่องมือที่ทำจากเหล็กมาใช้ถือว่าเป็นความก้าวหน้าอย่างยิ่ง มันทำให้เกิดการขยายตัวของประชากรและทำให้ชุมชนนั้นเข้มแข็งและยิ่งใหญ่มากขึ้น เหนือสิ่งอื่นใดมันได้ทำให้เกิดผลผลิตส่วนเกินจำนวนมากที่จะถูกจัดสรรโดยชนชั้นนำในชุมชน กล่าวโดยเฉพาะเจาจงแล้วการนำเครื่องมือที่ทำจากเหล็กมาใช้นั้นทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในเชิงคุณภาพของกระบวนการผลิต อันเนื่องมาจากเหล็กนั้นมีประสิทธิภาพมากกว่าสำริดและทองแดงทั้งในการผลิตเครื่องมือและอาวุธ มันสามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้มากกว่าโลหะยุคเก่า และนี่ถือเป็นห้วงเวลาแรกที่อาวุธและการสงครามกลายเป็นเรื่องที่เป็นปรกติ อาวุธที่แพร่หลายอย่างมากในยุคนั้นคือดาบเหล็ก ซึ่งถูกค้นพบครั้งแรกในอังกฤษโดยตัวดาบนั้นมีอายุกว่า 5,000 ปีก่อคริสตกาล ผู้ชายทุกคนในยุคนั้นสามารถที่จะพกพาดาบได้ การสู้รบนั้นได้ทำให้ชนชั้นนำสูญเสียอำนาจในการปกครองไปและทำให้รูปแบบการปกครองกลายมาเป็นรูปแบบข้อตกลงของมวลชน

การนำขวานและเคียวที่ทำจากเหล็กมาใช้นั้นได้เปลี่ยนแปลงโฉมหน้าของการกสิกรรมไป การเปลี่ยนแปลงโฉมหน้านี้ได้แสดงให้เห็นผ่านการที่พื้นที่เพาะปลูกหนึ่งเอเคอร์นั้นสามารถที่จะสร้างผลผลิตให้มากพอสำหรับเลี้ยงผู้คนได้มากกว่าเดิมเป็นเท่าตัว ซึ่งผลผลิตส่วนเกินที่เกิดขึ้นนี้มันไม่ได้ถูกนำไปใช้เพื่อจะเป็นเมล็ดพันธุ์สำหรับการเพาะปลูกใหม่อย่างที่มันควรจะเป็นหากแต่ส่วนหนึ่งนั้นมันจะถูกนำไปถือครองและจัดสรรโดยพวกชนชั้นปกครอง ขณะที่อีกส่วนก็จะถูกนำมาใช้ในการดำรงชีวิตอันกลายเป็นสิ่งที่เกาะกุมบทบาทสำคัญของสังคมในรูปแบบนี้เอาไว้

ในการจัดเลี้ยงหรือจัดงานฉลองในชุมชนหนึ่งครั้งนั้นจะมีผู้เข้าร่วมงานราวๆ 2-300 คนที่จะต้องมีการจัดเตรียมอาหารสำหรับการจัดเลี้ยง ที่ในหนึ่งงานนั้นอาจจะต้องใช้วัวถึง 12 ตัว แกะ หมู และกระทั่งสุนัขอีกจำนวนมาก การกินดื่มอย่างตะกละนี้ไม่มีทางจะเกิดขึ้นได้ในสังคมที่ใช้วิถีการผลิตแบบล่าสัตว์ – พวกเขาให้ความสำคัญกับบทบาททางสังคมและศาสนาอย่างมาก ในพิธีกรรมทางศาสนาพวกเขาได้ทำการขอบคุณพระเจ้าที่ได้มอบผลผลิตส่วนเกินมาให้ พวกเขายอมรับการอยู่ร่วมกันของชนเผ่าต่างๆและสร้างข้อตกลงในการอยู่ร่วมกัน การสร้างงานเฉลิมฉลองอันฟุ่มเฟือยนี้ยังเป็นวิธีการที่จะทำให้หัวหน้าเผ่าได้แสดงถึงความร่ำรวยและอำนาจของเขา รวมถึงเป็นการเพิ่มและขยายชื่อเสียงของเผ่าของตัวเองด้วย

จากสถานที่ในการสังสรรค์และพบปะดังกล่าวมันได้นำไปสู่การขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไปสู่การลงหลักปักฐานและก่อตั้งถิ่นฐานถาวร ตลาด และเมืองขนาดเล็ก หลักสำคัญของระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและการขยายตัวของการสะสมทรัพย์สินนั้นจะต้องมาพร้อมกับการขยายการผลิตของแรงงานและการเพิ่มผลผลิตส่วนเกิน ที่จะกลายเป็นสิ่งล่อใจให้ตกเป็นเป้าหมายของการถูกรุกรานเพื่อปล้นชิง ดังนั้นยุคเหล็กจึงกลายเป็นยุคของการสู้รบ การแตกแยก และการปล้นชิงอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมืองในยุคนี้จึงมักจะถูกห้อมล้อมเอาไว้ด้วยกำแพงและป้อมปราการหิน อย่างเช่นปราสาท Maiden castle ใน Dorset และเมือง Danebury ใน Hampshire

ผลสำคัญจากการสู้รบนั้นคือจำนวนของเชลยสงครามที่เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งส่วนมากนั้นจะถูกนำไปขายให้กลายเป็นทาส ซึ่งนี่เอง – ในยุคถัดมา – ได้กลายเป็นสินค้าสำคัญที่ส่งออกไปสู่โรมัน นักภูมิศาสตร์ชื่อ Strabo ได้ให้ความเห็นว่า “ผู้คนเหล่านี้จะยอมซื้อขายทาสเพียงเพื่อแลกเปลี่ยนกับไวน์แค่หนึ่งไห” การแลกเปลี่ยนซื้อขายนี้ได้เริ่มต้นขึ้นที่รอบนอกของสังคม การแลกเปลี่ยนซื้อขายกับอารยธรรมที่ก้าวหน้าขึ้น (โรมัน) เงินตราก็กลายเป็นสิ่งที่ถูกนำมาใช้ โดยเหรียญเงินนั้นมีรากฐานมาจากโมเดลของเหรียญกษาปณ์โรมัน

การครอบงำของระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล ได้ทำให้คนส่วนน้อยของสังคมสามารถครอบครองอำนาจและเงินตราเอาไว้ในมือได้เป็นครั้งแรก อันทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในความสัมพันธ์ระหว่างผู้ชายและผู้หญิงรวมถึงทายาทของพวกเขา คำถามว่าด้วยการสืบทอดมรดกกลายมาเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างมากในช่วงนั้น ผลที่ตามมาคือการที่เรามองหลุมฝังศพที่น่าตื่นตาในอังกฤษ ซึ่งปรากฏขึ้นเมื่อประมาณ 3,000 ปีก่อนคริสตกาล ซึ่งแสดงให้เห็นถึงอำนาจของชนชั้นปกครองหรือปราสาท มันยังแสดงให้เห็นถึงการมีสิทธิ์ครอบครองและเป็นเจ้าของเหนือดินแดนที่แน่นอนอีกด้วย ซึ่งเรื่องเหล่านี้สามารถจะพบได้ในวัฒนธรรมยุคแรกอื่นๆด้วยเช่นกัน ตัวอย่างเช่น ชนพื้นเมืองอินเดียนแดงในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งถูกระบุว่าดำรงชีวิตอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 18

ณ จุดนี้เองที่เราได้เผชิญกับวาระอันยิ่งใหญ่ของความแปลกแยก แก่นแท้ของมนุษย์นั้นแปลกแยกออกจากตัวมนุษย์เองในความรู้สึกเป็นสองหรือสามเท่า ประการแรก ระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลนั้นทำให้มนุษย์แปลกแยกออกจากผลผลิตที่ตัวเขาเป็นผู้ผลิต ซึ่งผลผลิตดังกล่าวนี้กลับถูกถือครองและจัดสรรโดยผู้อื่น ประการที่สอง โชคชะตาและการใช้ชีวิตของพวกเขานั้นกลับถูกกำหนดและควบคุมโดยรัฐซึ่งแสดงออกมาในรูปแบบของตัวบุคคลที่มีสถานะเป็นกษัตริย์ และประการสุดท้าย แต่ไม่ท้ายที่สุด ความแปลกแยกนี้สามารถจะดำเนินการหรือส่งผ่านจากชีวิตในปัจจุบันไปสู่ชีวิตในอนาคตได้ – การดำรงอยู่ภายใน (“จิตวิญญาณ”) ของมนุษย์ทุกคนนั้นจะถูกกำหนดโดยเทพที่จะคอบตัดสินชีวิตในโลกหน้า ผู้ที่มีเจตจำนงที่ดีย่อมจะต้องก้มหน้าสวดภาวนาและเสียสละตนเองอยู่เสมอเพื่อความสำเร็จในโลกหน้า แลชะเช่นเดียวกันกับการทำงานเพื่อรับใช้ราชวงศ์ด้วยการสร้างพื้นฐานของทรัพย์สินของชนชั้นปกครอง ในทางเดียวกันการเสียสละและบำเพ็ญเพียรต่อพระเจ้านั้นก็คือการสร้างรากฐานความมั่งคั่งทางทรัพย์สินและอำนาจให้กับชนชั้นนักบวช ที่วางตัวเองเป็นสื่อกลางระหว่างมนุษย์กับพระเจ้า และนี่เองคือจุดเริ่มต้นขององค์กรทางศาสนา

ด้วยการขยายตัวของการผลิตและการเพิ่มผลผลิตนั้นทำให้เกิดความเป็นไปได้ของเศรษฐกิจของแรงงาน มันทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงใหม่ในความเชื่อทางศาสนาและธรรมเนียม และแน่นอนว่าการดำรงอยู่ทางสังคมนั้นเป็นตัวกำหนดจิตสำนึก ในสถานที่บูชาวิญญาณบรรพบุรุษ และหลุมฝังศพหินสำหรับปัจเจกและครอบครัวของเขา ตรงนี้เองที่เราจะเห็นถึงความทะเยอทะยานในการแสดงออกถึงความเชื่อที่มากขึ้นของพวกเขา สิ่งก่อสร้างอย่างสโตนเฮนจ์ นั้นเป็นข้อยืนยันถึงการเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรและการเพิ่มขึ้นของการผลิต ที่ทำให้เกิดการจัดการในการใช้กำลังแรงงานร่วม รากฐานสำคัญของการสร้างสรรค์อารยธรรมนั้นกำเนิดมาจากสังคมอนารยธรรมและแน่นอนว่ารวมถึงสังคมทาสด้วย พัฒนาการของสังคมอนารยธรรมจบลงพร้อมกับการกำเนิดขึ้นมาของสังคมทาส หรือสิ่งมาร์กซ์เรียกว่า “วิถีการผลิตแบบเอเชีย”

วิถีการผลิตแบบเอเชีย (Asiatic mode of production)

การระเบิดออกของการเติบโตทางอารยธรรมที่แท้จริงนั้นเกิดขึ้นในอียิปต์, เมโสโปเตเมีย, ลุ่มแม่น้ำสินธุ, เปอร์เซีย และจีน หรือกล่าวได้อีกอย่างว่า พัฒนาการของสังคมชนชั้นนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับการยกระดับครั้งใหญ่ของกำลังการผลิต และด้วยเหตุนั้นทำให้เกิดวัฒนธรรมของมนุษย์ซึ่งทะยานสูงขึ้นเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นเรื่องที่เชื่อถือกันว่าการปรากฏขึ้นของเมืองตลอดจนการกสิกรรมที่ก้าวหน้านี้เกิดขึ้นพร้อมกันในพื้นที่ที่แตกต่างกัน – เมเสโปเตเมีย, ลุ่มแม่น้ำสินธุ และลุ่มแม่น้ำฮวงโห ตลอดจนอียิปต์ ซึ่งเกิดขึ้นในช่วง 4,000 ปีก่อนคริสตกาล ในทางตอนใต้ของเมโสโปเตเมียนั้นชาวสุเมเรียนได้สร้างนครรัฐ Ur, Lagash, Eridu รวมถึงนครรัฐอื่นๆขึ้น ชาวสุเมเรียนคือกลุ่มคนผู้มีความรู้ที่ได้ทิ้งมรดกเป็นแผ่นจารึกดินเหนียวที่สลักอักษรลิ่มเอาไว้

ลักษณะสำคัญของวิถีการผลิตแบบเอเชียนั้นประกอบไปด้วย

1) สังคมเมืองที่มีรากฐานบนสังคมเกษตรกรรม

2) เศรษฐกิจส่วนใหญ่นั้นเป็นเศรษฐกิจแบบเกษตร

3) งานสาธารณะที่ทำกันบ่อยครั้ง (แต่ไม่ได้ทำตลอดเวลา) นั้นเป็นงานเกี่ยวกับการตอบสนองความต้องการระบบชลประทาน การบำรุงรักษา และการกระจายคลองส่งน้ำและระบบระบายน้ำ

4) มีระบบการปกครองแบบเผด็จการ ซึ่งบ่อยครั้งจะกระทำผ่านระบบพระเจ้า – กษัตริย์

5) มีระบบเจ้าขุนมูลนายขุนนางขนาดใหญ่

6) มีระบบการขูดรีดที่วางรากฐานอยู่บนระบบการจัดเก็บภาษี

7) มีกรรมสิทธิ์ในการใช้ที่ดินร่วมกัน (ผ่านรัฐ)

แม้ว่าในสังคมแบบนี้จะมีทาส (เชลยสงคราม) อยู่ แต่มันก็ยังไม่ใช่สังคมทาส เพราะการใช้แรงงานนั้นไม่ได้เป็นอิสระหากแต่ผู้ที่ดำเนินการนั้นก็ไม่ใช่ทาส มันมีรูปแบบของการบังคับใช้แรงงานหากแต่แสดงออกมาในรูปแบบของความเคยชิน ธรรมเนียมปฏิบัติ และศาสนา ชุมชนนั้นจะต้องรับใช้พระเจ้า – กษัตริย์ (หรือกษัตรียา) และรับใช้วิหาร (เช่นใน อิสราเอล) ซึ่งมันทำงานร่วมกับรัฐและเป็นส่วนหนึ่งของรัฐ

ต้นกำเนิดของรัฐนั้นเกิดขึ้นที่จุดนี้ด้วยการผสมผสานตัวเองเข้ากับศาสนา และกลิ่นอายทางศาสนาดังกล่าวนี้ก็ยังคงมีอยู่จนถึงปัจจุบัน ผู้คนถูกสอนให้หวาดกลัวและเคารพต่อรัฐ เสมือนว่ารัฐนั้นคือพลังที่อยู่เหนือสังคม เหนือมนุษย์สามัญ และเราจำต้องรับใช้สิ่งนี้โดยห้ามสงสัย

สังคมหมู่บ้านซึ่งเป็นหน่วยย่อยพื้นฐานที่เล็กที่สุดของสังคมยุคนั้นส่วนมากใช้ชีวิตอยู่อย่างสมถะ ประชากรที่ดำรงชีพเป็นชาวนานั้นจะสามารถเข้าถึงสินค้าฟุ่มเฟือยจำนวนเล็กน้อยได้บ้างผ่านตลาดหรือผ่านพวกนักเดินทางเร่ที่นำสินค้ามาขายโดยบวกกำไรเพิ่มเข้าไป เงินตรานั้นแทบจะไม่เป็นที่รู้จัก หมู่บ้านต่างๆนั้นยังไม่มีการเดินทางติดต่อเชื่อมโยงกัน และการค้าภายในรัฐนั้นอ่อนแออย่างมาก การติดต่อกันนั้นส่วนมากจะเกิดจากรัฐโดยตรง

สังคมนี้ค่อนข้างที่จะขาดการเคลื่อนไหวทางสังคม ซึ่งมันถูกสนับสนุนด้วยระบบวรรณะทางสังคม การให้คุณค่าและความสำคัญนั้นวางอยู่บนกลุ่มก้อนวรรณะทางสังคมมากกว่าปัจเจกบุคคล การสมรสกันภายในชนชั้นจึงเป็นสิ่งที่แพร่หลาย – นั้นคือผู้คนมีแนวโน้มที่จะแต่งงานกันเองภายในชนชั้นหรือวรรณะของตนเองอย่างเคร่งครัด หรือกล่าวในทางเศรษฐกิจแล้ว พวกเขามีแนวโน้มที่จะรับช่วงต่อการประกอบอาชีพของบิดาและมารดาของพวกเขา ตัวอย่างแบบดังกล่าวนี้จะเห็นได้อย่างชัดเจนในระบบชนชั้นวรรณะของฮินดู การขาดความสามารถในการจะเคลื่อนไหวทางสังคมและระบบสังคมที่แข็งทื่อนี้ช่วยผูกมัดผู้คนเอาไว้กับพื้นที่ของตัวเอง (สังคมหมู่บ้าน)

ตัวอย่างของระบบสังคมแบบดังกล่าวนี้ได้แก่ อารยธรรมชาวอียิปต์, ชาวบาบิโลน, ชาวแอสซีเรีย, ราชวงศ์ซาง (ซึ่งตามธรรมเนียมแล้วนับว่าดำรงอยู่ช่วง 1766 ถึง 1122 ปีก่อนคริสตกาล) ซึ่งถือเป็นราชวงศ์แรกในประวัติศาสตร์จีน, และอารยธรรมที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ (เมืองฮารัปปา) อันเป็นอารยธรรมที่กินเวลาตั้งแต่ 2300 ถึงเวลาประมาณ 1700 ปีก่อนคริสตกาลในอินเดีย ส่วนในการพัฒนาระบบสังคมที่ใกล้เคียงกันนี้ก็มี อารยธรรมก่อนฮิสปานิค ใน Mexico และ Peru แม้ว่าจะมีรูปแบบที่แตกต่างกันบ้าง แต่ก็อยู่ในระดับที่คล้ายคลึงกันอย่างยิ่ง

ระบบจัดเก็บภาษีและกรรมวิธีอื่นๆในการขูดรีดเช่นการบังคับใช้แรงงานโดยรัฐนั้นล้วนแล้วแต่เป็นการกดขี่หากแต่มันกลับได้รับการยอมรับเสมือนเป็นสิ่งที่ไม่อยากจะหลีกเลี่ยงได้ และเป็นกฎโดยธรรมชาติของสรรพสิ่งที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรมของศาสนาและธรรมเนียมปฏิบัติ งานน่าเบื่อหน่าย นี้เป็นการใช้ แรงงาน ที่ไม่เป็นอิสระ และบ่อยครั้งไม่มีการจ่ายค่าจ้างด้วย นี่เป็นระบบที่บีบบังคับเอากับประชาชน นอกจากนี้แล้วพวกเขายังถูกขูดรีดอีกต่อหนึ่งจากบรรดาขุนนางผู้ครองที่ดินเช่นเดียวกับในระบบศักดินา ส่วนในกรณีนี้คือรัฐ ระบบ งานน่าเบื่อหน่าย นี้เป็นสิ่งที่คล้ายคลึงกับระบบงานที่เราพบในสังคมศักดินาตะวันตก แต่ว่าระบบ

เส้นทางการทั้งทางบกและทางน้ำนั้นเป็นพื้นที่ที่ทำเมืองต่างๆเกิดขึ้น รวมทั้งในเขตใกล้โอเอซิสและแหล่งน้ำอื่นๆด้วย เมืองนั้นกลายเป็นศูนย์กลางการจัดการและธุรกิจของหมู่บ้านต่างๆ มันทำให้เกิดการรวมตัวของบรรดาผู้ทำการค้าและช่างฝีมือทั้ง ช่างเหล็ก, ช่างไม้, ช่างทอผ้า, ช่างย้อมผ้า, ช่างทำรองเท้า, ช่างก่อสร้าง ฯลฯ เอาไว้ รวมถึงมันยังมีระบบผู้แทนของหมู่บ้านที่จะกลายมาเป็นตัวแทนอำนาจรัฐอีกด้วย ผู้แทนของหมู่บ้านนั้นจะมาจากสมาชิกคนหนึ่งที่เป็นที่รู้จักของชาวบ้านในหมู่บ้านนั้นๆ หรือพวกเขาก็จะเข้าไปเป็นข้าราชการระดับล่าง, เสมียน, และตำรวจหรือทหาร

นอกจากนี้ในสังคมแบบดังกล่าวนั้นยังมีกลุ่มผู้ปล่อยเงินกู้ ที่จะเรียกเก็บดอกเบี้ยระดับขูดเลือดขูดเนื้อเอาจากบรรดาชาวนาซึ่งถูกขูดรีดจนสิ้นเนื้อประดาตัวด้วยการเรียกเก็บภาษีของรัฐ คนกลุ่มนี้นั้นมีพื้นฐานมาจากทั้งคนร่ำรวยในชุมชน และพวกพ่อค้า ซึ่งส่วนมากแล้วสามารถอยู่รอมาได้จนถึงปัจจุบันในหลายประเทศในพื้นที่เอเชียและตะวันออกกลาง อย่างไรก็ตามการเข้ามาของระบบอาณานิคมนั้นได้ทำลายระบบการผลิตแบบเอเชียลง กล่าวคือในทางหนึ่งนั้นมันเป็นการทำลายทางตันทางประวัติศาสตร์ที่ปิดกั้นความเป็นไปได้อื่นๆในการพัฒนาการและก้าวหน้าทางสังคมนั่นเอง

ในสังคมเหล่านี้นั้นเพดานทางความคิดของผู้คนถูกจำกัดเอาไว้อย่างคับแคบ สิ่งที่มีอิทธิพลมากที่สุดในชีวิตของผู้คนในสังคมนี้คือครอบครัวและตระกูล อันเนื่องมาจากครอบครัวและตระกูลนั้นจะเป็นผู้ดูแลและสอนสั่งพวกเขาทั้งประวัติศาสตร์ ศาสนา และธรรมเนียมวัฒนธรรมของสังคม นอกจากนี้พวกเขายังสอนเรื่องการเมืองและโลกอันกว้างใหญ่ที่พวกเขารู้จักมันเพียงเล็กน้อยหรือแทบจะไม่รู้จักมันเลย ตลอดชีวิตของพวกเขานั้นพวกเขาติดต่อกับรัฐผ่านทางผู้นำหมู่บ้านซึ่งทำหน้าที่เป็นผู้เรียกเก็บภาษีให้รัฐเพียงเท่านั้น

สิ่งที่สร้างผลกระทบอย่างรุนแรงให้กับอารยธรรมอันเก่าแก่เหล่านี้นั้นในทางหนึ่งคือการดำรงอยู่อย่างยาวนานของตัวมันเอง และอีกทางหนึ่งนั้นคือพัฒนาการอันเชื่องช้าของกำลังการผลิตและโลกทัศน์อันสุดแสนจะอนุรักษ์นิยมและล้าหลังของผู้คนในสังคม อันกลายเป็นเรื่องปกติธรรมชาติที่สังคมนี้จะหยุดนิ่งอยู่กับที่ การเปลี่ยนแปลงในสังคมที่เกิดขึ้นนั้นส่วนมากแล้วมักจะเป็นผลมาจากการถูกรุกราน ตัวอย่างเช่น การถูกรุกรานจากชนเผ่ามองโกล หรือการลุกฮือขึ้นต่อต้านรัฐของชาวนาที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์ในประเทศจีน

อย่างไรก็ตามการผลัดแผ่นดินเปลี่ยนราชวงศ์นั้นไม่ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอย่างจริงจัง ความสัมพันธ์ทางสังคมและรัฐที่เป็นยอดพีระมิดทางสังคมนั้นไม่เคยถูกแตะต้องหรือเปลี่ยนแปลงซึ่งนั่นทำให้ผลลัพธ์ของการเปลี่ยนแปลงออกมาเหมือนเดิม เมื่อการรุกรานสิ้นสุดลงระบบจะยังคงดำเนินต่อไปเช่นเดิม และจะมั่นคงยิ่งขึ้นกว่าเดิม

จักรวรรดิต่างๆนั้นกำเนิดขึ้นและดับลง ภายในกระบวนการอันต่อเนื่องของการผนวกรวมอาณาจักรและการแตกแยกออก หากแต่ตลอดช่วงเวลาของการเปลี่ยนแปลงทางการทหารและทางการเมืองนี้ มันไม่ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐานที่จะส่งผลต่อชีวิตความเป็นอยู่ของชนชั้นล่างในสังคมเลย ชีวิตความเป็นอยู่ของพวกเขานั้นดูเหมือนว่าจะต้องคงอยู่เช่นนี้ไปตราบนิจนิรันดร ความคิดแบบเอเชียที่ติดอยู่กับวัฏจักรที่ไม่มีที่สิ้นสุดทางศาสนานี้สะท้อนให้เห็นสภาพการณ์ของสังคม ในระดับรากฐานนั้นสังคมนี้ประกอบขึ้นด้วยหมู่บ้านเล็กๆซึ่งดำรงชีพด้วยการทำการเกษตรซึ่งดำรงอยู่มาโดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆเป็นระยะเวลาเกือบพันปี และการดำรงชีพแบบสังคมเกษตรกรรมนี้ทำให้จังหวะชีวิตของพวกเขานั้นถูกกำหนดโดยการเปลี่ยนแปลงของสภาพอากาศและฤดูกาลต่างๆ

ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้ได้เกิดการถกเถียงกันอย่างกว้างขวางในแวดวงปัญญาชนและแวดวงนักมาร์กซิสต์ว่าด้วยวิถีการผลิตแบบเอเชีย และแม้ว่ามาร์กซ์จะเคยกล่าวถึงระบบการผลิตแบบดังกล่าว หากทว่าเขาก็ไม่ได้พัฒนาชุดคำอธิบายมันต่อ ซึ่งมาร์กซ์คงจะอธิบายมันแน่ถ้าหากเขาพิจารณาว่ามันเป็นสิ่งสำคัญ หากทว่าเขาไม่ได้ทำมันก็เพราะมาร์กซ์เองก็มองว่ามันมีเพียงแต่ทางตันในวิถีการผลิตแบบเอเชีย เมื่อเปรียบเทียบกับสังคมอื่นๆในพัฒนาการของมนุษย์ เพราะรูปแบบของสังคมแบบเอเชียนั้นไม่ได้บรรจุเมล็ดพันธุ์แห่งการพัฒนาสังคมเอาไว้ในตัวมันเอง หากแต่เมล็ดพันธุ์นั้นกลับถูกบรรจุเอาไว้ในสังคมอื่นนั่นคือ สังคมกรีกและโรมัน

สังคมทาส (Slavery)

สังคมกรีกนั้นได้ก่อรูปร่างขึ้นภายใต้เงื่อนไขและปัจจัยที่หลากหลายเหมือนเช่นอารยธรรมยุคแรกอื่นๆ หากแต่นครรัฐขนาดเล็กของกรีกนั้นไม่มีพื้นที่กว้างสำหรับทำการเพาะปลูกเหมือนอย่างที่ราบลุ่มแม่น้ำไนล์ ที่ราบลุ่มแม่น้ำสินธุ และที่ราบลุ่มแม่น้ำไทกริส-ยูเฟรติส หากแต่มันตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เต็มไปด้วยแนวเขตเทือกเขาอยู่เบื้องหลัง และหันหน้าออกทะเล ปัจจัยดังกล่าวนี้ในเชิงภูมิศาสตร์แล้วทำให้นครรัฐกรีกไม่เหมาะอย่างยิ่งทั้งการทำอุตสาหกรรมและการเกษตร นั่นทำให้พวกเขาต้องมุ่งออกสู่ทะเล และกลายเป็นชาติที่วางรากฐานอยู่บนระบบของการค้าขายเช่นเดียวกับที่ชาวพินิเชียนเคยทำมาก่อน

อารยธรรมกรีกโบราณนั้นรูปแบบโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่แตกต่างซึ่งทำให้เกิดผลลัพธ์ทางโลกทัศน์และจิตวิญญาณที่แตกต่างจากอารยธรรมเมโสโปเตเมียและสังคมอียิปต์โบราณ เฮเกลกล่าวว่าในสังคมโบราณของตะวันออกนั้น จิตวิญญาณและเสรีภาพนั้นผูกขาดไว้กับคนเพียงคนเดียว (กล่าวคือ มันมีไว้สำหรับผู้ปกครอง, พระเจ้า หรือ กษัตริย์) แต่ในกรีกนั้นพวกเขาเปิดเสรีภาพให้กับกลุ่มคนจำนวนมาก หรือกล่าวก็คือ ประชาชนชาวเอเธนส์ทุกคนที่ไม่ได้เกิดมาเป็นทาสนั้นต่างก็ได้รับเสรีภาพ พลเมืองทุกคนในเอเธนส์นั้นล้วนแล้วแต่มีสิทธิและเสรีภาพยกเว้นแต่เพียงผู้หญิง ชาวต่างชาติ และพวกทาสที่ทำงานหนักที่สุดในสังคมแต่ไม่ได้รับสิทธิเสียงใดๆ

และด้วยการที่มีพลเมืองเสรีนี้ทำให้เอเธนส์กลายเป็นนครรัฐที่ก้าวหน้าอย่างมากในระบอบประชาธิปไตย จิตวิญญาณใหม่ที่ประกอบความคิดเรื่องมนุษยธรรม และความเป็นปัจเจกบุคคลนี้ได้ส่งผลอย่างยิ่งต่องานศิลปะ ศาสนา และปรัชญาของกรีก ซึ่งแตกตางกันโดยสิ้นเชิงกับสังคมอียิปต์และเมโสโปเตเมีย และเมื่อนครเอเธนส์ได้กลายเป็นที่รักและผู้นำของนครรัฐกรีกอื่นๆนั้น เอเธนส์ไม่ได้มีทั้งความมั่งคั่งในท้องพระคลังหรือระบบจัดเก็บภาษีที่มีคุณภาพเป็นทางการเลย ซึ่งมันแตกต่างโดยสิ้นเชิงกับระบบการผลิตแบบเอเชียในเปอร์เซียหรือในสังคมยุคโบราณอื่นๆ หากแต่การสร้างสรรค์ทั้งลายและความก้าวหน้าของเอเธนส์นั้นเกิดขึ้นได้ก็ด้วยจากกำลังแรงงานของกลุ่มทาสผู้ซึ่งกลายไปเป็นสมบัติชนิดหนึ่ง

การแยกหมวดหมู่หรือกลุ่มชนในสังคมกรีกนั้นแบ่งแยกออกได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ๆคือกลุ่มอิสระชน และกลุ่มผู้เป็นทาส อิสระชนในสังคมกรีกนั้นมีหน้าที่จะต้องจ่ายภาษี หากแต่ถ้าเขาไม่จ่ายภาษีแล้วสังคมก็จะมองว่าพวกเขาเป็นกลุ่มคนที่น่ารังเกียจ อย่างไรก็ตามในสังคมกรีกนั้นยังคงมีความขัดแย้งทางชนชั้นที่รุนแรงอยู่ อันเกิดจากการวางรูปแบบชนชั้นทางสังคมที่ยืนพื้นบนเรื่องของทรัพย์สิน ที่ทำให้เกิดชนชั้นทาสผู้เป็นเสมือนทรัพย์สินชนิดหนึ่งซึ่งสามารถถูกซื้อขายได้ในฐานะปัจจัยการผลิต ในสังคมโรมันนั้นพวกเขาเรียกขานกลุ่มทาสว่าinstrumentum vocale ที่แปลว่า เครื่องมือซึ่งสามารถพูดได้ ซึ่งช่วยให้เราเห็นภาพอย่างกระจ่างแจ้ง และแม้ว่าโลกจะผ่านการเปลี่ยนแปลงในรูปแบบต่างๆมากว่า 2,000 ปีแล้วแต่ความเป็นจริงก็คือแรงงานรับจ้างในปัจจุบันยังคงมีสถานะเช่นเดิมนั่นคือเป็นเพียงเครื่องมือที่ส่งเสียงพูดได้

คำกล่าวนี้อาจจะถูกคัดค้าน สังคมกรีกและโรมันนั้นวางรากฐานอยู่บนระบบสังคมทาสอันเป็นระบบที่น่ารังเกียจและมีสถาบันทางสังคมที่ไร้มนุษยธรรม หากทว่านักมาร์กซิสต์เรานั้นจะไม่มองประวัติศาสตร์ผ่านกรอบแบบคุณธรรม เพราะในแต่ละสังคมนั้นมันก็ล้วนแล้วแต่มีระบบศีลธรรมคุณธรรม ศาสนา วัฒนธรรมของตัวเองซึ่งจะตอบสนองต่อระดับพัฒนาการของแต่ละสังคมนั้นๆ ในท้ายที่สุดนี้กระทั่งสังคมปัจจุบันที่เราเรียกว่าสังคมศิวิไลซ์ก็ยังคงมีระบบศีลธรรมที่ตอบสนองต่อผลประโยชน์ของบางชนชั้นเท่านั้น

และไม่ว่าสงครามที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์นั้นจะเป็นเรื่องดี หรือเรื่องเลว เราก็ไม่อาจจะตรวจสอบหรือตัดสินมันได้จากมุมมองด้านการนับจำนวนของเหยื่อที่เกิดขึ้นจากสงคราม รวมถึงไม่อาจจะตัดสินมันผ่านมุมมองแบบศีลธรรมคุณธรรมด้วย แน่นอนว่าเราต้องยืนยันอย่างหนักแน่นถึงการต่อต้านสงคราม หากทว่าสิ่งหนึ่งที่เราไม่อาจจะปฏิเสธได้นั่นคือ ตลอดวิถีทางในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาตินั้น คำถามสำคัญทางประวัติศาสตร์จะจบลงด้วยโอกาสของความเป็นไปได้ในสองรูปแบบนั่นคือความขัดแย้งระหว่างชาติ (สงคราม) และความขัดแย้งระหว่างชนชั้น (การปฏิวัติ)

ทัศนคติของเราในการพิจารณาประวัติศาสตร์ของวัฒนธรรมและสภาพสังคมในแต่ละสังคมนั้นไม่อาจจะปะปนไปด้วยมุมมองแบบศีลธรรมคุณธรรมได้ สิ่งที่เป็นตัวกำหนดรูปแบบทางเศรษฐกิจและสังคมของแต่ละสังคมนั้นคือความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์หรือสิ่งที่สำคัญที่สุดก็คือความสามารถของสังคมนั้นๆในการจะพัฒนากำลังการผลิตของสังคม อันเป็นปัจจัยพื้นฐานทางวัตถุที่เป็นรากฐานสำหรับการกำเนิดและพัฒนาวัฒนธรรมของมนุษย์

เฮเกลผู้เป็นนักคิดที่ยิ่งใหญ่ได้เขียนเอาไว้ว่า “มนุษย์นั้นไม่ได้เป็นอิสระจาก ความเป็นทาส มากเท่าไหร่เลย” (Lectures on the Philosophy of History, p. 407) และถึงแม้ว่าสังคมทาสนั้นจะมีรูปแบบของการกดขี่อย่างร้ายแรงก็ตาม แต่ระบบสังคมทาสก็ได้ทำให้เกิดการเปิดโอกาสสำหรับความเป็นไปได้ในการพัฒนากำลังการผลิตเพิ่มเติมของสังคม ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์อละองค์ความรู้ต่างๆของเราในปัจจุบันนี้นั้นต่างก็เป็นสิ่งที่เราได้รับตกทอดมาจากสังคมกรีกและโรมัน เราต่างติดหนี้พวกเขาหรือกล่าวให้ถึงที่สุดเราเป็นหนี้กำลังแรงงานของเหล่าทาสในยุคนั้น

จักรวรรดิโรมันนั้นใช้กำลังและอำนาจทางการทหารในการบุกเข้ายึดเมืองต่างๆ เปลี่ยนผู้คนในเมืองให้กลายเป็นทาสจนหมด นำพวกเขามาประหัตประหารกันในสนามประลองประหนึ่งการแสดงมหรสพเพื่อความบันเทิง รวมถึงสร้างวิธีการประหารด้วยการตรึงกางเขน แน่นอนว่าทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เป็นความจริงที่ว่าเมื่อเรามองย้อนกลับไปแล้วเราย่อมรู้สึกว่าเรื่องเหล่านี้คือความผิดปกติและความวิปลาส หากทว่าเมื่อเราพิจารณาถึงอารยธรรมสมัยใหม่ทั้งหมดของเรา ทั้งวัฒนธรรม วรรณกรรม สถาปัตยกรรม เวชศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ปรัชญา หรือกระทั่งภาษาในหลายภาษาของเราในปัจจุบันนั้นต่างก็มีที่มาจากอารยธรรมกรีกและโรมัน.

การเสื่อมถอยของสังคมทาส (Decline of slave society)

สังคมทาสนั้นได้บรรจุเงื่อนไขของความขัดแย้งภายในที่ทำให้มันเดินหน้าไปสู่การล่มสลายเอาไว้ แม้ว่ากำลังแรงงานของทาสหนึ่งคนนั้นจะไม่ได้สร้างการผลิตในระดับที่สูงและมีประสิทธิภาพมาก (แรงงานทาสนั้นจำเป็นต้องถูกบังคับเพื่อให้ทำการผลิต) หากแต่การนำทาสจำนวนมากมาใช้แรงงานในเหมืองหรือใน latifundia (ชื่อเรียกพื้นที่สำหรับทำการเกษตรขนาดใหญ่ของโรมัน) นั้นก็สามารถจะสร้างผลผลิตส่วนเกินได้อยู่ ในช่วงที่อารยธรรมโรมันรุ่งเรืองที่สุดนั้นทาสมีจำนวนมากและถูกซื้อขายในราคาถูก การทำสงครามของอารยธรรมโนมันนั้นในทางหนึ่งก็คือการออกล่าแรงงานทาสในระดับกว้างนั่นเอง

หากแต่เมื่อถึงจุดหนึ่งแล้วระบบทาสของโรมันก็มาถึงเพดานและขีดจำกัดของตัวมันเองและก้าวเข้าสู่ห้วงเวลาอันยาวนานของการเสื่อมถอย อันเนื่องมาจากการใช้แรงงานทาสนั้นจะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อการทำการผลิตในระดับใหญ่ที่ใช้แรงงานจำนวนมาก เงื่อนไขสำคัญที่จะทำให้การผลิตในรูปแบบนี้สำเร็จได้ก็คือการมีทาสในจำนวนมหาศาลเพื่อนำมาใช้แรงงาน หากทว่าบรรดาทาสเองนั้นประสบปัญหาการมีบุตร และการขยายตัวของประชากรทาสนั้นเป็นไปอย่างเชื่องช้า และนั่นทำให้วิธีการเดียวที่จะทำให้มีทาสจำนวนมากพอสำหรับการผลิตนั้นก็คือการล่าทาสผ่านสงคราม ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วก็จะทำให้จักรวรรดิพบกับปัญหาและทางตันในการขยายอาณาเขตของมัน ซึ่งทำให้ระบบการผลิตภายในพบกับอุปสรรคขนาดใหญ่

การเริ่มต้นของวิกฤตในโรมันนั้นสามารถสังเกตเห็นได้ในช่วงหลังของระบอบสาธารณรัฐโรมัน อันเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยการต่อสู้ทางชนชั้นและความวุ่นวายอันรุนแรงทางการเมืองและสังคม ซึ่งในช่วงเริ่มต้นนั้นมันเกิดจากความขัดแย้งระหว่างกลุ่มคนรวยและคนจนในโรม ซึ่งรายละเอียดจำนวนมากถูกบันทึกเอาไว่ในข้อเขียนของลิวี่ (Livy) ว่าด้วยการต่อสู้กันระหว่างกลุ่มพลีเบียน (ชนชั้นล่าง) กับพวกแพทรีเชียน (ขุนนางชนชั้นสูง) ซึ่งจบลงด้วยการประนีประนอมรอมชอมกันอย่างไม่เต็มใจนัก และในห้วงเวลาต่อมาเมื่อโรมได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำที่ทรงอำนาจสูงสุดในแถบเมดิเตอร์เรเนียนด้วยการเอาชนะอาณาจักรคาร์เธจที่เป็นคู่อริลง นี่เองที่ทำให้เรามองเห็นการต่อสู้ที่รุนแรงมากขึ้นภายในโรม

Tiberius Gracchus นั้นได้เรียกร้องให้มีการนำความมั่งคั่งและทรัพย์สินของโรมมาแบ่งสันปันส่วนให้กับพลเมืองอิสระ เป้าหมายของเขานั้นมุ่งหวังที่จะสร้างโรมและคาบสมุทรอิตาลีให้เป็นสาธารณรัฐที่ประกอบไปด้วยชาวนาและพลเมืองที่ปราศจากทาส แน่นอนว่าในท้ายที่สุดแล้วเขาก็พ่ายแพ้ทางการเมืองให้แก่ชนชั้นสูงและพวกนายทาส ซึ่งนี่ถือเป็นการทำลายโรมในระยะยาว การทำลายชาวนา – ผู้เป็นเหมือนกระดูกสันหลังของโรมันและกองทัพโรมัน – ซึ่งทำให้เกิด ชนชั้นกรรมาชีพสามานย์ ขึ้นมาในโรมัน กลายเป็นชนชั้นของผู้ที่ไม่ทำการผลิต และใช้ชีวิตอยู่ด้วยการอาศัยเงินอุดหนุนจากรัฐ และถึงแม้ว่าพวกคนรวยจะไม่พอใจนัก แต่พวกเขาก็ยังคงมีส่วนร่วมในการขูดรีดและหาประโยชน์จากแรงงานทาส – ชนชั้นเดียวที่ทำการผลิตเพื่อหล่อเลี้ยงโรมทั้งในห้วงเวลาของสาธารณรัฐและจักรวรรดิ

การลุกฮือครั้งใหญ่ของบรรดาทาสภายใต้การนำของสปาตาร์คัส (Spartacus) นั้นถือเป็นเหตุการณ์รุนแรงอันรุ่งโรจน์ของประวัติศาสตร์ยุคโบราณ มันเป็นปรากฏการณ์ที่มวลชนจำนวนมากซึ่งถูกเอารัดเอาเปรียบนั้นลุกขึ้นต่อสู้ด้วยการจับอาวุธและต่อสู้เอาชนะกองทัพที่เกรียงไกรที่สุดในโลกยุคโบราณครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งหากการลุกฮือครั้งนี้ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มรัฐโรมันลงได้แล้วล่ะก็ ประวัติศาสตร์ของเราคงจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างมีนัยสำคัญแน่นอน

สาเหตุพื้นฐานที่ทำให้การลุกฮือของสปาตาร์คัสล้มเหลวนั้นก็เพราะการเคลื่อนไหวของขบวนการทาสไม่ได้มีการเชื่อมโยงตัวเองเข้ากับกลุ่มชนชั้นกรรมาชีพในเมือง ซึ่งท้ายที่สุดแล้วทำให้ชนชั้นกรรมาชีพในเมืองนั้นเลือกที่จะสนับสนุนรัฐ และนั่นทำให้เหล่าทาสไม่อาจจะได้รับชัยชนะได้ อย่างไรก็ตามชนชั้นกรรมาชีพโรมันในยุคนั้นก็แตกต่างจากชนชั้นกรรมาชีพในปัจจุบันอยู่เพราะพวกเขาไม่ใช่ชนชั้นที่ทำการผลิต หากแต่เป็นเสมือนกาฝากของสังคมในรูปแบบหนึ่ง พวกเขาอาศัยการใช้แรงงานทาสที่เข้ามาทำการผลิตแทนตนเอง และใช้ชีวิตสุขสบายโดยผูกตัวเองเข้ากับบรรดาเจ้านาย นี่เป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้การปฏิวัติโรมันนั้นไม่อาจจะประสบความสำเร็จได้

ความพ่ายแพ้ของขบวนการทาสนั้นส่งผลอย่างรุนแรงต่อการล่มสลายของอารยธรรมโรมันในเวลาต่อมา และเนื่องมาจากการขาดกลุ่มประชากรที่เป็นพวกไพร่อิสระทำให้รัฐจำเป็นจะต้องหันไปเกณฑ์กลุ่มทหารรับจ้างมาเพื่อใช้ในการสงคราม การหยุดชะงักของการต่อสู้ทางชนชั้นในสังคมโรมันนั้นได้สร้างสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกับระบบผู้นิยมโบนาปาร์ต (Bonapartism) ในสมัยใหม่ขึ้นมาหากทว่าในยุคโรมันนั้นเป็นระบบผู้นิยมซีซาร์ (Caesarism)

กองทหารของโรมันนั้นไม่ได้ภักดีต่อระบบสาธารณรัฐอีกต่อไป หากแต่พวกเขาทุ่มเทความภักดีของตนให้กับผู้บัญชาการของเขา – ผู้ที่จะการันตีค่าจ้าง ค่าตอบแทน และที่ดินให้แก่พวกเขาเมื่อยามที่พวกเขาปลดเกษียณ ห้วงเวลาสุดท้ายของระบบสาธารณรัฐนั้นมีลักษณะที่ถูกกำหนดขึ้นจากการต่อสู้ทางชนชั้นซึ่งทั้งสองฝั่งนั้นไม่สามารถจะเอาชนะกันได้อย่างเด็ดขาด ซึ่งมันส่งให้ท้ายที่สุดแล้วรัฐ (ซึ่งเลนินอธิบายว่ามันเป็น “อาวุธของมนุษย์”) ก็เริ่มที่จะมีความเป็นอิสระมากขึ้นกล่าวคือมันได้ยกตัวเองขึ้นเหนือสังคมและกลายไปเป็นผู้มีอำนาจตัดสินความขัดแย้งที่ต่อเนื่องอยู่ในโรมัน

ในห้วงเวลาดังกล่าวนั้นมันได้ปรากฏนักแสวงโชคทางการเมืองและนักการทหารชื่อดังหลายคน เช่น Marius, Crassus, Pompey, และท้ายที่สุดคือ Julius Caesar ผู้เป็นทั้งแม่ทัพผู้เก่งฉกาจ นักการเมืองที่ฉลาดเฉลียว และนักธุรกิจผู้หลักแหลม ผู้มอบจุดจบให้กับระบอบสาธารณรัฐในขณะที่ปากของเขายังคงพูดสรรเสริญมันอยู่ เกียรติยศและชื่อเสียงของเขานั้นโด่งดังขึ้นมาจากชัยชนะในการรบขยายดินแดนในเขตฝรั่งเศส สเปน และเกาะบริเตน  และนั่นทำให้ซีซาร์เริ่มต้นที่จะพยายามรวมอำนาจทั้งหมดเอาไว้ในมือของตัวเอง และแม้ว่าในท้ายที่สุดแล้วตัวเขาจะถูกลอบสังหารโดยกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่ต้องการสนับสนุนระบอบสาธารณรัฐตามเดิม หากทว่ามันก็ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรเพราะระบบสาธารณรัฐโรมันก็ล่มสลายลงอยู่ดี

ภายหลังจากนายพลบรูทัส (Brutus) และคนอี่นๆพ่ายแพ้ให้กับกลุ่มสามกงสุลแล้ว ผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐก็เริ่มที่จะยอมรับต่อระบอบใหม่ภายใต้ข้ออ้างความจำเป็นทางการเมืองของจักรพรรดิองค์แรกของจักรวรรดิโรมันนาม ออกัสตัส (Augustus) อย่างไรก็ตามคำว่า “จักรพรรดิ” (Emperor หรือ imperatorในภาษาละติน) นั้นถือเป็นคำศัพท์ในทางการทหารและการปกครองที่มีความหมายสื่อไปถึงคำว่ากษัตริย์อันเป็นคำแสลงหูต่อกลุ่มผู้นิยมระบอบสาธารณรัฐ ดังนั้นจึงมีการเปลี่ยนมาใช้คำว่า “ซีซาร์” (caesar) แทน อย่างไรก็ตามอำนาจของซีซาร์นั้นก็ยังคงเป็นอำนาจในรูปแบบของกษัตริย์หรือจักรพรรดิอยู่ดี

รูปแบบระบอบสาธารณรัฐเก่านั้นยังคงดำรงอยู่ต่อมาเป็นเวลานานหลังจากการเปลี่ยนแปลงดังกล่าว หากทว่ามันก็ดำรงอยู่เพียงในนามเท่านั้น – มันกลายเป็นเสมือนผีที่มีแต่ชื่อหากแต่ไร้ตัวตน เป็นเสมือนกองแกลบแห้งที่สามารถจะสูญสลายไปพร้อมกับสายลมพัด สภาเซเนตของสาธารณรัฐนั้นปราศจากอำนาจและสิทธิอำนาจที่แท้จริง จูเลียส ซีซาร์เองครั้งหนึ่งก็ได้กระทำการข่มขู่และฉีกหน้าสภาเซเนตโดยการแต่งตั้งให้ชาวกอล (Gaul) ที่ถูกนับว่าเป็นคนเถื่อนให้มีตำแหน่งเป็นสมาชิกสภาเซเนต หรือถัดมาคือกรณีของคาลิกูล่า (Caligula) ซึ่งได้กระทำยิ่งกว่าจูเลียส ซีซาร์โดยการแต่งตั้งม้าศึกของเขาเป็นสมาชิกสภาเซเนต ไม่มีใครสักคนที่คิดว่านี่เป็นเรื่องผิด หรือหากว่าพวกเขาคิดว่านี่เป็นเรื่องผิดและต่อต้าน พวกเขาก็จำเป็นจะต้องสงบปากคำของเขาให้มิดชิดที่สุด

เรื่องเช่นนี้เกิดขึ้นบ่อยครั้งในประวัติศาสตร์ที่สถาบันทางการเมืองหรือสังคมบางสถาบันนั้นยังคงดำรงอยู่ต่อมาเป็นช่วงเวลานานแม้ว่ามันจะไม่มีเหตุผลหรือความจำเป็นในการดำรงอยู่แล้ว สถาบันเหล่านี้นั้นจะพยายามดำรงอยู่อย่างอเนจอนาถเสมือนคนชราที่อ่อนเปลี้ยซึ่งพยายามยื้อชีวิตของตัวเองต่อไป จนกว่ามันจะถูกโค่นล้มลงด้วยการปฏิวัติ การเสื่อมถอยของจักรวรรดิโรมันเองนั้นก็กินเวลายาวนานกว่าสี่ร้อยปี แน่นอนว่ามันไม่ใช่กระบวนการที่ต่อเนื่องตลอดสี่ร้อยปี ในระหว่างนั้นก็มีช่วงเวลาที่จักรวรรดิกลับมารุ่งเรืองอยู่บ้างหากทว่าในภาพรวมทั้งหมดแล้วมันยังคงเป็นเส้นตรงที่มุ่งไปสู่การตกต่ำลง

ในห้วงเวลาแบบดังกล่าวนั้นเป็นเรื่องปกติมากที่มันจะมีการแพร่ขยายของความสงสัยและความไม่ไว้วางใจซึ่งกลายเป็นอารมณ์ความรู้สึกร่วมสำคัญของสังคม การขาดความเชื่อมั่น ความศรัทธา และการมองอนาคตในแง่ร้าย ธรรมเนียมปฏิบัติ, ศาสนา, และศีลธรรมแบบดั้งเดิมของสังคม – ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการผนวกสังคมเข้าไว้ด้วยกันนั้น – กำลังสูญเสียการได้รับความเชื่อมั่น ในมิติของศาสนานั้นเมื่อผู้คนเสื่อมศรัทธาแล้วพวกเขาย่อมจะมองหาพระเจ้าองค์ใหม่ และในห้วงเวลาของการเสื่อมถอยนี้จักรวรรดิโรมันก็ต้องเผชิญกับการแพร่ขยายของความเชื่อทางศาสนาจากทางตะวันออก นั่นคือศาสนาคริสต์ อันเป็นศาสนาที่ประสบความสำเร็จสูงสุด และการมาเป็นศัตรูสำคัญต่อศาสนาดั้งเดิมของโรมันที่นับถือเทพเจ้า

เมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้คนรู้สึกว่าโลกที่พวกเขากำลังอาศัยอยู่นั้นกำลังจะล่มสลาย เมื่อพวกเขารู้สึกว่ากำลังสูญเสียการควบคุมเหนือการดำรงอยู่และชีวิตของพวกเขาและรู้สึกว่าโชคชะตาของพวกเขานั้นกำลังถูกควบคุมด้วยกำลังอำนาจบางอย่างที่มองไม่เห็นแล้ว บรรดาความเชื่อที่ไร้เหตุผลและสิ่งลี้ลับย่อมจะขึ้นมามีอำนาจนำ ผู้คนนั้นเชื่อว่าโลกกำลังเข้าใกล้จุดสิ้นสุด ชาวคริสต์ยุคแรกเองก็เชื่อในเรื่องนี้อย่างหนัก หากทว่าในความเป็นจริงแล้วสิ่งที่กำลังจะสิ้นสุดนั้นเป็นเพียงระบอบหรือรูปแบบทางสังคมเท่านั้น – นั่นคือระบบสังคมทาส ความสำเร็จของศาสนาคริสต์นั้นเกิดขึ้นจากรากฐานเหล่านี้ด้วยการเชื่อมโยงเข้ากับอารมณ์ความรู้สึกร่วมในสังคม ว่าโลกนั้นเต็มไปด้วยสิ่งชั่วร้ายและความโสมม ดังนั้นสิ่งที่เราควรทำคือการหันหลังให้กับโลกเสียแล้วหันไปคาดหวังเอากับชีวิตหลังความตาย.

ชัยชนะของอนารยชน (Why the barbarians triumphed)

ในจังหวะที่อนารยชนเริ่มเข้ารุกรานนั้น โครงสร้างทั้งหมดของจักรวรรดิโรมันเองก็อยู่ในสภาพที่จวนเจียนจะล่มสลายอยู่รอมร่อแล้ว ไม่เฉพาะแต่โครงสร้างทางเศรษฐกิจเท่านั้นแต่ยังรวมไปถึงระบบคุณธรรมและจิตวิญญาณด้วย มันจึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่การรุกรานของเหล่าอนารยชนนั้นจะได้รับการต้อนรับเสมือนว่าเขาเป็นผู้ปลดปล่อยจากเหล่าทาสและชนชั้นล่างในจักรวรรดิโรมัน การโจมตีของอนารยชนนั้นเป็นการสานต่อสิ่งที่ถูกเตรียมเอาไว้แล้วให้สำเร็จ การโจมตีรุกรานนี้เป็นอุบัติเหตุทางประวัติศาสตร์ที่ทำหน้าที่แสดงให้เห็นถึงความจำเป็นทางประวัติศาสตร์ที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้

เมื่อจักรวรรดิโรมันเดินทางมาถึงขีดจำกัดของมันและความขัดแย้งโดยธรรมชาติของสังคมทาสได้แสดงตัวตนของมันออกมาอย่างชัดเจนนั้น โรมันก็ได้เดินหน้าเข้าสู่ช่วงเวลายาวนานของการเสื่อมถอย ซึ่งกินเวลาหลายร้อยปี จนกระทั่งมันถูกโค่นล้มลงทั้งระบบโดยพวกคนเถื่อน การบุกรุกของคนเถื่อนที่ตามมาด้วยการย้ายถิ่นฐานของมวลชนจำนวนมหาศาลที่ทำให้จักรวรรดิโรมันล่มสลายนั้นเป็นปรากฏการณ์เกิดขึ้นจากหลายสาเหตุ – เช่น การเดินทางค้นหาดินแดนที่เหมาะสมสำหรับการเพาะปลูกและการเลี้ยงสัตว์เพื่อรองรับการขยายตัวของประชากร หรือกระทั่งความเปลี่ยนแปลงจากสภาพภูมิอากาศ ฯลฯ.

ชนเผ่าของกลุ่มคนเถื่อนที่เข้ารุกรานโรมมีลำดับตามนี้ Goths, Visigoths, Ostrogoths, Alans, Lombards, Suevi, Alemanni, Burgundians, Franks, Thuringians, Frisians, Heruli, Gepidae, Angles, Saxons, Jutes, Huns และ Magyars ซึ่งได้เคลื่อนย้ายและมุ่งหน้าเข้าสู่ยุโรป ซึ่วทำให้จักวรรดิที่เกรียงไกรที่สุดแห่งหนึ่งของโลกกลายเป็นเพียงเถ้าถ่าน จักรวรรดิโรมันนั้นแทบจะล่มสลายลงทันทีที่เผชิญหน้ากับการบุกทะลวงของคนเถื่อน

การผุพังของระบบเศรษฐกิจทาส ลักษณะการกดขี่ปราบปรามอันโหดร้ายโดยธรรมชาติของจักรวรรดิพร้อมกับการขยายตัวของพวกข้าราชการและการขูดรีดภาษีเอาจากชาวนานั้นเป็นปัจจัยที่บ่อนทำลายระบบของจักรวรรดิทั้งหมด ซึ่งในขณะนั้นมันเกิดความเปลี่ยนแปลงในชนบทที่มีการวางปัจจัยพื้นฐานสำหรับการพัฒนากำลังการผลิตในขั้นต่อไปขึ้นมาแล้วนั่นคือการวางรากฐานสำหรับระบบศักดินา พวกคนเถื่อนนั้นเพียงแค่ทำการ ทำลายครั้งใหญ่ (coup de grâce) ต่อระบบที่เน่าเปื่อยและผุพังอยู่แล้วเท่านั้น โครงสร้างทางสังคมทั้งหมดของจักรวรรดิโรมันนั้นผุพังจวนเจียนจะล่มสลายและคนเถื่อนนั้นเพียงแค่เข้ามาออกแรงผลักเบาๆเพียงครั้งเดียวที่ทำให้จักรวรรดิพังทลายลง

ในงานเรื่อง Communist Manifesto นั้นมาร์กซ์และเองเกลส์ได้เขียนไว้ว่า “ความขัดแย้งระหว่าง อิสระชน กับ ทาส, พลีเบียน กับ แพทรีเชียน, เจ้าที่ดิน กับ ไพร่ติดที่ดิน, เจ้าของสมาคม กับ นักเดินทาง, หรือกล่าวสรุปก็คือความขัดแย้งระหว่างชนชั้นผู้กดขี่ กับ ชนชั้นผู้ถูกกดขี่ ดำรงอยู่ในตำแหน่งแห่งที่ที่ตรงกันข้ามและเป็นปฏิปักษ์ต่อกันเสมอ ซึ่งแบกเอาการต่อสู้ที่ไม่หยุดยั้งเอาไว้ แม้บางครั้งจะหลบซ่อน หรือบางครั้งอาจจะต่อสู้กันอย่างเปิดเผย แต่ไม่ว่าอย่างไรก็ตามการต่อสู้นั้นในท้ายที่สุดจะจบลงด้วยการปฏิวัติอันจะก่อให้เกิดการจัดวางโครงสร้างทางสังคมขึ้นใหม่ในระดับกว้าง หรือหาไม่แล้วมันก็จะจบลงด้วย การล่มสลายลงของชนชั้นที่พ่ายแพ้

สิ่งที่เกิดขึ้นกับจักรวรรดิโรมันนั้นคือการแสดงให้เห็นองค์ประกอบที่เป็นตัวแปรสำคัญ ความล้มเหลวของชนชั้นผู้ถูกกดขี่ในโรมันที่ล้มเหลวในการจะรวมตัวกันเพื่อโค่นล้มระบอบการกดขี่ขูดรีดทาสในจักรวรรดิโรมันอันทำให้เกิดความเสื่อมสภาพภายในและกลายเป็นห้วงเวลาอันเลวร้ายและยาวนานที่ทำให้เกิดความเสื่อมถอยทางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม อันเป็นการเปิดทางให้แก่การรุกรานของคนเถื่อน

สิ่งที่เกิดขึ้นแทบจะทันทีหลังชัยชนะในการรุกรานของอนารยชนคือการล่มสลายของอารยธรรมและการฉุดลากสังคมมนุษย์ให้ย้อนกลับไปสู่ความล้าหลังและป่าเถื่อนกว่าพันปี กำลังการผลิตนั้นถูกทำลายลงและเกิดสภาวะหยุดชะงักการพัฒนากำลังการผลิตอย่างรุนแรง เมืองต่างๆถูกเผาทำลายหรือไม่ก็ถูกทิ้งร้าง อันเนื่องมาจากผู้รุกรานนั้นเป็นเพียงชาวนาชาวไร่ที่ไม่รู้จักสิ่งที่เรียกว่าเมืองหรือนคร บรรดาคนเถื่อนโดยทั่วไปนั้นมีลักษณะที่ต่อต้านเมืองหรือนครรวมถึงคนที่อาศัยอยู่ภายในเมือง (รูปแบบความคิดและจิตวิทยาแบบดังกล่าวนั้นเป็นลักษณะร่วมของเกษตรกรเกือบทุกยุคทุกสมัย) กระบวนการทำลายล้าง การข่มขืน การปล้นชิงนั้นยังคงดำเนินต่อไปอีกร่วมร้อยปี และทิ้งไว้เพียงมรดแห่งความเลวร้ายและล้าหลังที่เราเรียกขานกันว่า ยุคมืด

และถึงแม้ว่าพวกคนเถื่อนจะสามารถมีชัยชนะเหนือจักวรรดิโรมันอย่างเด็ดขาด หากทว่าในเวลาไม่นานนักพวกเขาก็สามารถจะซึมซับเอาวัฒนธรรมบางอย่างของจักรวรรดิโรมันมา พวกเขาสูญเสียภาษาพูดดังเดิมของตนเองและหันมาเรียนรู้ที่จะใช้ภาษาละตินแทน ด้วยเหตุนี้ ชาวแฟรงค์ที่กลายมาเป็นชนชาติฝรั่งเศสในปัจจุบันนั้นเดิมทีก็เป็นชาวเผ่าเยอรมันดั้งเดิมที่ใช้ภาษาซึ่งเชื่อมโยงกับภาษาเยอรมันในปัจจุบัน เรื่องลักษณะเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นกับชนเผ่าเยอรมันที่เดินทางไปรุกรานสเปนและอิตาลี ซึ่งนี่นับเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นเมื่อชนชาติที่ล้าหลังสามารถมีชัยชนะเหนือกลุ่มคนที่มีพัฒนาการก้าวหน้ากว่าได้ แน่นอนว่าเรื่องเดียวกันนี้ก็เกิดขึ้นกับชาวเผ่ามองโกลที่รุกรานอินเดีย เมื่อพวกเขายึดครองอินเดียแล้วไม่นานนักพวกเขาก็ซึมซับวัฒนธรรมแบบฮินดูเข้ามาและส่งผลให้เกิดการสถาปนาราชวงศ์ใหม่ขึ้นในอินเดียนั่นคือราชวงศ์โมกุล.

สังคมศักดินา (Feudalism)

การกำเนิดขึ้นของระบบศักดินาภายหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันนั้นมาพร้อมกับความเฉื่อยชาด้านพัฒนาการทางวัฒนธรรมของยุโรปเหนือเทือกเขาพิเรนีสขึ้นไป มีเพียงนวัตกรรมเพียงสองอย่างเท่านั้นที่เกิดขึ้นนั่นคือกังหันน้ำ และกังหันลม นอกจากนั้นแล้วมันแทบไม่มีสิ่งที่เรียกว่าเป็นนวัตกรรมใหม่เกิดขึ้นเลยตลอดเวลากว่าพันปีของระบบศักดินา ในช่วงเวลาหนึ่งพันปีหลังการล่มสลายของจักรวรรดิโรมันนั้นถนนที่มีประสิทธิภาพที่สุดในยุโรปยังคงเป็นถนนที่ถูกสร้างขึ้นในสมัยจักรวรรดิโรมัน กล่าวในอีกอย่างได้ว่าห้วงเวลานี้เป็นห้วงเวลาแห่งความมืดมิดของวัฒนธรรม อันเป็นผลมาจากการล่มสลายของกำลังการผลิต ซึ่งนี่เป็นสิ่งที่เรามุ่งหมายจะแสดงให้เห็นผ่านประวัติศาสตร์ ที่จะทำให้ไม่มีใครคิดว่ามันจะเกิดซ้ำรอยเดิมอีก

การรุกรานของคนเถื่อน สงครามและโรคระบาด นั้นแสดงถึงความก้าวหน้าที่หยุดชะงักลงด้วยห้วงเวลาของความเสื่อมถอย แต่ถึงแม้ว่าในท้ายที่สุดแล้วปัจจัยของความวุ่นวายที่ทำให้เกิดการ่มสลายของจักรวรรดิโรมันนั้นจะถูกแทนที่ด้วยสมดุลยภาพใหม่ของระบบศักดินา แต่การล่มสลายของจักรวรรดิโรมันนั้นก็ทำให้เกิดการล่มสลายของคุณภาพชีวิตในเมืองตลอดทั้งยุโรป ซึ่งถึงแม้ว่าคนเถื่อนจะเรียนรู้วิถีแบบเมืองจากอารยธรรมโรมันแต่มันก็ต้องใช้เวลากว่าพันปีในการจะรื้อฟื้นขึ้นมา

แน่นอนว่าข้อความดังกล่าวนี้มีความสัมพันธ์อยู่ในเนื้อหา วัฒนธรรมในยุโรปนั้นไม่สามารถฟื้นคืนมาเทียบเคียงในระดับเดียวกับอาณาจักรโบราณได้จนกระทั่งการเริ่มต้นยุคฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมในช่วงท้ายของศตวรรษที่ 14 จนถึงศตวรรษที่ 15 การเรียนรู้และวิทยาศาสตร์นั้นถูกผูกขาดและควบคุมโดยโบสถ์ มนุษย์นั้นทุ่มเทกำลังไปกับการสู่รบและการเดินทางความฝันทางศาสนา อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดแล้วการถดถอยนี้ก็เดินทางไปถึงจุดสิ้นสุดและถูกแทนที่ด้วยพัฒนาการที่สูงขึ้น

การยุติลู่ทางในการเดินทางติดต่อกันนั้นทำให้ระบบการค้าขายล่มสลายลง ระบบการเงินนั้นถูกทำลายลงและมนุษย์เปลี่ยนมาใช้ระบบการแลกเปลี่ยนสินค้าแทน ซึ่งภายใต้ระบบเศรษฐกิจแบบบูรณาการของสังคมทาสนั้นมันได้ทำให้เกิดการแพร่หลายของชุมชนเกษตรกรรมโดดเดี่ยวขนาดย่อมๆขึ้น

รากฐานของระบบศักดินานั้นเกิดขึ้นในช่วงเวลาของจักรวรรดิโรมัน เมื่อพวกทาสถูกปลดปล่อยให้เป็นอิสระและเริ่มยึดจับที่ดินทำกิน พวกเขาผูกติดตัวเองเข้ากับที่ดินซึ่งในเวลาต่อมาทำให้พวกเขากลายมาเป็นไพร่ติดที่ดิน กระบวนการดังกล่าวนี้เกิดขึ้นในช่วงเวลาที่แตกต่างกัน ในรูปแบบทางสังคมที่แตกต่างกันในพื้นที่ที่แตกต่างกัน ซึ่งถูกเร่งกระบวนการให้เกิดเร็วขึ้นด้วยการบุกรุกของพวกคนเถื่อน ขุนศึกชาวเยอรมันนั้นได้กลายเป็นเจ้าเหนือหัวที่ถือครองที่ดินและผู้คนที่เขายึดมาได้ และเสนอข้อแลกเปลี่ยนโดยการให้ความคุ้มครองทางการทหารและมอบความปลอดภัยทางสังคมให้แก่คนเหล่านั้นแลกกับการเรียกเก็บมูลค่าส่วนเกินจากกำลังแรงงานของไพร่ติดที่ดิน

ในห้วงเวลาแรกของระบบศักดินานั้นการกระจัดกระจายและไร้อำนาจของขุนนางนั้นเปิดโอกาสที่สัมพัทธ์กันให้เกิดราชวงศ์ที่มีอำนาจเข้มแข็งขึ้น หากแต่ในเวลาต่อมานั้นราชวงศ์ก็ตระหนักว่าพวกเขากำลังเผชิญหน้ากับเจ้าที่ดินที่มีกำลังอำนาจมากพอๆกันหรืออาจจะมีอำนาจที่มากกว่าถึงขั้นสามารถโค่นล้มราชวงศ์ลงได้ เหล่าบารอนต่างๆนั้นมีกองทัพขุนนางในสังกัดเป็นของตัวเองซึ่งบ่อยครั้งนั้นพวกเขามักจะนำทัพเข้ารบกับบารอนคนอื่นหรือในบางครั้งก็อาจจะนำทัพเข้ารบกับกษัตริย์ของตนเอง

ระบบศักดินาในยุโรปโดยตัวมันเองจึงเป็นระบบที่มีรูปแบบการกระจายอำนาจ อำนาจของกษัตริย์และราชวงศ์นั้นจะถูกจำกัดเอาไว้ด้วยอำนาจของบรรดาขุนนาง ศูนย์กลางอำนาจในเวลานั้นอ่อนแออย่างมาก และศูนย์กลางอำนาจที่แท้จริงนั้นอยู่ในมือของขุนนางซึ่งจะวัดกันจากที่ดินและปราสาทของขุนนางแต่ละคน อำนาจรัฐนั้นอ่อนแออย่างมากและพวกข้าราชการนั้นไม่มีอยู่จริง ความอ่อนแอและสภาพดังกล่าวนี้ในภายหลังได้ทำให้เกิดอิสรภาพของเมือง (ภายใต้กฎบัตรพิเศษ) และเป็นสาเหตุให้เกิดชนชั้นกระฎุมพีขึ้น

ภาพจินตนาการอันสวยหรูถึงสังคมยุคกลางนั้นเป็นเพียงมายาคติ เพราะในความเป็นจริงแล้วมันเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัวและการนองเลือด อันมีลักษณะที่เต็มไปด้วยความโหดร้ายและป่าเถื่อนที่มาร์กซ์และเองเกลส์เรียกว่าเป็นภาพตัวแทนอันโหดร้ายของกำลังแรงงาน สงครามครูเสดนั้นมีลักษณะของความชั่วร้ายอันวิปลาสและปราศจากมนุษยธรรม

ในช่วงท้ายของยุคกลางนั้นเป็นห้วงเวลาที่เต็มไปด้วยความวุ่นวาย มันเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความโหดร้าย สงครามและสงครามกลางเมือง เมื่อเจตนารมณ์และความเชื่อ เจตจำนงต่อระเบียบเก่านั้นได้ตายลงจนหมด แม้ว่ามันจะยังคงท้าทายระบบอยู่ที่เบื้องล่าง หากแต่การดำรงอยู่ของมันนั้นก็ไม่ได้มีลักษณะเหมือนเดิมอีก คือมันไม่ใช่สิ่งที่จะได้รับการยอมรับอย่างไม่อาจปฏิเสธได้

ในสงครามร้อยปีระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศสนั้นเป็นช่วงเวลาของสงครามอันนองเลือดที่ทำให้แผ่นดินฝรั่งเศสส่วนใหญ่กลายเป็นเถ้าถ่าน ยุทธการอะจินคอร์ต (battle of Agincourt) นั้นถือเป็นสงครามนองเลือดครั้งสุดท้ายของยุคกลาง ซึ่งถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอันเนื่องมาจากการปะทะกันครั้งนี้นั้นเป็นการปะทะกันของรัฐศักดินาที่เป็นศัตรูต่อกัน โดยที่กองทหารในระบบศักดินา อันมีรากฐานมาจากเรื่องลำดับชั้น อัศวินและข้ารับใช้นั้นถูกทำลายลงด้วยกองทหารรับจ้างที่มีรากฐานอยู่บนวิธีคิดเรื่องค่าจ้าง

กองทัพขุนนางฝรั่งเศสนั้นถูกทำลายลงอย่างย่อยยับพร้อมได้รับความพ่ายแพ้อย่างน่าอับอายจากกองทัพทหารไพร่รับจ้าง ในช่วง 90 นาทีแรกของการรบนั้น อัศวินและขุนนางฝรั่งเศสกว่า 9,000 คนถูกฆ่า และอีก 1,200 คนนั้นถูกจับเป็นเชลย และเมื่อถึงจุดจบของการสู้รบแล้ว ไม่เพียงแต่ขุนนางกับอัศวินของฝรั่งเศสเท่านั้นที่ถูกกวาดล้าง หากแต่ยังรวมไปถึงระบบศักดินาของฝรั่งเศสอีกด้วย

ซึ่งจากเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นได้ส่งผลลัพธ์สำคัญตามมาทั้งในทางสังคมและในทางการเมือง กล่าวคือในห้วงเวลาดังกล่าวนั้นการถือครองอำนาจของขุนนางฝรั่งเศสเริ่มจะอ่อนแอ พร้อมๆกับการลุกฮือขึ้นของประชาชนฝรั่งเศสเพื่อขับไล่อังกฤษอันนำโดยสาวชาวนานามว่า โยนออฟอาร์ค (Joan of Arc) และท่ามกลางซากปรกหักพังที่พวกเขาอาศัยอยู่ ท่ามกลางการนองเลือดและความวุ่นวายนั้นเองที่ทำให้ประชาชนฝรั่งเศสตระหนักถึงอัตลักษณ์และความเป็นชาติของตนขึ้นมา ชนชั้นกระฎุมพีเองก็เริ่มต้นที่จะเรียกร้องถึงสิทธิและกรรมสิทธิ์ของพวกเขา รวมถึงเรียกหาการรวมศูนย์อำนาจใหม่โดยมีกษัตริย์และราชวงศ์เป็นศูนย์กลาง ซึ่งมีอำนาจจากการสนับสนุนของกระฎุมพีและประชาชน จนนำไปสู่การรวมอำนาจไว้ที่ราชวงศ์ และในท้ายที่สุดนั้นได้ทำให้เกิดการจัดตั้งรัฐชาติสมัยใหม่ขึ้นมาได้ในที่สุด

กาฬโรค (The Black Death)

เมื่อระบบเศรษฐกิจ-สังคมของสังคมหนึ่งๆนั้นก้าวเข้าสู่สภาวะวิกฤตและความเสื่อมถอยนั้น มันไม่ได้สะท้อนออกมาเพียงแค่ความเฉื่อยชาของกำลังการผลิตเท่านั้น หากแต่มันสะท้อนออกมาในทุกระดับและทุกมิติ ความเสื่อมถอยของระบบศักดินานั้นเกิดจากชีวิตทางปัญญานั้นได้ตายลงและกำลังจะตาย อันเนื่องมาจากการควบคุมองค์ความรู้โดยศาสนจักรที่ทำลายความคิดริเริ่มทางวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมลง

โครงสร้างสังคมของระบบศักดินานั้นมีรูปร่างเป็นพีระมิดที่พระเจ้าและกษัตริย์อยู่บนยอดพีระมิดที่แบ่งช่วงชั้นทางสังคมอย่างซับซ้อน แต่ละชั้นของพีระมิดนั้นเชื่อมโยงต่อกันด้วยสิ่งที่เรียกว่าหน้าที่ ในทฤษฎีนั้น เจ้าที่ดินจะทำหน้าที่เป็น “ผู้ปกป้อง” ชาวนาหรือไพร่ติดที่ดิน ที่จะทำการผลิตและส่งมอบผลผลิตให้แก่เจ้าที่ดิน ทำให้พวกเขามีอาหารกิน มีเสื้อผ้าใส่ และทำให้พวกเจ้าที่ดินสามารถมีชีวิตที่หรูหราอย่างสุขสบายได้โดยไม่ต้องทำอะไรเลย ในขณะที่บรรดานักบวชก็จะสวดภาวนาเพื่อจิตวิญญาณของพวกเขา และอัศวินผู้ทำหน้าที่ปกป้องพวกเขา ฯลฯ

ระบบแบบดังกล่าวนี้ดำรงอยู่โดยกินระยะเวลายาวนาน ในยุโรประบบศักดินากินเวลายาวนานกว่าหนึ่งพันปี จากช่วงกลางของศตวรรษที่ 5 ไปจนกระทั่งถึงช่วงกลางศตวรรษที่ 15 แต่ในช่วงศตวรรษที่ 13 นั้นระบบศักดินาในอังกฤษและในหลายประเทศนั้นได้เดินทางไปถึงขีดจำกัดของตัวระบบแล้ว การขยายตัวของจำนวนประชากรนั้นทำให้ระบบตกอยู่ภายใต้ความตึงเครียดอย่างหนัก ดินแดนห่างไกลต้องถูกแพ้วถางเพื่อนำมาทำการผลิตทางการเกษตรเพื่อรองรับจำนวนประชากรที่มากขึ้น ในขณะที่ประชาชนยังคงต้องอาศัยอยู่ในพื้นที่เล็กๆอันเพียงพอต่อการดำรงชีพอย่างคับแคบ

นี่นับเป็นสถานการณ์ “ที่ขอบเหวแห่งความจลาจล” ที่โครงสร้างและสถาบันทางสังคมทั้งหมดนั้นอยู่ในสภาพจวนเจียนจะล่มสลายลงได้หากมีแรงกระตุ้นเพียงเล็กน้อยเท่านั้น และแน่นอนว่ามันไม่มีแรงผลักดันไหนจะมีกำลังทำลายมากไปกว่าการแพร่ระบาดของกาฬโรค ซึ่งคร่าชีวิตประชาชนในยุโรปไปกว่าหนึ่งส่วนสาม หรือกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนประชากรทั้งหมด อันทำให้สังคมยุโรปจมดิ่งลงสู่ความทุกข์ยากขึ้นทั่วยุโรป

ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไปว่าการแพร่ระบาดของกาฬโรคนั้นมีบทบาทสำคัญอย่างยิ่งในการทำลายระบบศักดินา ซึ่งกรณีนี้เป็นสิ่งที่ชัดเจนอย่างยิ่งในเคสของประเทศอังกฤษ หลังจากาฬโรคได้แพร่ขยายวงกว้างคร่าชีวิตของผู้คนในยุโรปไปกว่าครึ่งแล้วในที่สุดมันก็แพร่ระบาดเข้าไปสู่เกาะอังกฤษในฤดูร้อนปี ค.ศ. 1348 การแพร่ระบาดของโลกนั้นขยายออกไปสู่พื้นที่ชนบทของอังกฤษซึ่งทำให้ประชากรล้มตายเป็นจำนวนมาก ครอบครัวทั้งครอบครัว และบางครั้งนั้นหมู่บ้านทั้งหมู่บ้านล่มสลายลงอันเนื่องมาจากกาฬโรค เช่นเดียวกับในแผ่นดินยุโรปที่ประชากรกว่าครึ่งหนึ่งล้มตายลง อย่างไรก็ตามผู้ที่สามารถรอดพ้นจากโรคระบาดมาได้นั้นก็จะพบว่าพวกเขาได้รับการตอบทนเป็นการถือครองแผ่นดินที่มากขึ้นเนื่องจากการล้มตายของประชากรจำนวนมากซึ่งทำให้เกิดชนชั้นใหม่ขึ้นมาในสังคมนั่นคือชนชั้นของกลุ่มชาวนาร่ำรวย

การล้มตายของขนานใหญ่ของประชากรนั้นทำให้เกิดปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างหนัก มันทำให้เกิดสภาวะขาดแคลนแรงงานถึงขนาดที่มีกำลังแรงงานไม่เพียงพอสำหรับการเก็บเกี่ยว และไม่มีช่างฝีมือมากพอสำหรับทำการผลิตในทุกตำแหน่ง ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดเงื่อนไขและปัจจัยพื้นฐานสำหรับการเปลี่ยนผ่านทางสังคม ชาวนาและแรงงานนั้นเริ่มรับรู้ถึงอำนาจต่อรองของตัวเอง พวกเขาเริ่มเรียกร้องต่อเจ้าที่ดินหรือรัฐ และได้รับการตอบรับ หนึ่งในนั้นคือการเรียกร้องค่าจ้างที่สูงขึ้นและค่าเช่าที่ดินที่ต่ำลง และถ้าหากว่าเจ้าที่ดินปฏิเสธที่จะตอบสนองต่อข้อเรียกร้อง พวกเขาก็จะย้ายถิ่นฐานไปยังที่ดินของเจ้าที่ดินคนอื่นต่อไป และนั่นทำให้หมูบ้านจำนวนมากถูกทิ้งร้าง

สัญญาผูกมัดแบบเดิมของสังคมศักดินานั้นเสื่อมอำนาจลงและถูกบอกเลิกในห้วงเวลาถัดมา ชาวนาและไพร่ติดที่ดินนั้นได้ปลดแอกตัวเองออกจากภาระผูกพันที่ตัวพวกเขามีต่อระบบศักดินา ชาวนาจำนวนมากนั้นแห่แหนกันเดินทางเข้าไปในเมืองใหญ่เพื่อแสวงโชค ซึ่งสภาพการณ์นี้เองที่ทำให้เกิดการขยายตัวและพัฒนาของเมือง และในทางเดียวกันนั้นคือการทำให้เกิดการพัฒนาและการกำเนิดของชนชั้นกระฎุมพี ในปี 1349 กษัตริย์เอ็ดเวิร์ดที่สาม (King Edward III) ได้ประกาศใช้กฎหมายที่อาจจะนับได้ว่าเป็นกฎหมายรับรองค่าแรงขึ้นเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ นั่นคือพระราชบัญญัติแรงงาน (the Statute of Labourers) เนื้อหาของประกาศดังกล่าวนี้ใจความหลักนั้นคือการประกาศมาตรฐานค่าแรงให้ยึดตามมาตรฐานเก่า หากทว่าตัวกฎหมายนั้นก็เป็นหมันไปเองนับตั้งแต่การเริ่มต้นแล้ว อันเนื่องมาจากกฎของความต้องการซื้อและความต้องการขายนั้นทรงพลังมากกว่าพระราชกฤษฎีกาและอำนาจของราชวงศ์

จิตวิญญาณแห่งความขบถนั้นถือกำเนิดขึ้นในทุกหนทุกแห่ง อำนาจของสังคมเก่านั้นถูกบ่อนทำลายและทำลายความน่าเชื่อถือ โครงสร้างทางสังคมทั้งหมดนั้นเน่าเปื่อยและอยู่ในสภาพใกล้จะล่มสลายลง ซึ่งหากมีเพียงการออกแรงผลักเพียงเล็กน้อยก็สามารถจะทำลายโครงสร้างทั้งหมดนี้ลงได้ ในฝรั่งเศสนั้นมีขบวนการลุกฮือครั้งใหญ่ของชาวนาซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ jacqueries นอกจากนั้นยังมีขบวนการชาวนาที่จริงจังกว่าในฝรั่งเศสเกิดขึ้นในอังกฤษเมื่อปี 1381 ซึ่งพวกเขาได้เข้ายึดลอนดอนเอาไว้และควบคุมตัวกษัตริย์ อย่างไรก็ตามในท้ายที่สุดแล้วขบวนการลุกฮือนี้ก็ไม่ประสบความสำเร็จ

ความล้มเหลวของการลุกฮือนั้นก็เนื่องมาจากมันเป็นการลุกฮือที่มาก่อนกาล ก่อนจะเกิดการปฏิวัติกระฎุมพีเมื่อสภาพการณ์ทางสังคมนั้นอยู่ในสภาวะสุกงอม พวกเขาได้แสดงให้เห็นถึงทางตันของระบบศักดินาและความไม่พอใจอย่างสุดซึ้งของมวลชนจำนวนมาก หากแต่พวกเขาไม่สามารถนำเสนอทางออกได้ และด้วยเหตุนั้นแม้ว่าระบบศักดินาจะมีการปรับตัวอย่างจริงจัง ที่ทำให้มันดำรงอยู่มาอีกเป็นระยะเวลานาน หากทว่ามันก็ยังคงแสดงให้เห็นถึงสภาวะความเสื่อมถอยและความอ่อนแอของระเบียบสังคมเดิม ในห้วงเวลาสุดท้ายของยุคกลางนั้นเป็นห้วงเวลาที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวาย มันเป็นช่วงเวลาที่เต็มไปด้วยความโหดร้าย สงครามและสงครามกลางเมือง – เช่นเดียวกันในยุคสมัยปัจจุบันของเรา

ความรู้สึกของผู้คนที่รู้สึกว่าโลกกำลังเข้าใกล้การล่มสลายนั้นเป็นเรื่องปกติที่จะเกิดขึ้นในทุกยุคทุกสมัยทางประวัติศาสตร์เมื่อระบบสังคม-เศรษฐกิจในสังคมหนึ่งๆนั้นเดินหน้าเข้าสู่ความเสื่อมถอย นี่เป็นช่วงเวลาที่ผู้คนและมวลชนจำนวนมากมุ่งหน้าลงสู่ถนน บรรดาผู้เชื่อมั่นถึงวันสิ้นโลกนั้นต่างก็เฝ้ารอคอยการล่มสลายของโลกราวกับว่ามันจะเกิดขึ้นในชั่วโมงถัดไป

ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว สิ่งที่เดินทางไปถึงจุดจบนั้นมิใช่โลกทั้งใบหากทว่าเป็นเพียงระบบศักดินาเท่านั้นที่เดินทางไปถึงจุดจบ และสิ่งที่เข้ามาแทนที่นั้นก็ไม่ใช่สิ่งใดที่ประเสริฐเลิศเลอกว่าเดิมหากแต่เป็นการเข้ามาแทนที่ของระบบทุนนิยมนั่นเอง หากแต่พวกเขานั้นไม่สามารถที่จะเข้าใจเรื่องนี้ได้ หากแต่สิ่งหนึ่งที่ชัดเจนนั่นคือโลกเก่าของพวกเขานั้นอยู่ในสภาวะที่กำลังจะล่มสลายลงอย่างรวดเร็วและไม่มีทางจะรักษาได้ ความเชื่อของพวกเขาถูกทำลายลงและถูกตัดให้ลอยเคว้งคว้างอย่างไม่มีจุดหมายท่ามกลาง ความหนาวเหน็บ ความไร้มนุษยธรรม ความเกลียดชัง และอยู่ภายในโลกที่พวกเขาไม่อาจจะเข้าใจได้

การอุบัติขึ้นของชนชั้นกระฎุมพี (The rise of the bourgeoisie)

เมื่อความเชื่อมั่นในระบบสังคมเก่านั้นถูกทำลายลงจนหมดสิ้น เสมือนกับว่าหมุดหมายสำคัญของโลกนั้นได้ถูกรื้อถอนออกไป อันก่อให้เกิดผลลัพธ์อันที่เต็มไปด้วยความสับสนวุ่นวายและความไม่แน่นอนอย่างร้ายแรง ในช่วงกลางศตวรรษที่ 15 ระบบความเชื่อแบบเก่านั้นเริ่มจะเสื่อมคลายอำนาจลง ผู้คนนั้นไม่ได้มองว่าโบสถ์เป็นพื้นที่สำหรับการนฤพาน การบำรุงขวัญ หรือที่พึ่งทางจิตใจอีกต่อไป อันที่จริงนั้นศาสนาได้เปลี่ยนบทบาทตัวเองกลายไปเป็นปัจจัยสนับสนุนการต่อสู้และความขัดแย้งทั้งทางสังคมและการเมืองในหลายรูปแบบ

ชาวนานั้นเริ่มต้นท้าทายอำนาจและขนบธรรมเนียมของสังคมเก่า พวกเขาเรียกร้องหาเสรีภาพในการย้ายถิ่นฐานและเดินหน้าเข้าไปแสวงโชคในเมืองโดยไม่ต้องได้รับการอนุญาต พงศาวดารร่วมสมัยในยุคนั้นแสดงให้เห็นความไม่พอใจของบรรดาเจ้าที่ดินที่มีต่อการกระด้างกระเดื่องของกลุ่มแรงงานชาวนา ซึ่งในช่วงนั้นมีกระทั่งการนัดหยุดงาน

ท่ามกลางความสับสนวุ่นวายนี้เองที่กลุ่มพลังอำนาจใหม่ได้ถูกปลุกขึ้น อันก่อให้เกิดกลุ่มพลังอำนาจใหม่ กลุ่มวัฒนธรรมใหม่ที่ค่อยๆเติบโตขึ้นภายในพื้นที่ของสังคมเก่า การขยายตัวของเมืองและการค้าขายนั้นเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกิดชนชั้นใหม่ที่เต็มไปด้วยความทะเยอทะยาน นั่นคือชนชั้นกระฎุมพี ซึ่งเริ่มต้นที่จะแทรกแซงตัวเองเข้าไปในระบบเพื่อสร้างตำแหน่งแห่งที่และอำนาจของตนเองขึ้นท่ามกลางกลุ่มชนชั้นปกครอง ขุนนาง และโบสถ์ของระบบศักดินา ระบบสังคมใหม่นั้นเริ่มปรากฏตัวขึ้นครั้งแรกผ่านงานศิลปะและวรรณกรรม ซึ่งกลายเป็นกระแสหลักในอีกหนึ่งร้อยปีถัดมา

เมื่อเจตนารมณ์และความเชื่อ เจตจำนงต่อระเบียบเก่านั้นได้ตายลงจนหมด แม้ว่ามันจะยังคงท้าทายระบบอยู่ที่เบื้องล่าง หากแต่การดำรงอยู่ของมันนั้นก็ไม่ได้มีลักษณะเหมือนเดิมอีก คือมันไม่ใช่สิ่งที่จะได้รับการยอมรับอย่างไม่อาจปฏิเสธได้ ความคิดหรือมุมมองโดยทั่วไปว่าการสิ้นสุดของโลกกำลังใกล้เข้ามานั้นจึงไม่ใช่การเข้าใจผิดทั้งหมดเสียทีเดียว อันเนื่องมาจากโลกที่กำลังจะล่มสลายลงนั้นคือโลกที่พวกเขารู้จัก โลกของระบบศักดินา

การกำเนิดขึ้นของเมืองที่เปรียบเสมือนเกาะของระบบทุนนิยมท่ามกลางทะเลของระบบศักดินานั้นค่อยๆบ่อนทำลายระเบียบเก่าของสังคมศักดินาลง ระบบเศรษฐกิจการเมืองแบบใหม่นั้นถือกำเนิดภายในสังคม เกิดขึ้นมาพร้อมการกร่อนทำลายรากฐานทางเศรษฐกิจของระบบศักดินา ขีดจำกัดของระบบเศรษฐกิจแบบศักดินานั้นไม่สามารถจะแบกรับหรือรองรับความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจที่พัฒนาต่อไปได้ มันจำเป็นจะต้องพังทลายลงและในที่สุดแล้วมันก็พังทลายลง หากทว่าชัยชนะของกระฎุมพีนั้นไม่ได้เกิดขึ้นภายในครั้งเดียว หากแต่มันต้องอาศัยระยะเวลายาวนานเพื่อสะสมกำลังก่อนจะนำไปสู่การเปลี่ยนผ่านระบบ

การรื้อฟื้นระบบการค้าขายนั้นทำให้เกิดการฟื้นฟูเมืองและก่อให้เกิดชนชั้นกระฎุมพี โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมืองที่โดดเด่นใน Flanders, Holland และ northern Italy อันทำให้เกิดแนวความคิดใหม่ขึ้น หลังจากการล่มสลายของกรุงคอนสแตนตินโนเปิลในปี 1453 นั้นมันทำให้เกิดความสนใจใหม่ๆในด้านงานศิลปะ และความคิดแบบคลาสสิกโบราณ งานศิลปะรูปแบบใหม่นั้นถือกำเนิดขึ้นใน Italy และ Netherlands งานเขียนเรื่องตำนานสิบราตรีของบอกกัชโซ (Boccaccio’s Decameron) นั้นถือได้ว่าเป็นต้นแบบของงานวรรณกรรมหรือนวนิยายสมัยใหม่ ส่วนในอังกฤษนั้นงานเขียนของชอเซอร์ (Chaucer) นั้นเต็มไปด้วยสีสันและความมีชีวิตชีวา ซึ่งสะท้อนให้เห็นจิตวิญญาณใหม่ทางศิลปะ ยุคแห่งการฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรม (Renaissance) นั้นได้เริ่มความก้าวหน้าอย่างเชื่องช้าแต่ค่อยเป็นค่อยไปในการจะก้าวออกจากวังวนแห่งความวุ่นวายพร้อมๆกับการสถาปนาระเบียบใหม่

ยุคสมัยแห่งการปฏิรูป (The Reformation)

ระบบทุนนิยมนั้นเริ่มต้นลงหลักปักฐานอย่างก้าวหน้าในยุโรปเมื่อช่วงศตวรรษที่ 14 ประเทศ Netherlands นั้นกลายมาเป็นโรงงานของยุโรป ที่ทำให้การค้าขายนั้นเจริญรุ่งเรือนไปตลอดแม่น้ำ Rhine เมืองต่างๆในตอนเหนือของอิตาลีนั้นกลายเป็นเมืองที่ทรงพลังอำนาจอย่างมากในการขับเคลื่อนความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและธุรกิจ มีการเปิดการค้ากับอาณาจักรไบเซนไทน์ (Byzantium) และประเทศตะวันออก ระบบเศรษฐกิจที่กระจัดกระจายของยุโรปตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 ถึงศตวรรษที่ 12 นั้นได้เลือนหายไปจนหมดสิ้น การค้นพบทวีปอเมริกา การขยายเส้นทางการค้านั้นไม่ได้ก่อให้เกิดแรงผลักดันต่อความก้าวหน้าด้านความมั่งคั่งเพียงอย่างเดียวหากแต่ยังสร้างแรงผลักดันให้เกิดความก้าวหน้าทางความคิดของมนุษย์ด้วย

ภายใต้เงื่อนไขแบบดังกล่าวนั้นทำให้พัฒนาการทางความรู้และสติปัญญาไม่ได้หยุดชะงักเหมือนในอดีตอีกต่อไป ภูมิปัญญาของมนุษย์นั้นได้แยกตัวเองออกจากความคิดแบบอนุรักษ์นิยมและปฏิกิริยาอย่างเด็ดขาดดังเช่นที่มาร์กซ์และเองเกลส์ได้กล่าวเอาไว้ใน The Communist Manifesto

“การค้นพบทวีปอเมริกาและการขยายเส้นทางการค้านั้นได้ก่อให้เกิดพื้นฐานสำหรับการถือกำเนิดของชนชั้นกระฎุมพี การขยายตลาดในประเทศจีนและอินเดียตะวันออก การจัดตั้งอาณานิคมในอเมริกา การค้าขายกับประเทศอาณานิคม การขยายตัวของวิถีการแลกเปลี่ยน การขยายตัวของจำนวนสินค้าโภคภัณฑ์ที่ทำให้เกิดการขยายตัวของธุรกิจ การเดินเรือ และอุตสาหกรรม ซึ่งได้สร้างแรงกระตุ้นอย่างไม่เคยมีมาก่อนอันกลายมาเป็นพลังในการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงและโค่นล้มสังคมศักดินาเอ่าเน่าเปื่อยลง ด้วยการเปลี่ยนผ่านอย่างรวดเร็ว”

มันไม่ใช่เรื่องบังเอิญที่การถือกำเนิดของชนชั้นกระฎุมพีในอิตาลี เนเธอแลนด์ อังกฤษ และฝรั่งเศสนั้นกำเนิดขึ้นพร้อมกับความเฟื่องฟูทางศิลปะ วัฒนธรรม และวิทยาศาสตร์ ดังเช่นที่ทรอสกี้ได้กล่าวไว้ว่า การปฏิวัตินั้นคือพลังในการขับเคลื่อนประวัติศาสตร์ของมนุษย์ ในประเทศที่การปฏิวัติกระฎุมพีได้รับชัยชนะในระหว่างศตวรรษที่ 17 และ 18 นั้นมันเกิดการพัฒนากำลังการผลิตและเทคโนโลยีซึ่งมาพร้อมกับการพัฒนาวิทยาศาสตร์และปรัชญา ซึ่งทำลายการครอบงำทางอุดมการณ์ของโบสถ์และศาสนาไปตลอดกาล

ในยุคของการถือกำเนิดของชนชั้นกระฎุมพี ในห้วงเวลาที่ทุนนิยมนั้นยังคงเป็นพลังผลักดันความก้าวหน้าทางประวัติศาสตร์นั้น อุดมการณ์แรกที่ถือกำเนิดขึ้นคืออุดมการณ์ที่ทำให้ชนชั้นต้องมุ่งหน้าทำการต่อสู้กับกลไกทางอุดมการณ์ของระบบศักดินาซึ่งด่านแรกก็คือศาสนา หรือโบสถ์คริสต์คาทอลิค หลังจากการต่อสู้เพื่อทำลายอำนาจของบรรดาเจ้าที่ดินมาอย่างยาวนาน ชนชั้นกระฎุมพีจำเป็นจะต้องโค่นล้มแนวป้องกันทางศาสนาและปรัชญาที่ทำหน้าที่คุ้มครองระบบศักดินาอันวางบทบาทตัวเองอยู่ในโบสถ์และกองทัพ ซึ่งการปฏิวัตินี้เริ่มต้นขึ้นตั้งแต่การเคลื่อนไหวของ Martin Luther ที่ต่อต้านอำนาจของศาสนจักรคาทอลิค

ในช่วงระหว่างศตวรรษที่ 14 และศตวรรษที่ 15 ประเทศเยอรมนีนั้นเผชิญหน้ากับการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจที่ดิน และชนชั้นใหม่ทางสังคมซึ่งเข้าปะทะกับธรรมเนียมการจัดลำดับชั้นทางสังคมเดิมของระบบศักดินา การโจมตีและวิพากษ์วิจารณ์คริสตจักรโรมันคาทอลิคของ Martin Luther เป็นเสมือนการจุดประกายไฟให้การปฏิวัติ ชาวเมืองและผู้ต่ำศักดิ์ทางสังคมนั้นมุ่งมั่นที่จะทำลายอำนาจของนักบวช พยายามหลบเลี่ยงออกจากอำนาจของศาสนจักร และในตอนท้ายนั้นคือการขยับไปสู่การเสนอให้ริบทรัพย์สินของโบสถ์

หากทว่าความกดดันทางสังคมซึ่งได้หยั่งรากลึกในสังคมของระบบศักดินานั้นก็ได้ถูกกระตุ้นขึ้น เมื่อข่าวของ Martin Luther ที่เดินหน้าโจมตีต่อต้านนักบวชและเสนอความคิดเรื่องเสรีภาพของชาวคริสต์นั้นกระจายไปถึงหูของชาวนาเยอรมัน พวกเขาก็ขานรับการเคลื่อนไหวนั้นทันทีอย่างเต็มกำลังความสามารถ กลายเป็นมวลชนขนาดใหญ่ที่ลุกขึ้นต่อต้านและต่อสู้กับเจ้าที่ดินศักดินาซึ่งได้ทำการกดขี่พวกเขามาอย่างยาวนาน ในตอนนี้พวกเขาได้ลุกฮือขึ้นมาเพื่อต่อต้านกลุ่มผู้กดขี่แล้ว

มันเริ่มต้นขึ้นในปี 1524 สงครามชาวนานั้นเริ่มต้นขึ้นและขยายวงกว้างไปทั่วแคว้น Germanic ของจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) ระหว่างปี 1525 จนกระทั่งถูกปราบปรามลงในปี 1526 สิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องที่เกิดขึ้นอีกบ่อยครั้งในประวัติศาสตร์หลังจากนี้ และเมื่อสถานการณ์มาถึงจุดชี้ขาดที่ Martin Luther ต้องเผชิญหน้ากับความคิดปฏิวัติที่เขาเป็นผู้จุดประกายมันขึ้นนั้น เขาเลือกที่จะยืนอยู่ข้างพวกขุนนาง ชนชั้นสูง เพื่อปราบปรามขบวนการชาวนา

อย่างไรก็ตามชาวนาได้พบกับผู้นำคนใหม่ที่ดีกว่านั่นคือ Thomas Müntzer ผู้ต่อต้านนักบวชอย่างรุนแรงและเรียกร้องให้ประชาชนนั้นติดอาวุธในขณะที่ Martin Luther พร่ำสอนเรื่องการต่อต้านอย่างสันติ ดังเช่นที่ตัวเขาได้หยิบยกเอาคำกล่าวในคัมภีร์ไบเบิ้ลมาอ้างเพื่ออธิบายการกระทำของเขาว่า “ไม่ใช่ว่าพระคัมภีร์กล่าวไว้หรือว่า ‘ข้าไม่ได้มาเพื่อมอบสันติ หากแต่มาเพื่อส่งมอบดาบ’?”

กลุ่มที่เป็นฝ่ายหัวรุนแรงที่สุดในการเคลื่อนไหวนี้คือกลุ่ม Anabaptists ผู้เริ่มต้นการต่อสู้ด้วยการตั้งคำถามถึงระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และนำเสนอโมเดลทางสังคมโดยยึดรูปแบบของสังคมคอมมิวนิสต์บุพกาลดังเช่นที่เคยปรากฎมาในยุคแรกของศาสนาคริสต์ดังเช่นที่บันทึกเอาไว้ในพระคัมภีร์บทว่าด้วยอัครสาวก Müntzer นั้นยังคงยืนยันว่าคัมภีร์ไบเบิ้ลไม่มีสิ่งใดผิดพลาด ที่ว่าพระจิตนั้นจะสามารถติดต่อและเชื่อมโยงเข้าสู่ผู้คนได้ผ่านของขวัญแห่งเหตุผล

Martin Luther นั้นได้เขียนหนังสือเล่มเล็กอันโด่งดังซึ่งมีเนื้อหาโจมตีและต่อต้านพฤติกรรมลักขโมยและการฆาตรกรรมของชาวนา การลุกฮือของชาวนาจึงถูกปราบปรามลงด้วยความป่าเถื่อนอย่างไม่สามารถจะบรรยายได้ ที่ทำให้เยอรมนีกลายเป็นประเทศล้าหลังกลับไปเกือบร้อยปี หากแต่การลุกฮือของขบวนการกระฎุมพีที่แสดงออกมาในการกำเนิดของนิกายโปเตสแตนท์ (Protestantism) นั้นกลายมาเป็นสิ่งที่ไม่อาจจะหยุดยั้งได้อีก

บรรดาดินแดนที่กองกำลังปฏิกิริยาของระบบศักดินานั้นได้ทำการปราบปรามหน่ออ่อนของสังคมใหม่ลง ต้องตกอยู่ภายใต้ช่วงเวลาของฝันร้ายอันยาวนานที่เต็มไปด้วยความเสื่อมโทรม ความทรุดโทรมและความผุพัง ในกรณีนี้นั้นประเทศสเปนถือเป็นตัวอย่างหนึ่งที่ชัดเจนอย่างมาก

การปฏิวัติกระฎุมพี (The bourgeois Revolution)

การปฏิวัติกระฎุมพีครั้งแรกนั้นอยู่ในรูปแบบของขบวนการชาตินิยมเนเธอร์แลนด์ที่ลุกขึ้นต่อต้านชนชั้นปกครองปกครองของประเทศสเปน และเพื่อที่จะได้รับชัยชนะในการต่อสู้นี้กลุ่มเศรษฐีชาวดัตช์ จึงสมัครคนยากคนจนเข้าร่วมขบวนการ พวกเขาระดมทั้งคนยากคนจนและกระทั่งบรรดาโจรผู้กล้าหาญมาร่วมต่อสู้ในแนวหน้า อันกลายมาเป็นทหารกองบุกทะลวงของกองทัพปฏิวัติชาวดัตช์อันมีชื่อเสียงโด่งดังและเป็นที่รู้จักกันทั่วยุโรปในฉายา ขอทานแห่งท้องทะเล (Sea Beggars)

คำอธิบายดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องแม่นยำไปเสียทีเดียว เพราะมันยังมีกลุ่มคนยากจน กลุ่มแรงงาน กลุ่มชาวประมง กลุ่มคนไร้บ้าน และกลุ่มคนที่ถูกยึดทรัพย์ซึ่งถูกนับว่าเป็นพวกกากเดนของสังคม ที่ในท้ายที่สุดได้รวมตัวกันเป็นลัทธิคาลวิน (Calvinist fanaticism) และพวกเขาได้เอาชนะกองทัพอันเกรียงไกรของสเปนครั้งแล้วครั้งเล่า ซึ่งนี่เองที่เป็นรากฐานให้เกิดการสถาปนาสาธารณะรัฐดัตช์พร้อมกับความเจริญรุ่งเรื่องของกระฎุมพีชาวฮอลันดาสมัยใหม่

การปฏิวัติกระฎุมพีในยุคถัดมานั้นมีนัยสำคัญและก่อให้เกิดอิทธิพลขยายวงกว้างออกไปอย่างมาก นั่นคือการปฏิวัติอังกฤษในศตวรรษที่ 17 ที่ถูกนับว่าเป็นเสมือนสงครามกลางเมือง มันเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเผชิญหน้ากันของกลุ่มกำลังสองกลุ่ม กลุ่มแรกคือกลุ่มอำนาจสายราชวงศ์ ซึ่งอาศัยสิทธิพิเศษทางชนชั้นอันรายล้อมไปด้วยกลุ่มชนชั้นอื่นๆประกอบด้วยกลุ่มขุนนางและนักบวช ซึ่งถูกท้าทายโดยกลุ่มกระฎุมพีกับกลุ่มผู้ถือครองที่ดินรายย่อยและกลุ่มมวลชนสามัญชน

การปฏิวัติอังกฤษนั้นประสบความสำเร็จเฉพาะในช่วงชีวิตของ Oliver Cromwell ที่วางบทบาทของตัวเองพร้อมการเคลื่อนไหวที่รุนแรงนั่นคือการสร้างขบวนการสามัญชนที่ติดอาวุธ และจัดวางบทบาทให้กลุ่มกระฎุมพีนั้นเป็นผู้จ่ายเงินค่าจ้างสำหรับกองทัพปฏิวัติในการสู้รบต่อต้านกลุ่มรอยัลลิสต์ ผลลัพธ์ที่เกิดขึ้นก็คือคณะปฏิวัติสามารถจับตัวกษัตริย์อังกฤษมาประหารได้ ความขัดแย้งทั้งหมดยุติลงพร้อมกับการกวาดล้างระบบรัฐสภาและสถาปนาระบบเผด็จการของ Oliver Cromwell ขึ้นแทน

กลุ่มนายทหารระดับล่างของกองทัพภายใต้การนำของ Levellersซึ่งเป็นปีกซ้ายของการปฏิวัตินั้นพยายามจะผลักดันให้การปฏิวัติก้าวหน้ามากขึ้น พวกเขาตั้งคำถามถึงระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลหากทว่าในท้ายที่สุดแล้วพวกเขาก็ถูกปราบปรามโดยฝ่าย Oliver Cromwell เหตุผลสำคัญของความพ่ายแพ้นั้นก็เนื่องมาจากเงื่อนไขปัจจัยภายในยุคนั้นที่พัฒนาการด้านอุตสาหกรรมและเทคโนโลยียังไม่สามารถพัฒนาไปได้ไกลถึงจุดที่สามารถรองรับพื้นฐานสำหรับสังคมนิยมได้

ชนชั้นกรรมาชีพโดยตัวมันเองพึ่งจะอยู่ในระดับของการก่อกำเนิดขึ้น ขบวนการ Levellers นั้นแสดงบทบาทของตัวเองในฐานะกลุ่มกระฎุมพีน้อยระดับล่าง และด้วยเหตุนั้นแม้ว่าพวกเขาจะมีลักษณะความเป็นวีรบุรุษนิยม หากแต่พวกเขาก็ไม่สามารถจะมีเส้นทางทางประวัติศาสตร์แบบปัจเจกบุคคลเป็นของตนเองได้ หลังจาก Cromwell เสียชีวิตลงชนชั้นกระฎุมพีก็ได้บรรลุข้อตกลงประนีประนอมกับกษัตริย์ชาร์ลที่ 2 (King Charles II) ที่อนุญาตให้พวกกระฎุมพีสามารถถือครองอำนาจได้โดยใช้สถาบันกษัตริย์อังกฤษเป็นป้อมปราการสำหรับป้องกันการปฏิวัติในอนาคตอันจะส่งผลเสียต่อระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล

การปฏิวัติอเมริกาซึ่งเป็นรูปแบบของการต่อสู้เพื่อประกาศเอกราช ซึ่งความสำเร็จอย่างเดียวของมันนั้นคือการเข้ามามีส่วนร่วมในการต่อสู้ของกลุ่มมวลชนชาวนายากจนที่มีบทบาทอย่างมากในความสำเร็จด้านสงครามกองโจร ที่ทำการรบต่อต้านกองทัพของกษัตริย์จอร์จแห่งอังกฤษ (King George of England)

การปฏิวัติฝรั่งเศสในปี 1789-1793 นั้นเป็นการปฏิวัติที่ยกระดับขึ้นไกลกว่าการปฏิวัติอังกฤษ ซึ่งเหตุการณ์ดังกล่าวนี้นับเป็นเหตุการณ์สำคัญหนึ่งในประวัติศาสตร์ของมนุษย์ กระทั่งในปัจจุบันนี้การปฏิวัติฝรั่งเศสก็ยังคงดำรงบทบาทในการเป็นแรงบันดาลให้เกิดการปฏิวัติอย่างไม่รู้จบ และถ้าหากว่า Cromwell นั้นได้ทำการต่อสู้ภายใต้ร่มธงของศาสนาแล้ว ชนชั้นกระฎุมพีฝรั่งเศสก็ได้ทำการต่อสู้ภายใต้ร่มธงของเหตุผล กระทั่งในช่วงเวลาก่อนการทลายคุกบาสตีลนั้น พวกเขาได้ทลายกำแพงอันยิ่งใหญ่ที่มองไม่เห็นไปแล้วนั่นคือกำแพงของศาสนาและวิหารต่างๆ

ทุกๆการเคลื่อนไหวที่ผลักดันการปฏิวัติฝรั่งเศสให้รุดไปข้างหน้า ทุกๆการทำลายขวากหนามอุปสรรคนั้น ล้วนแล้วแต่ประกอบไปด้วยความร่วมมือของมวลชนขนาดใหญ่ และเมื่อกำลังมวลชนดังกล่าวนี้เลือนหายไปแล้วการปฏิวัติก็มักจะหยุดลงหรือมีสภาวะย้อนกลับ ซึ่งนั่นทำให้เกิดการเรืองอำนาจของกลุ่มปฏิกิริยา กลุ่มแรกคือ Thermidorian และหลังจากนั้นคือกลุ่ม Bonapartist

บรรดาศัตรูของการปฏิวัติฝรั่งเศสนั้นมักจะใส่ร้ายป้ายสีการปฏิวัติและให้ภาพว่ามันเต็มไปด้วยความรุนแรงและการนองเลือดเสมอ ซึ่งหากจะพูดกันบนความเป็นจริงแล้วความรุนแรงของการปฏิวัตินั้นก็คือความรุนแรงที่ตอบโต้ต่อการใช้ความรุนแรงของชนชั้นปกครองเดิม ต้นกำเนิดของการใช้ความรุนแรงนั้นสามารถจะมองเห็นได้จากการมีปฏิกิริยาตอบโต้ของคณะปฏิวัติเพื่อตอบโต้การปฏิปักษ์ปฏิวัติทั้งจากภายในและภายนอก เผด็จการคณะปฏิวัตินั้นเป็นเพียงผลที่ตามมาภายหลังจากการปฏิวัติแล้ว

ภายใต้การปกครองของ Robespierre และ Jacobins นั้นกลุ่มชนชั้นกรรมาชีพและชาวเมืองปารีสนั้นได้เข้าร่วมในการนำการปฏิวัติไปสู่ความสำเร็จ อันที่จริง มวลชนที่ออกมาเคลื่อนไหวนั้นได้ผลักดันให้ผู้นำของเขาต้องก้าวไปไกลกว่าที่ตนเคยคาดคิดไว้เสียอีก กล่าวอย่างไม่มีอคติแล้ว การปฏิวัตินั้นมีลักษณะแบบประชาธิปไตยกระฎุมพี อันเนื่องมาจากพัฒนาการของกำลังการผลิตและชนชั้นกรรมาชีพนั้นยังไม่ได้พัฒนาไปถึงจุดที่พร้อมสำหรับการตั้งคำถามถึงสังคมนิยมได้

แต่ในห้วงเวลาถัดมาในสถานการณ์ที่ถึงจุดการปฏิวัตินั้นก็ได้เดินทางมาถึงขีดจำกัดของตัวมันเองและเริ่มกระบวนการย้อนกลับ Robespierre และกลุ่มมวลชนของเขาได้เริ่มต้นการทำลายปีกซ้ายของขบวนการปฏิวัติและหลังจากนั้นกลุ่มของเขาก็ล่มสลายลง กลุ่มปฏิกิริยา Thermidorian ในฝรั่งเศสได้เริ่มต้นกระบวนการตามล่าและปราบปรามกลุ่ม Jacobins ในขณะที่มวลชนของการปฏิวัตินั้นก็เสื่อมกำลังลงเนื่องจากการต่อสู้ฟาดฟันและเสียสละตนเองมานานหลายปีนั้นเริ่มต้นที่จะหันเหตัวเองออกจากการปฏิวัติและเลือกที่จะวางเฉยลง ส่วนกลุ่ม pendulum เลือกที่จะย้ายข้างไปอยู่ในฝั่งขวา หากทว่ามันก็ไม่ได้ทำให้เกิดการย้อนกลับไปหาระบอบเก่า ผลพวงของการปฏิวัติที่ปรากฏอยู่ในรูปแบบของโครงสร้างพื้นฐานทางสังคมและเศรษฐกิจนั้นยังคงดำรงอยู่ และอำนาจของพวกขุนนางเจ้าที่ดินนั้นก็เสื่อมสลายลง

ความเสื่อมโทรมและการล่มสลายลงของภาคประชาสงเคราะห์นั้นเกิดขึ้นโดยพร้อมเพรียงกันกับความเสื่อมโทรมและการเสื่อมถอยของระบบเผด็จการของ Bonaparte ชนชั้นกระฎุมพีในฝรั่งเศสนั้นตกอยู่ในสภาวะอกสั่นขวัญแขวนและหวาดกลัวต่อกลุ่ม Jacobins และ Sans-culottes และแนวคิดเรื่องความเท่าเทียมของพวกเขา หากทว่ามันกลับมีสภาวะที่เลวร้ายยิ่งขึ้นเมื่อเกิดการปฏิปักษ์ปฏิวัติโดยพวกรอยัลลิสต์ ที่เข้ายึดอำนาจและทำให้ฝรั่งเศสมีสภาพที่ย้อนกลับไปก่อนปี 1789 สงครามยังคงดำเนินต่อไปอย่างต่อเนื่องและยังคงมีการต่อต้านภายในอย่างต่อเนื่องจากกลุ่มปฏิกิริยา ทางออกเดียวของวิกฤตนั้นคือการหันกลับไปหาระบอบเผด็จการ หากแต่ปรากฏในรูปแบบของกฎอัยการศึก ชนชั้นกระฎุมพีนั้นพยายามมองหาผู้กอบกู้และผู้ที่พวกเขาสนับสนุนขึ้นมานั้นก็คือนโปเลียน โบนาปาร์ต (Napoleon Bonaparte)

ความพ่ายแพ้ของนโปเลียนในสงครามที่วอร์เตอร์ลู (Battle of Waterloo) ทำให้เปลวไฟแห่งการปฏิวัติที่ถูกจุดเอาไว้ในฝรั่งเศสต้องถูกดับลง ทั่วทั้งยุโรปตกอยู่ภายใต้สภาวะอันยาวนานของยุคสมัยสีเทา กองกำลังของพวกปฏิกิริยาได้รับชัยชนะหากทว่ามันเป็นเพียงรูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้น  ภายใต้เปลือกแห่งความสงบนั้น มันเกิดคลื่นใต้น้ำที่เตรียมพร้อมสำหรับการปฏิวัติอยู่อย่างเข้มข้น

ชัยชนะของระบบทุนนิยมภายในยุโรปนั้นได้ก่อให้เกิดรากฐานสำหรับการขยายตัวอย่างใหญ่โตของอุตสาหกรรม และด้วยเหตุนั้นเองมันได้ช่วยเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ชนชั้นที่ถูกกำหนดให้ต้องโค่นล้มระบบทุนนิยมลง อันเป็นชนชั้นที่นำสังคมใหม่ในระดับที่สูงขึ้นในพัฒนาการทางสังคมมานั่นคือสังคมนิยม ดังเช่นที่มาร์กซ์และเองเกลส์นั้นได้เขียนเอาไว้ใน The Communist Manifesto

“ปิศาจตนหนึ่งกำลังหลอกหลอนประเทศยุโรป นั่นคือปิศาจที่ชื่อว่าคอมมิวนิสต์ อันทำให้อำนาจเก่าทั้งหลายในยุรปนั้นต้องรวมพลังกันเพื่อจะกำราบผีร้ายตนนี้ลง นั่นคือการรวมพลังของ Pope และ Tsar, Metternich และ Guizot, French Radicals และ German police-spies.”

คำกล่าวนี้ได้อธิบายถึงสภาพระบบปฏิกิริยาที่สถาปนาขึ้นโดยการประชุมใหญ่แห่งเวียนนาภายหลังความพ่ายแพ้ของนโปเลียนในปี 1815 ซึ่งจุดมุ่งหมายของมันนั้นตั้งขึ้นมาเพื่อทำลายโอกาสและความเสี่ยงที่จะเกิดการปฏิวัติขึ้นลงทั้งหมด หรือก็คือเพื่อปราบปรามผีร้ายของการปฏิวัติในฝรั่งเศสไปตลอดกาล ระบบเผด็จการอันเหี้ยมโหดที่เกิดจาก “อำนาจเก่าในยุโรป” นั้นดูเหมือนว่ามันจะสามารถดำรงอยู่ไปได้ตลอดกาล หากทว่าในช่วงเวลาไม่นานหลังจากนั้นทุกสิ่งทุกอย่างก็กลับตาลปัตร ภายใต้เปลือกนอกของพวกปฏิกิริยา กลุ่มพลังใหม่ได้สะสมกำลังและเติบโตอย่างขึ้นที่จนพร้อมสำหรับการปฏิวัติพร้อมๆกับการถือกำเนิดของกลุ่มพลังทางชนชั้นปฏิวัติ นั่นคือชนชั้นกรรมาชีพ

การปฏิปักษ์ปฏิวัตินั้นได้ถูกโค่นล้มลงด้วยคลื่นลูกใหม่ของการปฏิวัติที่ขยายวงกว้างไปทั่วยุโรปในปี 1848 การปฏิวัตินั้นต่อสู๔ภายใต้การชูธงเรียกร้องประชาธิปไตย ซึ่งการชูธงแบบเดียวกันนี้เคยปรากฏขึ้นเหนือแนวเครื่องกีดขวางในการปฏิวัติฝรั่งเศสปี 1789 หากแต่ว่าการปฏิวัติในครั้งนี้ไม่ได้ถูกนำโดยพวกกระฎุมพีปฏิกิริยาที่ขี้ขลาดตาขาว หากแต่มันถูกนำโดยกลุ่มลูกหลานผู้กล้าหาญของชนชั้นแรงงานฝรั่งเศส ซึ่งได้จารึกความคิดใหม่ลงในผืนธงแห่งการปฏิวัตินั่นคือความคิดแบบคอมมิวนิสต์

การปฏิวัติในปี 1848-1849 นั้นล้มเหลวและประสบความพ่ายแพ้ลงก็ด้วยความขี้ขลาดและการทรยศโดยพวกกระฎุมพีและพวกผู้แทนเสรีนิยม กลุ่มปฏิกิริยาได้กลับมาครองอำนาจอีกครั้งจนกระทั่งในปี 1871 เมื่อวีรชนของชนชั้นกรรมาชีพได้นำกำลังบุกเข้ายึดปารีสและสถาปนาคอมมูนปารีสขึ้น อันนับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ที่ชนชั้นแรงงานได้โค่นล้มระบบรัฐของกระฎุมพีลงและสถาปนารัฐรูปแบบใหม่ขึ้น นั่นคือรัฐของคนงาน ช่วงเวลาอันรุ่งโรจน์นี้ดำรงอยู่เพียงไม่กี่เดือนก่อนที่คอมมูนปารีสจะถูกปราบปรามอย่างนองเลือด หากทว่ามันก็ได้ทิ้งมรดกและแรงบันดาลใจขั้นพื้นฐานอันนำไปสู่การปฏิวัติรัสเซียในปี 1917

การปฏิวัติรัสเซีย (The Russian Revolution)

สำหรับนักมาร์กซิสต์แล้วนั้น การปฏิวัติรัสเซียถือเป็นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญที่สุดภายใต้การนำของพรรคบอลเชวิคในยุคเลนิน และทรอสกี้นั้นชนชั้นกรรมาชีพได้รับชัยชนะและประสบความสำเร็จในการโค่นล้มผู้กดขี่ขูดรีดและเริ่มต้นภารกิจทางประวัติศาสตร์ในการเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่การเป็นสังคมนิยม

อย่างไรก็ตามการปฏิวัตินี้ไม่ได้เกิดขึ้นในประเทศที่เป็นประเทศทุนนิยมก้าวหน้าดังที่มาร์กซ์ได้คาดการณ์ไว้ หากทว่ามันกลับไปเกิดขึ้นในประเทศที่ล้าหลังอย่างมาก และหากจะให้ยกตัวอย่างความผิดพลาดจากการเกิดการปฏิวัติในประเทศล้าหลังอันหลายเป็นเงื่อนไขที่พรรคบอลเชวิคต้องเผชิญนั้น ตัวอย่างที่ชัดเจนก็คือปัญหาความอดอยากที่ทำให้ประชาชนรัสเซียล้มตายไปกว่า 6 ล้านคนเนื่องจากปัญหาความอดอยากภายในปี 1920 เพียงปีเดียว

มาร์กซ์และเองเกลส์นั้นได้อธิบายถึงสังคมนิยมเอาไว้เมื่อนานมาแล้ว – หรือก็สังคมไร้ชนชั้นนั้น – จำเป็นจะต้องมีเงื่อนไขทางวัตถุเพื่อการดำรงอยู่หรือการสถาปนามันขึ้น จุดเริ่มต้นของสังคมนิยมนั้นจำเป็นจะต้องเริ่มต้นขึ้นด้วยการพัฒนากำลังการผลิตในระดับที่สูงกว่ารัฐทุนนิยมที่ก้าวหน้าที่สุด (ตัวอย่างเช่น สหรัฐอเมริกา) อันเนื่องมาจากมันจำเป็นจะต้องมีพัฒนาการด้านอุตสาหกรรม เกษตรกรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงเท่านั้นที่จะสามารถช่วยการันตีการยกระดับสังคมไปสู่พัฒนาการทางสังคมในระดับที่สูงขึ้นได้ นั่นคือสังคมนิยมที่จะช่วยลดชั่วโมงการทำงานของแรงงานให้น้อยลงแต่ได้ผลการผลิตที่มากขึ้น ซึ่งเงื่อนไขเบื้องต้นก่อนสิ่งอื่นใดก็คือการสร้างการมีส่วนร่วมของชนชั้นแรงงานในกระบวนการบริหารจัดการและควบคุมสังคมผ่านกระบวนการประชาธิปไตย

เองเกลส์นั้นได้เคยอธิบายเอาไว้นานแล้วเกี่ยวกับสังคมใดๆก็ตามที่ศิลปะ วิทยาศาสตร์ และการปกครองนั้นผูกขาดเอาไว้โดยกลุ่มอภิสิทธิ์ชนขนาดย่อมนั้น กลุ่มคนเหล่านี้ย่อมจะหยิบใช้สิ่งต่างๆดังกล่าวมาเพื่อผลประโยชน์ของกลุ่มชนหรือชนชั้นของตัวเอง เลนินนั้นสามารถที่จะรับรู้และมองเห็นถึงปัญหาและความอันตรายในการเสื่อมถอยของการปฏิวัติอันเนื่องมาจากเงื่อนไขความล้าหลังด้านกำลังการผลิตได้อย่างรวดเร็ว ในงานเรื่อง State and Revolution ซึ่งเขียนขึ้นในปี 1917 เลนินนั้นได้เขียนอธิบายเค้าโครงของการปฏิวัติซึ่งถอดบทเรียนมาจากกรณีคอมมูนปารีส เขาได้อธิบายถึงเงื่อนไขและปัจจัยขั้นพื้นฐาน – ที่ไม่ใช่เงื่อนไขหรือปัจจัยพื้นฐานสำหรับสังคมนิยมหรือสังคมคอมมิวนิสต์ – หากทว่าเป็นปัจจัยและเงื่อนไขขั้นพื้นฐานสำหรับห้วงเวลาแรกหลังการปฏิวัติประสบความสำเร็จ นั่นคือห้วงเวลาระหว่างการเปลี่ยนผ่านระหว่างสังคมทุนนิยมไปสู่สังคมนิยม ซึ่งเลนินได้เขียนเสนอเงื่อนไขดังกล่าวตามลำดับดังนี้

1) สิทธิการเลือกตั้งที่เสรีและเป็นประชาธิปไตยรวมถึงอำนาจในการจะเรียกคืนอำนาจจากเจ้าหน้าที่รัฐ

2) ไม่มีเจ้าหน้าที่รัฐคนไหนที่จะได้รับค่าจ้างสูงกว่าแรงงานมีฝีมือ

3) ไม่มีกองทัพประจำการ ยกเว้นแต่กองทัพประชาชนที่ติดอาวุธ

4) มันจะต้องมีกระบวนการเปลี่ยนผ่านอย่างค่อยๆเป็นค่อยๆไปเพื่อจะเปลี่ยนผ่านงานในการบริหารและขับเคลื่อนรัฐให้ย้ายไปอยู่ในมือของแรงงาน กล่าวคือเมื่อทุกคนในรัฐนั้นเป็น “ข้าราชการ” ในทางกลับกันนั้นก็หมายถึงว่าไม่มีใครเลยที่เป็นข้าราชการ

นี่คือเค้าโครงการในการจะสถาปนาระบบประชาธิปไตยของคนงาน ซึ่งมีเป้าหมายโดยตรงในการต่อต้านอันตรายที่จะเกิดจากระบบข้าราชการ ซึ่งในทางกลับกันนั้นมันได้กลายมาเป็นรากฐานสำหรับการปฏิวัติปี 1919 ของพรรคบอลเชวิค ในทางกลับกันนั้นความเป็นจริงในยุคสมัยนั้นตรงกันข้ามกับการใส่ร้ายป้ายสีจากศัตรูของสังคมนิยม โซเวียตรัสเซียในห้วงเวลาของเลนินและทรอสกี้นั้นถือเป็นรัฐที่ปกครองด้วยรูปแบบประชาธิปไตยที่ก้าวหน้าที่สุดในประวัติศาสตร์

อย่างไรก็ตามระบบประชาธิปไตยของคนงานในโซเวียตที่ถูกสถาปนาขึ้นโดยการปฏิวัติเดือนตุลาของพรรคบอลเชวิคนั้นไม่อาจจะดำรงอยู่ได้นานนัก ในช่วงต้นของทศวรรษที่ 1930 ระบบทั้งหมดที่ถูกสถาปนามาโดยพรรคบอลเชวิคก็พังทลายลง ภายใต้การปกครองของสตาลิน รัฐของคนงานนั้นเสื่อมถอยกลับไปอยู่ภายใต้การปกครองของกลุ่มข้าราชการที่ได้สถาปนาระบบเผด็จการอำนาจนิยมของข้าราชการอันโหดร้ายขึ้นพร้อมๆกับการเริ่มต้นกวาดล้างกลุ่มการเมืองที่สนับสนุนแนวทางแบบเลนิน เหตุผลสำคัญที่ทำการโต้กลับการปฏิวัติของกลุ่มสตาลินประสบความสำเร็จขึ้นมาได้นั้นก็เนื่องมาจากการปฏิวัติรัสเซียเกิดขึ้นในประเทศล้าหลังที่แยกขาดตัวเองออกจากประเทศอื่นๆ รายละเอียดของกระบวนการโต้กลับการปฏิวัติของกลุ่มสตาลินนั้นได้ถูกเขียนอธิบายเอาไว้โดยทรอสกี้ในงานของเขาเรื่อง The Revolution Betrayed

มันเป็นไปไม่ได้ที่สังคมจะก้าวกระโดดเปลี่ยนผ่านจะสังคมทุนนิยมไปสู่สังคมไร้ชนชั้นได้โดยตรง มรดกตกทอดและสิ่งตกค้างของสังคมทุนนิยมทั้งทางวัตถุและวัฒนธรรมนั้นไม่เพียงพอที่จะก้าวกระโดดไปสู่สังคมไร้ชนชั้นได้ อันเนื่องมาจากอุปสรรคทั้งความขาดแคลนและความไม่เสมอภาคที่ไม่อาจจะเอาชนะได้ในฉับพลันทันที ดังนั้นหลังการปฏิวัติได้รับชัยชนะแล้วมันจึงจำเป็นจะต้องมีห้วงเวลาสำหรับการเปลี่ยนผ่านที่จะช่วยเตรียมพื้นฐานสำหรับการก้าวไปสู่สังคมไร้ชนชั้น

มาร์กซ์เรียกสังคมหลังการปฏิวัติอันเป็นก้าวแรกที่จะนำไปสู่สังคมใหม่นี้ว่า “สังคมคอมมิวนิสต์ระดับต่ำ” ซึ่งเป็นคู่ตรงข้ามกับ “สังคมคอมมิวนิสต์ระดับสูง” ที่จะมาถึงเมื่อเงื่อนไขทางวัตถุที่เป็นสิ่งตกค้างจากสังคมเก่านั้นได้ถูกทำลายลงจนหมดสิ้น ในแง่นี้สังคมนิยมและคอมมิวนิสต์จึงสามารถเปรียบเทียบกันได้ในแง่ของ “ระดับต่ำและสูง” ของลำดับขั้นของสังคมใหม่

มาร์กซ์ยังได้เขียนอธิบายถึงสังคมคอมมิวนิสต์ระดับต่ำเอาไว้ว่า “สิ่งที่เรากำลังสร้างขึ้นนี้คือสังคมคอมมิวนิสต์ซึ่งไม่ได้ถือกำเนิดขึ้นมาได้โดยตัวมันเอง แต่ในทางตรงกันข้ามมันถือกำเนิดมาจากรากฐานของสังคมทุนนิยม ซึ่งเป็นเรื่องปกติที่เกิดขึ้นทั้งในทางเศรษฐกิจ ศีลธรรม และสติปัญญาองค์ความรู้ ซึ่งล้วนแล้วแต่ถือกำเนิดมาจากรากฐานขององค์ความรู้เดิม” (Marx and Engels, Selected Works, Critique of the Gotha Programme, by Marx, Vol. 3, p. 17. From here on referred to as MESW.)

“ห้วงเวลาระหว่างสังคมทุนนิยมและสังคมคอมมิวนิสต์ มันจำเป็นจะต้องมีห้วงเวลาสำหรับการเปลี่ยนผ่านจากสิ่งหนึ่งไปสู่อีกสิ่งหนึ่ง ซึ่งสอดคล้องไปกับการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองที่รัฐจะไม่อาจเป็นสิ่งอื่นใดได้นอกเสียจากรัฐของชนชั้นกรรมาชีพที่ปกครองด้วยระบบเผด็จการของชนชั้นกรรมาชีพ”

ดังเช่นที่นักทฤษฎีมาร์กซิสต์หลายคนได้เคยกล่าวไว้ ภารกิจในการปฏิวัติสังคมนิยมนั้นก็คือการทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเข้าสู่อำนาจโดยการโค่นล้มระบบรัฐแบบเก่าของชนชั้นนายทุน ถัดมานั้นคือการทำลายกลไกในการปราบปรามของรัฐที่ออกแบบมาเพื่อควบคุมและปราบปรามชนชั้นกรรมาชีพ มาร์กซ์อธิบายว่ารัฐของชนชั้นนายทุนรวมถึงระบบราชการภายในรัฐดังกล่าวนี้นั้นไม่อาจจะทำงานรับใช้สังคมใหม่ได้ ดังนั้นมันจึงจำเป็นจะต้องถูกยุบทิ้งไปเสีย อย่างไรก็ตามรัฐและสังคมใหม่ที่ก่อตั้งขึ้นโดยชนชั้นแรงงานนั้นย่อมจะแตกต่างกับสังคมในอดีตที่ผ่านมาโดยสิ้นเชิง เองเกลส์อธิบายถึงรัฐใหม่นี้เอาไว้ว่าเป็นเสมือน รัฐชั่วคราว อันเป็นรูปแบบรัฐที่ถูกออกแบบมาเพื่อดำรงอยู่เพียงชั่วคราวในภารกิจการเปลี่ยนผ่านสังคมเท่านั้น

อย่างไรก็ตามสำหรับมาร์กซ์แล้ว – และนี่เป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่ง – สังคมคอมมิวนิสต์ระดับต่ำนั้นจำเป็นจะต้องถือกำเนิดมาพร้อมระดับการพัฒนาทางกำลังการผลิตและการพัฒนาทางเศรษฐกิจในระดับที่สูงกว่าประเทศทุนนิยมก้าวหน้าที่สุด ที่สิ่งนี้เป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่งนั้นก็เพราะว่าหากปราศจากการพัฒนากำลังการผลิตอย่างมโหฬารแล้ว มันย่อมจะตามมาด้วยปัญหาและอุปสรรคมากมายที่ส่งผลต่อการดำรงอยู่ของระบบคอมมิวนิสต์

ดังเช่นที่มาร์กซ์ได้อธิบายไว้ว่าสภาพการณ์แบบดังกล่าวนั้นย่อมจะนำมาซึ่งการถดถอยไปสู่ความเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของสังคมคอมมิวนิสต์ “พัฒนาการของกำลังการผลิตนั้นเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับรากฐาน [ของสังคมคอมมิวนิสต์] อันเนื่องมาจากหากปราศจากการพัฒนากำลังการผลิตแล้ว ปัญหาเรื่องการพัฒนากำลังการผลิตย่อมกลายมาเป็นความขัดแย้งอีกครั้ง และนั่นจะทำให้ซากเดนของสังคมทุนนิยมสามารถย้อนกลับมาได้อีกครั้ง” (MESW, The German Ideology, Vol. 1, p. 37, my emphasis)

คำกล่าวในอดีตของมาร์กซ์นี้ได้อธิบายว่าเพราะเหตุใดการปฏิวัติรัสเซียจึงจบลงด้วยการย้อนกลับไปสู่การสถาปนาระบบรัฐข้าราชการและระบบเผด็จการอำนาจนิยมของสตาลิน ซึ่งกลายมาเป็นการวางรากฐานให้กับการรื้อฟื้นระบบทุนนิยมในรัสเซีย “ซากเดนทั้งหลาย” สามารถจะฟื้นคืนชีพกลับมาได้เพราะการปฏิวัติรัสเซียนั้นเกิดขึ้นในประเทศที่ล้าหลังทั้งทางวัตถุและวัฒนธรรมซึ่งโดดเดี่ยวตัวเอง แต่ว่าในปัจจุบันนี้ด้วยการพัฒนาและความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีอันกว้างขวางนั้น ทำให้มันย่อมจะไม่เกิดเรื่องเช่นนี้ขึ้นอีกหากมีการปฏิวัติเกิดขึ้น

ความก้าวหน้าอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน (Unprecedented advance)

ในทุกๆความก้าวหน้าของพัฒนาการทางประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์นั้นล้วนแล้วแต่มีรากฐานมาจากพัฒนาการในสังคมก่อนหน้า ซึ่งนี่เป็นเรื่องจริงทั้งในทางพัฒนาการของสังคมมนุษย์และในกระบวนการวิวัฒนาการของมนุษย์ พวกเรานั้นวิวัฒนาการมาจากสิ่งมีชีวิตชั้นต่ำและพันธุกรรมของพวกเรานั้นก็เกี่ยวพันกับสิ่งมีชีวิตยุคโบราณ ดังเช่นที่เราสามารถพิสูจน์มันได้ผ่านจีโนมของมนุษย์ พวกเรานั้นถูกแบ่งแยกและแตกต่างจากสิ่งมีชีวิตที่ใกล้เคียงกับมนุษย์จากลิงชิมแพนซีเนื่องจากความแตกต่างในพันธุกรรมที่น้อยกว่า 2% หากทว่าความแตกต่างเพียงเล็กน้อยในเชิงตัวเลขนี้ได้สร้างความแตกต่างขนาดมหึมาระหว่างเรากับลิงชิมแพนซี

พวกเรานั้นได้พัฒนาผ่านสังคมบุพกาล สังคมอนารยธรรม สังคมทาส และสังคมศักดินาและในทุกๆระดับขั้นของการพัฒนานั้นต่างก็ได้แสดงให้เห็นความชัดเจนในการพัฒนากำลังการผลิตและการพัฒนาวัฒนธรรม เฮเกลนั้นได้เขียนอธิบายถึงเรื่องดังกล่าวเอาไว้ด้วยข้อความอันสวยงามในงานเรื่อง Phenomenology of Mind ดังนี้

“ดอกตูมของดอกไม้นั้นจะหายไปเมื่อดอกไม้เริ่มเบ่งบาน เราสามารถกล่าวได้ว่าสิ่งเก่านั้นจะเลือนหายไปเมื่อสิ่งใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้นแทนที่ ในทางเดียวกันนั้นเมื่อมันเริ่มออกผล ดอกไม้ที่เบ่งบานนี้ก็จะสลายหายไปและถูกแทนที่ด้วยผลไม้ ซึ่งทั้งหมดนี้ล้วนแล้วแต่เกิดขึ้นในสถานที่เดียวกัน กระบวนการตามธรรมชาติที่ไม่มีที่สิ้นสุดนี้ได้ก่อให้เกิดเอกภาพทางอินทรีย์ ซึ่งทำให้มันไม่ได้เป็นเพียงคู่ตรงข้ามกับสิ่งอื่น หากทว่ามันจำเป็นจะต้องเป็นสิ่งตรงข้ามต่อสิ่งอื่นเพื่อก่อให้เกิดชีวิตขององค์รวมทั้งหมด”

ทุกๆความก้าวหน้าในพัฒนาการทางสังคมนั้นล้วนแล้วแต่มีที่มาและปรากฏขึ้นมาจากสังคมเก่าที่ดำรงอยู่ก่อนหน้า ประวัติศาสตร์นั้นจะสามารถถูกเข้าใจได้ทั้งหมดก็ต่อเมื่อเรามองมันเป็นเอกภาพที่มีความต่อเนื่องกัน ในทุกๆการพัฒนานั้นล้วนแล้วแต่มี จุดมุ่งหมาย ในการพัฒนากำลังการผลิต ซึ่งในที่สุดแล้วจะขยับเข้าไปสู่การเป็นคู่ตรงข้ามกับการพัฒนาใหม่ในระดับที่สูงขึ้นในอนาคตเมื่อถึงสถานการณ์ที่เหมาะสมที่จะทำให้เกิดการปฏิวัติและทำลายระบบรูปแบบดั้งเดิมเพื่อเปิดทางให้ระบบใหม่ได้ถือกำเนิดขึ้น

ดังที่เราได้เห็นมาแล้วว่าชัยชนะของพวกกระฎุมพีนั้นเกิดขึ้นได้ก็ด้วยอาศัยวิถีทางของการปฏิวัติ ถึงแม้ว่าในปัจจุบันพวกเขาจะกลายไปเป็นกลุ่มผู้ปกป้องระบบทุนนิยมแต่มันก็ไม่ได้ทำลายความจริงทางประวัติศาสตร์ดังกล่าวไป ดังเช่นที่มาร์กซ์ได้เคยอธิบายไว้ ชนชั้นกระฎุมพีนั้นในทางประวัติศาสตร์แล้วพวกเขาเคยรับบทบาทในการปฏิวัติอย่างมาก

“ชนชั้นกระฎุมพีนั้นไม่อาจจะดำรงอยู่ได้หากปราศจากการปฏิวัติเครื่องมือในการผลิต และด้วยเหตุนั้นต้องเกิดการปฏิวัติความสัมพันธ์ทางการผลิต และนั่นหมายถึงการปฏิวัติความสัมพันธ์ทางสังคมทั้งหมด การพยายามดำรงรักษาวิถีการผลิตแบบเก่าในรูปแบบที่ไม่เปลี่ยนแปลงนั้น ในทางตรงข้ามแล้วเป็นเงื่อนไขแรกที่ทำให้เกิดระบบชนชั้นอุตสาหกรรมยุดแรก การปฏิวัติการผลิตที่คงที่ การรบกวนปัจจัยทางสังคมอย่างไม่หยุดหย่อน ความไม่แน่นอนและการปลุกปั่นที่สม่ำเสมอนั้นเป็นสิ่งที่แบ่งแยกยุคสมัยของชนชั้นกระฎุมพีออกจากยุคสมัยที่เคยผ่านมา” (Communist Manifesto)

ภายใต้ระบบทุนนิยมนั้นกำลังการผลิตได้รับการพัฒนาให้ก้าวหน้าขึ้นอย่างมาก เป็นความก้าวหน้าอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติ ถึงแม้ในขณะเดียวกันนั้นจะเป็นความจริงที่ระบบทุนนิยมเองก็เป็นระบบที่กดขี่และขูดรีดมากที่สุดเท่าที่โลกเคยเจอมา ดังเช่นที่มาร์กซ์ได้กล่าวเอาไว้ว่า “ระบบทุนนิยมนั้นเป็นระบบที่สูบเลือดออกจากทุกอณูในร่างกายของเรา” อย่างไรก็ตามระบบทุนนิยมก็ได้สร้างการพัฒนาอย่างก้าวกระโดดครั้งใหญ่ในการพัฒนากำลังการผลิต – นั่นคือการพัฒนาอำนาจของมนุษย์ในการจะเอาชนะธรรมชาติ

ในห้วงเวลาสองศตวรรษล่าสุดนั้น กระบวนการพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้พัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วที่สุดเท่าที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ กราฟในพัฒนาการของมนุษย์ในประวัติศาสตร์ที่จวนเจียนเกือบจะเป็นระนาบเส้นตรงนั้น ได้ขยับพุ่งสูงขึ้นภายในห้วงเวลาอันสั้น ซึ่งกระบวนการพัฒนาอันรวดเร็วของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีนี้เป็นเงื่อนไขขั้นแรกสำหรับการปลดแอกขั้นสุดท้ายของมนุษย์ อันจะนำไปสู่การยุติปัญหาความยากจน การเข้าไม่ถึงการศึกษา ความโง่เขลา โรคระบาด และจะนำไปสู่การควบคุมธรรมชาติโดยกำลังแรงงานของมนุษย์ผ่านระบบเศรษฐกิจแบบวางแผน เส้นทางแห่งการปลดแอกนั้นเปิดทางอยู่เบื้องหน้าเราแล้ว มันกำลังรอให้เราไปยึดครองมันอยู่ไม่เฉพาะแต่บนโลกเท่านั้น หากทว่ายังหมายถึงความก้าวหน้าในอวกาศด้วย

ความเสื่อมถอยของระบบทุนนิยม (Capitalism in decline)

สังคมในทุกยุคทุกสมัยมักตกอยู่ภายใต้ภายมายาที่ว่าระบบของสังคมนั้นๆจะคงอยู่ตลอดไปตราบนิจนิรันดร พวกเขาเชื่อว่าระบบสังคมที่พวกเขาอาศัยอยู่นั้นเป็นระบบเดียวที่จะสามารถเป็นไปได้และจะเป็นระบบสุดท้ายของประวัติศาสตร์มนุษย์ นั่นคือสถาบันของสังคม ศาสนา ระบบศีลธรรม ของสังคมนั้นเป็นสิ่งสุดท้ายที่จะถูกประกาศได้ และนั่นคือสิ่งที่บรรดาผู้นำในอดีตต่างก็เชื่อถือกันเช่นนั้น และนี่เป็นสิ่งที่เหล่ากระฎุมพีและผู้ที่คอยแก้ต่างให้กับระบบทุนนิยอมมักจะนำมาตอบโต้เรา ว่าสิ่งที่เรียกกันว่า “ระบบเศรษฐกิจเสรี” นั้นเป็นระบบเดียวที่สามารถจะเป็นไปได้

ระบบทุนนิยมในปัจจุบันนั้นเป็นเสมือนพวกหมอผีฝึกหัดที่พยายามจะร่ายคาถาอันทรงพลังที่ตัวเองไม่สามารถควบคุมได้ ความขัดแย้งระดับรากฐานของสังคมทุนนิยมนั้นคือความเป็นปรปักษ์กันระหว่างลักษณะการผลิตของสังคม กับ รูปแบบการถือครองกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล จากศูนย์กลางของความขัดแย้งดังกล่าวนี้ได้ก่อให้เกิดความขัดแย้งอื่นๆตามมาอีกจำนวนมาก ซึ่งความขัดแย้งที่ว่านี้จะแสดงออกมาให้เห็นเป็นระยะๆ ตามที่มาร์กซ์ได้อธิบายเอาไว้ว่า

“ในวิกฤตเหล่านี้ ส่วนสำคัญที่สุดนั้นไม่ใช่เพียงแต่การผลิตที่เป็นอยู่ แต่ยังรวมถึงการสร้างกำลังการผลิตในยุคก่อนหน้าที่กำลังถูกทำลายลงเป็นระยะๆ ในวิกฤตเหล่านี้มันได้แพร่กระจายเชื้อบางอย่างในยุคก่อนหน้า อันเป็นสิ่งที่ดูไร้สาระอย่างยิ่งนั่นคือ – การแพร่กระจายของการผลิตจนล้นเกิน ทันใดนั้นเองสังคมก็ได้ตระหนักว่ามันได้ก้าวเข้าสู่สภาพของความป่าเถื่อนแล้ว ซึ่งมันปรากฏขึ้นมาผ่านปัญหาความอดอยาก การขยายวงกว้างของสงครามและการทำลายล้าง ซึ่งได้ทำลายปัจจัยของวิถีการดำรงชีพลงทั้งหมด ธุรกิจและอุตสาหกรรมนั้นดูเหมือนจะถูกทำลายลง ทำไมมันจึงเป็นเช่นนั้น? นั่นก็เพราะมันมีความเจริญที่มากจนเกินไป มันมีวิถีการดำรงชีพที่มากจนเกินไป กำลังการผลิตในสังคมเช่นนี้นั้นไม่มีแนวโน้มที่จะก้าวไปสู่การพัฒนาเงื่อนไขด้านความมั่งคั่งให้กับกระฎุมพีได้ ในทางตรงข้ามมันกลับกลายเป็นสิ่งที่ทรงพลังเหนือเงื่อนไขเหล่านี้ พวกมันเคยถูกล่ามโซ่เอาไว้หากทว่าในไม่ช้ามันจะสามารถเอาชนะโซ่ล่ามและเครื่องเหนี่ยวรั้งตัวมันเองได้ และจะนำความวุ่นวายมาสู่สังคมของกระฎุมพี และเป็นอันตรายต่อการดำรงอยู่ของทรัพย์สินของพวกกระฎุมพี เงื่อนไขของพวกกระฎุมพีนั้นดูคับแคบอย่างยิ่งหากเทียบกับความมั่งคั่งของพวกเขาแล้ว แล้วพวกกระฎุมพีสามารถเอาชนะวิกฤตเหล่านี้ได้อย่างไร? ในทางหนึ่งนั้นพวกเขาใช้วิธีการทำลายกำลังการผลิตลง และในอีกทางหนึ่งนั้นคือการเข้ายึดครองตลาดใหม่และด้วยการขูดรีดที่มากขึ้น ซึ่งเราสามารถจะกล่าวได้ว่า พวกเขาได้ขยายเส้นทางให้กว้างมากขึ้นและสร้างวิกฤตอันเป็นอันตรายมากยิ่งขึ้น” (The Communist Manifesto)

นี่คือคำบรรยายที่ชัดเจนที่สุดของสถานการณ์ในปัจจุบัน ซึ่งนี่เป็นเรื่องตลอกร้ายอย่างยิ่งที่มนุษย์นั้นสามารถพัฒนาความสามารถในการผลิตของตัวเองขึ้น พัฒนาความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีที่ล้ำสมัย หากทว่าประชากรส่วนใหญ่ของโลกกลับยังประสบกับปัญหาความยากจน ความอดอยาก ความทุกข์ทรมานอย่างแสนสาหัสอยู่ ความไร้สมรรถภาพของระบบทุนนิยมนั้นได้แสดงตัวเองออกมาให้เห็นอย่างชัดเจนในวิกฤตเมื่อปี 2008 ซึ่งนี่นับเป็นจุดเริ่มต้นของวิกฤตครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์กว่า 200 ปีของระบบทุนนิยม และวิกฤตนี้เดินทางมาไกลเกินกว่าการแก้ไข นี่คือสิ่งที่แสดงให้เห็นความอับจนและทางตันของระบบทุนนิยม ซึ่งในท้ายที่สุดแล้วมันคือการลุกขึ้นของกำลังการผลิตในการต่อต้านระบบกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคลและแนวคิดรัฐชาติ

ทางเลือกระหว่างสังคมนิยมกับสังคมป่าเถื่อน (Socialism or barbarism)

เป็นเวลากว่าพันปีที่การสร้างสรรค์วัฒนธรรมนั้นถูกผูกขาดเอาไว้ในมือของพวกอภิสิทธิ์ชนกลุ่มเล็กๆ ในขณะที่คนส่วนใหญ่ของสังคมนั้นถูกกีดกันออกจากการเข้าถึงองค์ความรู้ต่างๆ วิทยาศาสตร์ ศิลปะ และการปกครอง และมันยังคงเป็นเช่นนั้นอยู่แม้กระทั่งในปัจจุบัน โลกที่เรากำลังอาศัยอยู่ในปัจจุบันนี้ไม่ได้เป็นโลกที่เต็มไปด้วยความเมตตาหรือความศิวิไลซ์ หากแต่เป็นโลกที่ผ่าเถื่อนและโหดร้าย ซึ่งผู้อยู่อาศัยนั้นก็คือกลุ่มคนที่เคยพยายามโค่นล้มความป่าเถื่อนของสังคมก่อนหน้ามา ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนจำนวนมากในปัจจุบันนั้นยังคงเป็นชีวิตที่โหดร้ายพวกเขาต้องต่อสู้และอดทนอย่างหนักเพื่อจะมีชีวิตรอด ไม่เฉพาะแต่ในประเทศด้อยพัฒนาเท่านั้นหากทว่าสภาพดังกล่าวยังคงปรากฏอยู่ในประเทศทุนนิยมก้าวหน้าด้วย

มาร์กซ์ได้ชี้ให้เห็นว่ามันมีความเป็นไปได้เพียงสองรูปแบบสำหรับอนาคตของมนุษยชาติ นั่นคือ ทางเลือกระหว่างสังคมนิยมกับสังคมป่าเถื่อน ปมปัญหาสำคัญจึงถูกจัดวางเงื่อนไขขึ้นอย่างชัดเจนที่สุด ในยุคสมัยที่กำลังจะมาถึงหากว่าชนชั้นแรงงานสามารถเข้ายึดกุมอำนาจรัฐเอาไว้ในมือได้ โค่น้ลมระบบทุนนิยมที่กำลังจะล่มสลายและสถาปนาระเบียบสังคมใหม่ที่วางรากฐานอยู่บนระบบการผลิตแบบร่วมมือกันที่มีเหตุมีผล และการควบคุมชีวิตของตนเองอย่างมีจิตสำนึกของมนุษย์ หรือในอีกแง่หนึ่งก็คือหากชนชั้นแรงงานไม่อาจจะเปลี่ยนแปลงโลกได้ เราก็จะก้าวไปสู่การเผชิญหน้าการล่มสลายของสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม

วิกฤตของระบบทุนนิยมนั้นไม่ใช่เพียงวิกฤตทางเศรษฐกิจที่คุกคามต่อหน้าที่การงานและคุณภาพชีวิตของคนนับล้านทั่วโลก หากแต่มันยังคุกคามต่อรากฐานการดำรงอยู่ของอารยธรรมมนุษย์ด้วย – ตราบเท่าที่ระบบทุนนิยมยังคงอยู่มันจะฉุดลากมนุษยชาติให้กลับไปสู่ความป่าเถื่อน ถ้าหากว่าชนชั้นกรรมาชีพ – ผู้เป็นชนชั้นปฏิวัติอย่างแท้จริง – ไม่ประสบความสำเร็จในการโค่นล้มระบบผูกขาดของนายทุนและนายธนาคาร สถานการณ์ย่อมจะเดินหน้าไปสู่การล่มสลายและกระทั่งการย้อนกลับไปสู่ยุคสมัยแห่งความป่าเถื่อน

จิตสำนึก (Consciousness)

วิภาษวิธีนั้นได้สอนเราว่าไม่ว่าจะช้าหรือเร็วสรรพสิ่งต่างๆล้วนจะเปลี่ยนแปลงไปสู่การเป็นปรปักษ์กับตัวมันเอง ในทางเดียวกันนั้นมันจึงเป็นไปได้ที่เราจะร่างเปรียบเทียบระหว่างสังคมกับธรณีวิทยา เช่นเดียวกับเปลือกโลกที่มีการเคลื่อนไหวอย่างช้าๆ โดยมีการทดแทนความล่าช้านั้นด้วยการเกิดแผ่นดินไหวอย่างรุนแรง ดังนั้นในทางเดียวกันความเชื่องช้าของพัฒนาการทางจิตสำนึกของมวลชนที่มาช้ากว่าปรากฏการณ์นั้นย่อมจะถูกแทนที่ด้วยการเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงในระดับจิตสำนึกของพวกเขาภายหลังปรากฏการณ์ วิกฤตของระบบทุนนิยมนั้นโดยตัวมันเองได้เป็นสิ่งยืนยันถึงความถูกต้องอย่างชัดเจนของวิภาษวิธี วิภาษวิธีนั้นได้ตอบแทนความผิดพลาดนั้นให้กับพวกกระฎุมพีผู้ที่ไม่รู้อะไรเลย ไม่อาจจะคาดเดาอะไรได้เลย และไม่สามารถจะแก้ไขอะไรได้เลย

การล่มสลายของสหภาพโซเวียตนั้นได้สร้างความสิ้นหวังและหมดกำลังใจในหมู่ชนชั้นแรงงาน กลุ่มผู้ปกป้องระบบทุนนิยมนั้นได้เริ่มต้นการโต้กลับทางอุดมการณ์เพื่อต่อต้านความคิดสังคมนิยมของมาร์กซ์ พวกเขาให้คำมั่นสัญญาถึงสังคมที่เต็มไปด้วยสันติภาพ ความเจริญรุ่งเรือง และประชาธิปไตยอันจะเกิดจากระบบเศรษฐกิจแบบตลาดเสรี หลังจากวันนั้นเวลาได้ผ่านไปกว่าสองทศวรรษแล้ว

สงคราม การว่างงาน ความยากจน และความอดอยากได้แพร่กระจายไปทั่วทุกหนทุกแห่ง และในทุกที่นั้นมันได้เกิดความคิดในการต่อต้านขึ้น ผู้คนเริ่มมองหาความคิดที่จะสามารถอธิบายและให้ความกระจ่างแก่พวกเขาได้ว่ามันกำลังเกิดอะไรขึ้นกับโลกที่พวกเขาอาศัยอยู่ ระบบทุนนิยมที่เคยมั่นคง สงบ และเจริญรุ่งเรืองในอดีตนั้นได้สิ้นสุดลงแล้วและนั่นหมายรวมถึงการสิ้นสุดลงของความสัมพันธ์ทางชนชั้นที่สงบ และมั่นคงอีกด้วย อนาคตที่จะมาถึงไม่ว่าจะเป็นช่วงระยะไม่กี่ปีหรือเป็นระยะเวลานับสิบปีนั้นจะเต็มไปด้วยปัญหาความยากจน การว่างงานและการตกต่ำของระดับคุณภาพชีวิตอย่างมาก และนั่นคือส่วนประกอบสำคัญที่จะทำให้เกิดการกลับมาของความขัดแย้งและการต่อสู้ทางชนชั้นทั่วโลก

หน่ออ่อนของสังคมใหม่นั้นได้ก่อตัวขึ้นแล้วภายในซากเดนของสังคมเก่า องค์ประกอบสำคัญของระบบประชาธิปไตยของคนงานได้เติบโตขึ้นภายในองค์กรของคนงาน คณะกรรมการพนักงานรับจ้าง สหภาพแรงงาน เครือข่ายความร่วมมือแรงงาน ฯลฯ และเมื่อห้วงเวลาแห่งการต่อสู้ได้มาถึงมันจะเป็นการต่อสู้อย่างเอาเป็นเอาตาย – การต่อสู้เพื่อสถาปนารากฐานของสังคมใหม่ให้กำเนิดขึ้น และพร้อมกันนั้นคือการต่อต้านและทำลายซากเดนของสังคมที่ลงโดยพร้อมเพรียงกัน

เป็นความจริงที่จิตสำนึกทางชนชั้นของมวลชนนั้นล้าหลังกว่าปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น หากแต่มันย่อมจะเปลี่ยนไปสู่การเป็นปรปักษ์ภายในตัวเอง ปรากฏการณ์และเหตุการณ์สำคัญนั้นย่อมจะบีบบังคับให้ผู้คนเริ่มตั้งคำถามต่อสมมุติฐานและความเชื่อดั้งเดิมของตัวพวกเขาเอง เมื่อนั้นมวลชนจะตื่นขึ้นมาจากความเชื่อและความเฉื่อยชาแบบเดิมๆและเริ่มต้นที่จะมุ่งหน้าสู่การเผชิญหน้ากับความเป็นจริง เราสามารถจะสังเกตเห็นเรื่องนี้ได้อย่างชัดเจนผ่านเหตุการณ์ในประเทศกรีซ อันเป็นเหตุการณ์ที่แสดงให้เห็นว่าจิตสำนึกทางชนชั้นของผู้คนนั้นสามารถเปลี่ยนไปได้อย่างรวดเร็วและนั่นคือสิ่งที่เราเรียกว่าการปฏิวัติ

การกำเนิดของระบบทุนนิยมสมัยใหม่นั้นเกิดขึ้นพร้อมกับการขุดหลุดฝังศพตัวเอง ชนชั้นแรงงานได้แสดงให้เห็นถึงความชัดเจนว่าอะไรคือหัวใจสำคัญของมโนทัศน์แบบวัตถุนิยมที่มีต่อประวัติศาสตร์ ภารกิจของพวกเรานักมาร์กซิสต์นั้นจึงไม่ใช่เพียงการเฝ้ามองและทำความเข้าใจต่อสิ่งที่เกิดขึ้น หากแต่จะต้องนำชัยชนะและความสำเร็จมาสู่ภารกิจทางประวัติศาสตร์ในการต่อสู้ทางชนชั้นผ่านวิถีทางแห่งชัยชนะของชนชั้นกรรมาชีพและการเปลี่ยนผ่านสังคมไปสู่ระบบสังคมนิยม ระบบทุนนิยมนั้นประสบความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องในการจะ “จบ” ประวัติศาสตร์ ภารกิจของนักมาร์กซิสต์นั้นคือการทำงานเพื่อเร่งให้เกิดการโค่นล้มระบบสังคมเก่าเพื่อนำไปสู่การมาถึงและการกำเนิดขึ้นของระบบสังคมใหม่ที่ดีกว่า

จากสิ่งที่ไม่อาจจะหลีกเลี่ยงได้สู่อนาคตแห่งเสรีภาพ (From necessity to freedom)

กระบวนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ที่มองประวัติศาสตร์หรือก็คือกระบวนทัศน์แบบวัตถุนิยมประวัติศาสตร์นั้นได้สอนเราว่าเราไม่ควรจะสร้างข้อสรุปที่มีแนวโน้มในแง่ร้ายจากสภาวะความเสื่อมถอยอันน่าหวาดหวั่นที่รายล้อมอยู่รอบตัวเรา ในทางกลับกันนั้น เราควรจะเรียนรู้ว่าสิ่งที่เกิดขึ้นนี้เป็นเรื่องธรรมดาในประวัตศาสตร์อันจะนำไปสู่การพัฒนากลังการผลิตและวัฒนธรรมของเราที่สูงขึ้น

ความสัมพันธ์ระหว่างพัฒนาการของกำลังการผลิตและวัฒนธรรมนั้นได้ถูกอธิบายเอาไว้อย่างชัดเจนโดยนักคิดยุคโบราณอย่าง อริสโตเติล เขาได้เขียนอธิบายเอาไว้ในงานของเขาเรื่อง The Metaphysics ว่า “มนุษย์นั้นเริ่มต้นจะเข้าสู่ความคิดทาวปรัชญาเมื่อพวกเขามีเงื่อนไขในการดำรงชีพที่สมบูรณ์ครบพร้อมแล้ว” และในทางเดียวกันนั้นนี่ก็คือเหตุผลว่าทำไมอาณาจักรอียิปต์โบราณจึงสามารถค้นพบวิชาคณิตศาสตร์และดาราศาสตร์ได้ นั่นก็เพราะพวกนักปราชญ์อียิปต์นั้นไม่จำเป็นต้องทำงาน และนี่คือการเข้าใจประวัติศาสตร์โลกอย่างวัตถุนิยม

ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในรอบร้อยปีที่ผ่านมานี้ได้ทำให้มนุษย์นั้นสามารถจะแก้ไขปัญหาที่พวกเขาเผชิญหน้าลงได้อย่างง่ายดายอย่างไม่เคยมีมาก่อน ปัจจัยสำหรับการกำเนิดของสังคมไร้ชนชั้นนั้นได้ถือกำเนิดขึ้นแล้วในระดับโลก สิ่งที่จำเป็นจะต้องทำก็คือการนำระบบการผลิตแบบร่วมมือกันและระบบเศรษฐกิจแบบมีเหตุมีผลเข้ามาใช้แทนที่ระบบการผลิตแบบทุนนิยม

เมื่อกำลังการผลิตนั้นสามารถปลดปล่อยตัวเองจากการคุมขังของระบบทุนนิยมได้แล้ว มันย่อมจะก่อให้เกิดผู้มีความสามารถในสาขาต่างๆขึ้นมาอย่างมหาศาล เช่น : จิตรกร นักเขียน นักประพันธ์เพลง นักปรัชญา นักวิทยาศาสตร์ และสถาปนิก งานศิลปะ วิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมนั้นจะเกิดการเบ่งบานขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อน

ในทางหนึ่งนั้นอาจจะกล่าวได้ว่าสังคมนิยมนั้นคือการย้อนกลับไปสู่สังคมคอมมิวนิสต์บุพกาลหากทว่ามันเป็นการย้อนกลับไปพร้อมกับกำลังการผลิตที่พัฒนาขึ้นจนถึงระดับสูง และก่อนที่เราจะก้าวไปสู่สังคมไร้ชนชั้นนั้น สิ่งตกค้างของสังคมชนชั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งความไม่เท่าเทียมและความขาดแคลนนั้นจะต้องถูกทำลายลง มันคงเป็นเรื่องไร้สาระและบ้าบอคอแตกอย่างมากหากเราจะพูดถึงสังคมไร้ชนชั้นในขณะที่มันยังมีความเหลื่อมล้ำไม่เท่าเทียม ความขาดแคลนด้านการผลิต และผู้คนยังคงต้องดิ้นรนต่อสู้เพื่อการมีชีวิตอยู่ สังคมนิยมนั้นจะปรากฏขึ้นเมื่อเงื่อนไขของสังคมมนุษย์และกำลังการผลิตได้พัฒนามาจนถึงจุดที่เหมาะสมแล้ว

บนรากฐานของการปฏิวัติที่แท้จริงในการผลิต มันย่อมจะเป็นไปได้ที่เราจะบรรลุถึงความอุดมสมบูรณ์ที่จะทำให้มนุษย์ทุกคนไม่จำเป็นจะต้องกังวลหรือใคร่ครวญถึงปัจจัยในการดำรงชีพในชีวิตประจำวันของพวกเขา ความหวาดกลัวและสิ่งกวนใจทั้งหลายของมนุษย์นั้นจำเป็นจะต้องถูกทำให้หายไป และนี่จะเป็นครั้งแรกที่มนุษย์นั้นจะเข้าถึงเสรีภาพที่แท้จริงในการกำหนดโชคชะตาของพวกเขาเอง และเป็นครั้งแรกที่พวกเขาจะเข้าถึงสภาวะของความเป็นมนุษย์ที่แท้จริงและนั่นคือจุดเริ่มต้นของประวัติศาสตร์มนุษย์ที่แท้จริง

บนรากฐานของระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนร่วมกันที่จะใช้พลังงานของความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีระดับสูงนั้นจะช่วยเติบเต็มความต้องการขั้นพื้นฐานให้กับมนุษย์ทุกคน ไม่ใช่ดำเนินไปเพื่อตอบสนองความต้องการกำไรของคนส่วนน้อยเท่านั้น และวัฒนธรรมของสังคมมนุษย์นั้นจะก้าวหน้าไปถึงจุดที่เราไม่คิดฝันว่ามันจะพัฒนาไปถึงได้ ในอดีตนั้นจักรวรรดิโรมันอธิบายถึงเหล่าทาสไว้ว่าเป็น “เครื่องมือการผลิตที่ส่งเสียงได้” ในปัจจุบันนี้เราไม่จำเป็นจะต้องกดให้มนุษย์คนใดกลายเป็นทาสอีกต่อไป อันเนื่องมาจากเรามีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีที่มากพอสำหรับการสร้างหุ่นยนต์ขึ้นมาทำงานแทนมนุษย์ได้ ไม่เฉพาะแต่การใช้หุ่นยนต์เล่นหมากรุกเท่านั้น หากทว่าเรายังสามารถนำหุ่นยนต์เข้ามาใช้ทำงานแทนมนุษย์กระทั่งใช้หุ่นยนต์ขับรถแทนมนุษย์ได้เพื่อความปลอกภัยที่มากขึ้น

หากแต่ในระบบทุนนิยมนั้นเทคโนโลยีแบบดังกล่าวนั้นถูกนำมาใช้เพื่อคุกคามและแย่งชิงงานของผู้คนจำนวนนับล้าน ไม่เฉพาะแต่พนักงานขับรถบรรทุกหรือกลุ่มแรงงานไร้ฝีมือเท่านั้น หากแต่แรงงานคอปกขาวอย่างนักบัญชี หรือโปรแกรมเมอร์นั้นก็กำลังถูกเข้ามาแทนที่โดยหุ่นยนต์ ผู้คนนับล้านจะถูกไล่ออกจากงานขณะที่ผู้คนที่ยังคงมีงานทำก็จะต้องทำงานมากขึ้นและมีชั่วโมงการทำงานที่ยาวนานขึ้น

ขณะที่ในระบบสังคมนิยมนั้นเทคโนโลยีเดียวกันนี้จะถูกนำมาใช้เพื่อลดชั่วโมงการทำงานของมนุษย์ ที่จะทำให้พวกเราลดชั่วโมงการทำงานเหลือเพียง 30 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ และอาจจะลดลงเป็น 20 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ 10 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ หรืออาจจะน้อยกว่านั้น ในขณะที่ผลผลิตรวมของสังคมนั้นกลับจะสูงยิ่งขึ้นพร้อมๆชีวิตความเป็นอยู่ของคนทั้งสังคมที่ดีขึ้นอย่างที่ไม่เคยมีมาก่อนในระบบทุนนิยม

และนี่จะเป็นครั้งแรกที่จะแสดงให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงขั้นพื้นฐานในวิถีชีวิตของผู้คน มันจะเป็นครั้งแรกที่ผู้คนจะถูกปลดปล่อยออกจากการใช้แรงงานอันน่าเบื่อหน่าย พวกเขาจะได้รับอิสระที่จะพัฒนาตนเองทั้งในทางความคิด ทางร่างกายหรือกระทั่งในระดับจิตวิญญาณ

ครั้งหนึ่งนั้นทรอสกี้ได้เขียนไว้ว่า “มีพวกชนชั้นสักกี่คนที่เคยออกไปเลี้ยงหมู แล้วมีคนเลี้ยงหมูกี่คนที่เคยได้นั่งบนบัลลังก์?” สังคมชนชั้นนั้นได้กดขี่และทำลายผู้คนจำนวนมาก ไม่เฉพาะแต่ในทางวัตถุหากแต่ยังรวมถึงในระดับจิตวิญญาณ ชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนนับล้านคนนั้นถูกควบคุมภายใต้ข้อจำกัดอันคับแคบ ขอบฟ้าทางความคิดของพวกเขานั้นถูกกดทับเอาไว้ ซึ่งมันจะถูกปลดปล่อยออกมาภายใต้ระบบสังคมนิยม

เป็นความจริงที่ว่าผู้คนนั้นมีความถนัดและความสามารถที่แตกต่างกัน และเป็นความจริงที่มนุษย์ทุกคนนั้นไม่อาจจะเป็นเช่น อริสโตเติล บีโธเฟน หรือไอน์สไตน์ ได้ทุกคน หากแต่ทุกคนนั้นมีโอกาสที่จะสร้างผลงานอันยิ่งใหญ่ขึ้นมาได้ตามความถนัดและความสามารถของเขา ไม่ว่าจะเป็นนักวิทยาศาสตร์ จิตรกร นักดนตรี นักเต้นหรือกระทั่งนักฟุตบอลที่เก่งกาจ สังคมคอมมิวนิสต์นั้นจะสร้างปัจจัยขั้นพื้นฐานให้กับมนุษย์ทุกคนเพื่อให้พวกเขาสามารถปลดปล่อยตัวเองและเข้าถึงการพัฒนาตัวเองได้อย่างเต็มที่

และนี่จะนับเป็นการปฏิวัติที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยมีมาในประวัติศาสตร์ อันจะนำอารยธรรมมนุษย์ไปสู่การพัฒนาที่สูงขึ้นในทางคุณภาพ ซึ่งกล่าวตามสิ่งที่เองเกลส์เคยพูดเอาไว้ได้ว่า มันคือการก้าวกระโดดของมนุษย์ชาติออกจากปริมณฑลของสิ่งที่ไม่อาจจะปฏิเสธได้ ไปสู่ปริมณฑลแห่งเสรีภาพที่แท้จริง.

ลอนดอน, 8 กรกฎาคม 2015