แถลงการณ์ขององค์กรมาร์กซิสต์สากล (International Marxist Tendency - IMT) ถูกเขียนขึ้นและเผยแพร่ไปทั่วโลกเนื่องในโอกาสวันสตรีสากล (ตรงกับวันที่ 8 มีนาคม ของทุกปี) ในแถลงการณ์นี้เราต้องการอธิบายว่าเหตุใดการต่อสู้เพื่อปลดแอกผู้หญิงจากการกดขี่นั้นจึงเป็นเนื้อเดียวกับการต่อสู้เพื่อเพื่อสร้างระบบสังคมนิยม!
การกดขี่ต่อเพศหญิงนั้นนับได้ว่ากลายเป็นประเด็นสำคัญที่ทั่วโลกกำลังให้ความสำคัญและให้ความสนใจ และในวันนี้อันเป็นสำคัญสากล นั่นคือ – วันสตรีสากล – จึงนับว่าเป็นหมุดหมายสำคัญให้เกิดการเดินขบวนเรียกร้องรวมถึงการชุมนุมในหลายประเทศ ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมานี้เราได้เห็นขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีขนาดใหญ่ทำการเคลื่อนไหวอยู่หลายครั้ง เช่น ในการเคลื่อนไหวของขบวนการสิทธิสตรีในวันทำพิธีต้อนรับประธานาธิปดีโดนัลด์ ทรัมป์, หรือการเคลื่อนไหวในโปแลนด์ที่เคลื่อนไหวต่อต้านกฎหมายควบคุมการทำแท้ง , ขบวนการเคลื่อนไหวต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อเพศหญิงในอาเจนตินา และแมกซิโก เป็นต้น เหนือสิ่งอื่นใดขบวนการเคลื่อนไหวเหล่านี้ยังได้กำชัยชนะเหนือความคิดแบบปฏิกิริยาของศาสนาคริสต์คาทอลิกในไอร์แลนด์ที่ต่อต้านและตั้งคำถามต่อการสมรสของบุคคลเพศเดียวกัน บรรดาสิ่งที่เกิดขึ้นเหล่านี้นั้นเป็นสัญญาณบ่งบอกถึงความเคลื่อนไหวไปสู่ความแหลมคมที่มากขึ้นทางปัญญาของสังคม ชนชั้นแรงงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มคนรุ่นใหม่นั้นได้เริ่มต้นที่จะเคลื่อนไหวเพื่อเปลี่ยนแปลงชีวิตของตนเองและเริ่มต้นที่จะเคลื่อนไหวต่อต้านการกดขี่และความไม่เป็นธรรมในทุกรูปแบบ
วิกฤตของระบบทุนนิยมนั้นได้ก่อให้เกิดผลกระทบอันใหญ่หลวงต่อชีวิตความเป็นอยู่ของผู้หญิงทั่วโลก การตัดลดงบประมาณภาครัฐในด้านบริการสาธารณะนั้นกลายเป็นกระแสนิยมที่รัฐบาลของทุกประเทศได้ปฏิบัติโดยพร้อมเพรียงกัน เช่นการตัดลดงบประมาณอุดหนุนการดูแลทารก ตัดลบงบประมาณของสถานรับเลี้ยงเด็กของรัฐ ฯลฯ ด้วยเหตุนี้เองมันจึงเป็นการผลักภาระอันใหญ่หลวงกลับไปให้ผู้หญิง ซึ่งเป็นกลุ่มคนที่ถูกวางบทบาทหน้าที่ทางวัฒนธรรมเอาไว้ว่าจะต้องเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบการเลี้ยงดูเด็กๆ รวมถึงคนชราและคนป่วย ในขณะที่ค่าแรงของผู้หญิงที่โดยปกติก็ต่ำกว่าผู้ชายอยู่แล้วนั้นก็ถูกกดค่าแรงให้ต่ำลงกว่าเดิมอีก ไปจนกระทั่งถึงการเลิกจ้างแรงงานผู้หญิง หรือเกิดการสร้างสัญญาจ้างระยะสั้นที่ไร้ความมั่นคง ฯลฯ ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้นั้นหมายถึงความเลวร้อยของมาตรฐานการดำรงชีพที่เลวร้ายยิ่งขึ้น อันเป็นการเพิ่มความเสี่ยงและความไม่มั่นคงในชีวิตให้กับแรงงาน อันส่งผลกระทบโดยตรงต่อกลุ่มแรงงานหญิง นั่นคือมันเป็นการทำให้ผู้หญิงนั้นไม่สามารถมีอิสระในตนเองได้ และไม่สามารถหนีจากการพึ่งพาผู้ชายได้
ปัญหาที่ผู้หญิงกำลังเผชิญหน้าอยู่ในปัจจุบันนั้น “ไม่ใช่เพียงแค่” ปัญหาในเชิงรูปธรรมทั่วๆไปดังที่กล่าวมาข้างต้นเท่านั้น หากแต่การกดขี่ผู้หญิงนั้นเป็นสิ่งที่ฝังแน่นอยู่ในระบบยุติธรรมที่ผู้หญิงนั้นถูกเลือกปฏิบัติภายใต้กรอบกฎหมาย และภายใต้กฎหมายที่ทำให้ผู้หญิงและกลุ่มผู้ถูกกดขี่อื่นๆนั้นไม่ได้ถูกปฏิบัติในสถานะที่เท่าเทียมกัน
การกดขี่ที่มีต่อผู้หญิงนั้นเป็นสิ่งที่ได้รับการสนับสนุนจากบรรดาชนชั้นปกครองผ่านการสถาปนาทางอุดมการณ์ ผ่านการใช้สื่อสาธารณะ รวมทั้งผ่านระบบการศึกษา และกลไกทางอุดมการณ์ของรัฐชนิดอื่นๆ
นอกจากที่กล่าวมาแล้วนั้นในช่วงปีที่ผ่านมายังมีการตั้งคำถามต่อการใช้ความรุนแรงและการคุกคามทางเพศ หรือการล่วงละเมิดทางเพศที่เกิดต่อผู้หญิง ซึ่งเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ เช่นในปากีสถานนั้นเกิดกรณีที่เด็กหญิงคนหนึ่งถูกข่มขืนและคดีที่ผู้หญิงคนหนึ่งถูกฆาตกรรมจนเป็นข่าวอื้อฉาวโด่งดัง ในสหรัฐอเมริกานั้นมีผู้หญิงหนึ่งในหกที่สามารถเอาตัวรอดจากความพยายามข่มขืนและการข่มขืนมาได้ ขณะที่ผู้กระทำผิดนั้นกว่า 99% นั้นมักจะถูกปล่อยตัวหรือลอยนวลพ้นผิด
ในปัจจุบันนี้นั้นคนทุกเพศทั่วโลกได้ก้าวออกสู่ถนนเพื่อเคลื่อนไหวต่อสู้กับการกดขี่, ความคิดคลั่งศาสนา และการเหยียดเพศ ซึ่งนับได้ว่านี่คือปรากฏการณ์ในเชิงบวกที่สังคมโลกกำลังก้าวเข้าสู่การตั้งคำถามและการวิพากษ์ปัญหาที่แหลมคมยิ่งขึ้น หากแต่มันก็นำมาซึ่งการตั้งโจทย์ใหญ่ขึ้นมาว่า “อะไรคือหนทางที่ดีที่สุดในการต่อสู้กับการกดขี่และความไม่เท่าเทียมกันนี้?”
องค์กรมาร์กซิสต์สากลของเรานั้นสนับสนุนทุกๆการเรียกร้องเพื่อความเสมอภาคและความเท่าเทียม เราต่อสู้เพื่อปลดแอกผู้หญิงออกจากการถูกกดขี่ ตลอดจนต่อสู้เพื่อพี่น้องและผู้ที่ถูกรังแกเอารัดเอาเปรียบทุกๆกลุ่ม สำหรับมุมมองของพวกเรานั้นการต่อสู้เพื่อปลดแอกผู้หญิงจากการกดขี่เป็นสิ่งที่ไม่สามารถแยกออกจากการต่อสู้กับระบบทุนนิยมได้ ทั้งนี้ก็เพราะการกดขี่นั้นคือส่วนประกอบสำคัญของสังคมชนชั้นและดังนั้นแล้วมันจึงสามารถนับรวมได้ว่ามันเป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางชนชั้นด้วย
วันสตรีสากลนี้ก็เป็นผลพวงหนึ่งจากการประกาศของขบวนการนักสังคมนิยมสากล (Socialist International) ที่ได้ประกาศให้วันที่ 8 มีนาคมนั้นเป็นวันสตรีสากลในปี 1910 เพื่อเป็นวันแห่งการต่อสู้เรียกร้องของแรงงานหญิง ในห้วงสมัยนั้นประเด็นสำคัญในการเรียกร้องของขบวนการสตรีคือการเรียกร้องสิทธิในการลงคะแนนเสียงหรือการเรียกร้องสิทธิทางการเมืองของผู้หญิงนั่นเอง กลุ่มผู้หญิงชนชั้นสูงและผู้หญิงในกลุ่มชนชั้นกระฎุมพี ที่เป็นผู้นำขบวนการผู้หญิงในช่วงเวลานั้นมองว่าการเรียกร้องสิทธิทางการเมืองคือเป้าหมายปลายทางสุดท้ายในการต่อสู้ ขณะที่ขบวนการแรงงานนั้นมองว่านี่คือความก้าวหน้าสำคัญในการจะก้าวไปสู่การต่อสู้เพื่อสร้างความเท่าเทียมที่แท้จริงและจะเป็นการปลดแอกผู้หญิงทั่วโลก นี่จึงเป็นเหตุผลว่าทำไมชื่อแรกของวันสตรีสากล จึงมีชื่อเรียกว่า วันแรงงานสตรีสากล
สำหรับผู้หญิงชนชั้นสูงนั้นการต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมสำหรับพวกเธอนั้นคือการต่อสู้เพื่อแย่งชิงส่วนแบ่งในผลประโยชน์จากผู้ชายในชนชั้นเดียวกัน นั่นคือการต่อสู้เพื่อสิทธิในการเป็นนักกฎหมาย, แพทย์, นายกรัฐมนตรี และผู้บริหารระดับสูง แน่นอนว่าเรายืนยันหลักการว่าผู้หญิงนั้นควรจะมีสิทธิที่จะประกอบอาชีพหรือทำงานเหล่านี้ได้ หากแต่ในขณะเดียวกันนั้นเราก็ตระหนักอย่างมั่นคงว่าการเรียกร้องสิทธิเพื่อการยอมรับความสามารถส่วนบุคคลของผู้หญิงนี้ไม่ได้ส่งผลอย่างมีนัยยะสำคัญต่อกลุ่มผู้หญิงจำนวนมาก และมันไม่ได้ช่วยเปลี่ยนแปลงอะไร มากาเร็ต แทรชเชอร์ นายกรัฐมนตรีหญิงของอังกฤษ และ แองเจล่า เมอร์เคล นายกรัฐมนตรีหญิงของเยอรมนี นั้นต่างก็ไม่ได้สร้างความเปลี่ยนแปลงใดๆที่ดีขึ้นให้แก่ผู้หญิงเลย เช่นเดียวกันนั้นต่อให้ฮิลลารี่ คลินตัน สามารถชนะการเลือกตั้งและได้เป็นประธานาธิบดีในสหรัฐอเมริกามันก็ไม่ได้จะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใดๆในทางที่ดีขึ้นให้กับผู้หญิงในสหรัฐอเมริกา หรือกล่าวให้ตรงกว่านั้น มันไม่อาจจะก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงอะไรต่อชีวิตของผู้หญิงในประเทศต่างๆที่ตกเป็นอาณานิคมของสหรัฐอเมริกาด้วย
บรรดาผู้หญิงที่ประกอบอาชีพนักการเมือง, ผู้บริหารระดับสูง หรืออาชีพขั้นสูงอื่นๆนั้นมีรากฐานอยู่บนการทำงานได้ค่าแรงต่ำของผู้หญิงคนอื่นที่ทำงานรับจ้างทำความสะอาด, ทำอาหาร และเลี้ยงดูเด็กๆแทนพวกเธอ ผู้หญิงในชนชั้นสูงของสังคมนั้นมักจะพูดสนับสนุนความเท่าเทียมอยู่ตลอดเวลา จนกระทั่งเมื่อคุณเสนอให้มีการเพิ่มค่าแรงและยกระดับชีวิตความเป็นผยู่ให้กับแรงงานหญิง
ความก้าวหน้าขนาดมโหฬารนั้นกำเนิดขึ้นภายหลังวันสตรีสากลครั้งแรกในปี 1910 อันส่งผลให้ขบวนการเคลื่อนไหวสตรีนั้นได้รับชัยชนะในการเรียกร้องสิทธิทางการเมือง, สิทธิในการเข้ารับการศึกษา รวมถึงการออกกฎหมายต่อต้านการใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิงเกิดขึ้นในหลายประเทศ และในหลายประเทศนั้นก้าวหน้าไปถึงการออกกฎหมายเพื่อรับรองการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมกันระหว่างเพศ อย่างไรก็ตามนั่นไม่ได้ทำให้เราได้รับความเท่าเทียมอย่างถึงแก่นแท้อย่างจริงจัง กระทั่งในประเทศที่มีการตรากฎหมายสนับสนุนความเสมอภาคเท่าเทียมอย่างเต็มที่นั้น เราก็ยังคงพบการใช้ความรุนแรงและการกดขี่อยู่ ตลอดจนผู้หญิงนั้นก็ยังได้รับค่าแรงที่ต่างจากผู้ชายอยู่อีกเช่นเดิม ความเท่าเทียมในทางกฎหมายนั้นไม่ได้แตะต้องไปถึงรากลึกอันเป็นต้นเหตุของปัญหาและดังนั้นแล้วมันจึงไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ด้วยตัวมันเอง การกดขี่นั้นเป็นสิ่งที่มีรากและต้นตอมาจากสังคมชนชั้น เช่นเดียวกับการใช้ความรุนแรง การเหยียดเพศ
ระบบทุนนิยมนั้นคือระบบที่วางรากฐานอยู่บนการกดขี่ขูดรีดต่อชนชั้นแรงงาน คนส่วนน้อยที่อยู่บนจุดเหนือสุดของสังคมนั้นร่ำรวยขึ้นมาจากการขูดรีดเอามูลค่าส่วนเกินไปจากชนชั้นแรงงาน และวิถีทางเดียวที่ทำให้พวกเขาสามารถดำรงอยู่ในอำนาจเหนือสังคมได้นั้นคือการดำเนินนโยบายแบ่งแยกและปกครอง นั่นคือพวกเขาได้แบ่งแยกแรงงานให้แตกแยกออกจากกันตามเชื้อชาติ, ศาสนา, รสนิยมทางเพศ, เพศสภาพ และเงื่อนไขใดๆก็ตามที่พวกเขาจะสามารถหาได้ บรรดาชนชั้นปกครองนั้นอาศัยสื่อสาธารณะในการทำทุกวิถีทางเพื่อปลูกฝังและสร้างความเกลียดชังขึ้นมา และหนทางเดียวที่จะต่อสู้กับกระบวนการนี้ก็คือการสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในหมู่ชนชั้นแรงงาน และโดยการอาศัยมรรควิธีในการต่อสู้ของชนชั้นแรงงานนั่นคือ การเดินขบวน, การนัดหยุดงาน และการเคลื่อนไหวของขบวนการมวลชน
ระบบทุนนิยมนั้นกำลังเดินมาถึงทางตัน มันไม่สามารถจะเสนอหนทางที่เป็นทางออกให้แก่ชนชั้นแรงงานและกลุ่มคนรุ่นใหม่ได้อีกต่อไปแล้ว ในปัจจุบันนี้ทรัพย์สินกว่าครึ่งหนึ่งของโลกนั้นถูกถือครองเอาไว้ในมือของคนเพียงแปดคน ปัญหานั้นไม่ใด้อยู่ที่คนแปดคนซึ่งร่ำรวยมหาศาล หากแต่อยู่ที่ระบบที่ทำให้ความมั่งคั่งและทรัพย์สินจำนวนมหาศาลนี้ตกอยู่ในมือของคนจำนวนน้อยขณะที่คนจำนวนมหาศาลทั่วโลกนั้นตกอยู่ท่ามกลางความอดอยากยากจน
การหยุดชะงัดทางสังคมนี้ได้ก่อให้เกิดการแพร่ขยายของความไม่พอใจและความโกรธแค้นไปทั่วสังคม เราได้เห็นการออกมาเคลื่อนไหวของชนชั้นแรงงานและกลุ่มคนรุ่นใหม่จากประเทศหนึ่งไปสู่อีกประเทศหนึ่ง หากแต่การออกมาเคลื่อนไหวประท้วงนี้ก็ได้พิสูจน์ให้เห็นถึงลักษณะสำคัญที่แตกต่างกันกับในอดีต นั่นคือการประท้วงในช่วงหลังสงครามนั้นเป็นช่วงเวลาที่ระบบยังสามารถได้รับการปฏิรูปได้ หากแต่ในปัจจุบันนั้นการปฏิรูปเพื่อแก้ไขระบบทุนนิยมเป็นสิ่งที่ทำไม่ได้และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อีกต่อไป
นี่คือการเริ่มต้นของการอุบัติขึ้นของขบวนการมวลชน แม้จะไม่ใช่ในรูปแบบที่เป็นทางการอันชัดเจน หากแต่มันกำลังขยายตัวในมวลอารมณ์ความรู้สึกของมวลชนที่รู้สึกว่าพวกเขานั้นไม่สามารถจะดำรงชีพอยู่ภายใต้มาตรฐานการดำรงชีพแบบที่เป็นอยู่ในปัจจุบันนี้ได้อีกต่อไปแล้ว การประท้วงนี้ไม่ใช่แต่เพียงการเคลื่อนไหวเรียกร้องปัจจัยทางรูปธรรมเท่านั้น หากแต่เป็นการเรียกร้องสิทธิที่จะได้รับความเคารพในฐานะมนุษย์คนหนึ่งด้วย มันคือการต่อสู้เพื่อเรียกร้องศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ด้วย ดังเช่นที่เราได้เห็นแล้วในเหตุการณ์อาหรับสปริงส์ ที่กลุ่มผู้หญิงนั้นได้รับบทบาทสำคัญในการต่อสู้เพื่อโค่นล้มรัฐบาลของนายมูบารัค
นี่คือสัญญาณอันชัดเจนว่าสรรพสิ่งต่างๆนั้นกำลังจะเปลี่ยนแปลงไป เมื่อบรรดากลุ่มผู้ถูกกดขี่เริ่มต้นที่จะเคลื่อนไหวและก้าวออกมาเผชิญหน้ากับการต่อสู้ วิกฤตของระบบทุนนิยมได้บ่อนทำลายเสถียรภาพเดิมของสังคมลง ระเบียบทางสังคมนั้นถูกกร่อนทำลาย ขณะที่ชนชั้นปกครองนั้นพยายามจะรักษาอำนาจของตนเองไว้โดยอาศัยการสร้างความแปลกแยกขึ้นในหมู่มวลชนทั่วโลก อย่างไรก็ตามแม้ว่าระบบทุนนิยมนั้นจะอยู่ในช่วงใกล้ล่มสลายหากแต่มันก็เป็นสิ่งที่ไม่อาจจะสลายหายไปเองได้ หนทางเดียวนั้นคือการโค่นล้มระบบทุนนิยมลงด้วยการปฏิวัติสังคมนิยม
การปฏิวัติสังคมนิยมนั้นจะเป็นการนำระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนที่เป็นประชาธิปไตยอันจะเป็นการวางรากฐานสำคัญที่เป็นเงื่อนไขไปสู่การยุติความไม่เท่าเทียมและการกดขี่ทั้งมวลลง ในระบบเศรษฐกิจแบบวางแผนนั้นทรัพย์สินและความมั่งคั่งทั้งหลายที่ถูกสร้างขึ้นนั้นจะถูกนำมาใช้เพื่อตอบสนองต่อความต้องการของคนส่วนใหญ่ทั้งสังคม ชั่วโมงการทำงานนั้นจะถูกลดทอนลงอย่างมากและมนุษย์ทุกคนนั้นจะได้เข้ามามีส่วนร่วมกันในการขับเคลื่อนสังคม ทรัพยากรและการบริการที่จำเป็นนั้นจะถูกแปรรูปให้เป็นระบบสวัสดิการที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้
ซึ่งนี่เองจะเป็นการสร้างรากฐานทางเศรษฐกิจที่เป็นรูปธรรมให้แก่มนุษย์ทุกคนในการที่จะปลดแอกตนเองให้เข้าถึงเสรีภาพสูงสุดและจะเป็นการเปิดโอกาสให้มนุษย์นั้นสามารถพัฒนาและเข้าถึงศักยภาพสูงสุดของตนเองได้เมื่อพวกเขาไม่จำเป็นต้องกังวลถึงการหาเงินเพื่อประทังชีพ เมื่อปัจจัยรากฐานทั้งหลายของความไม่เท่าเทียมกันและการกดขี่นั้นถูกกวาดล้างออกไปแล้ว การเหยียดเพศ การเหยียดเชื้อชาติ และการแบ่งแยกทั้งมวลนั้นก็ย่อมจะสูญสลายไปตามกัน
การต่อสู้เพื่อสิทธิสตรี การต่อสู้เพื่อความเท่าเทียมนั้นคือการต่อสู้เพื่อปลดปล่อยมนุษยชาติทั้งมวล และมันคือการต่อสู้เพื่อสร้างการปฏิวัติสังคมนิยม!